ขอเชิญส่งผลงานนักศึกษาประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าวทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ รางวัล “สายฟ้าน้อย” ครั้งที่ 17

ด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดโครงการประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าวทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำหรับนักศึกษาที่เรียนด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิทยุและโทรทัศน์  ภายใต้ชื่อรางวัล “สายฟ้าน้อย” ครั้งที่ 17 เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการผลิตรายการ และเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์   อันจะเป็นช่องทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วิชาชีพหลังจากจบการศึกษาต่อไป

ทั้งนี้ การประกวด  คือ  สารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง จำนวน 1 ประเภท โดยส่งผลงานเข้าประกวดในนามมหาวิทยาลัย ได้ 5 เรื่องต่อประเภท และสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ จำนวน 4 ประเภท  โดยส่งผลงานเข้าประกวดในนามมหาวิทยาลัย ได้ 3 เรื่องต่อประเภท สำหรับสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์  สมาคมฯ เปิดรับผลงานส่งประกวด ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565  ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด จะถือเอาวันที่ประทับตราเป็นสำคัญ และควรส่งแบบด่วนพิเศษเท่านั้น  และจะประกาศผลรางวัลภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2565 สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งทาง www.thaibja.org และหน้าเพจ Facebook สมาคมฯ

*****  การส่งผลงานเข้าประกวด หากไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การประกวด จะไม่ได้รับการพิจารณา ********

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้จัดให้มีการประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าว ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีคุณภาพของนิสิตนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
  2. เพื่อเตรียมความพร้อมของนิสิตนักศึกษาก่อนเข้าสู่วิชาชีพ
  3. เพื่อประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการฯ

ประเภทรางวัล

ด้านวิทยุ แบ่งออกเป็น 1 ประเภท ดังนี้

  1. สารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง

                 1.1 รางวัลดีเด่น โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 15,000 บาท 1 รางวัล

1.2 รางวัลชมเชย โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 5,000 บาท

 ด้านโทรทัศน์ มี 4 ประเภท คือ

  1. สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทวิถีชุมชนดีเด่น

1.1   รางวัลดีเด่น โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 20,000 บาท

1.2   รางวัลชมเชย โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 10,000  บาท

นิยาม วิถีชุมชนดีเด่น หมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป

  1. สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรมดีเด่น

2.1   รางวัลดีเด่น โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 20,000 บาท

2.2   รางวัลชมเชย โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 10,000  บาท

นิยาม อัตลักษณ์วัฒนธรรมดีเด่น หมายถึง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี

  1. สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทสิ่งแวดล้อมดีเด่น

3.1   รางวัลดีเด่น โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 20,000 บาท

3.2   รางวัลชมเชย โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 10,000  บาท

  1. สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ประเภทข่าวทั่วไปดีเด่น

4.1   รางวัลดีเด่น โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 20,000 บาท

4.2   รางวัลชมเชย โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 10,000  บาท

หลักเกณฑ์การตัดสิน

คณะกรรมการ จะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. คุณภาพ (Quality)

กระบวนการผลิตมีการค้นคว้าข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง แหล่งอ้างอิงเชื่อถือได้ ประเด็นและแง่มุมมีความสมดุลรอบด้าน  เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็นหรือให้ข้อมูลอย่างทัดเทียมกัน เนื้อหาเป็นเรื่องใกล้ตัว ใหม่ ทันสมัยและสมบูรณ์ในเชิงข่าวรวมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์

  1. คุณค่า (Value)

นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมให้เกิดสิ่งดีงามในสังคมไทยหรือสื่อความหมายชี้ให้เห็นผลกระทบเชิงเศรษฐกิจหรือเชิงสังคมโดยส่วนรวม มีศักยภาพนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์หรืออาจนำไปสู่การแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวในอนาคต

  1. ผลงาน (Performance)

การนำเสนอเนื้อหากระชับ ชัดเจน โดยใช้ศาสตร์และศิลป์ของวิทยุและโทรทัศน์ได้อย่างน่าสนใจ

  1. จรรยาบรรณ (Code of Ethics)

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นต้นฉบับของผู้ส่งเข้าประกวด ไม่ได้ลอกเลียนแบบผู้อื่น มีสำนึกในจริยธรรมและสะท้อนความรับผิดชอบในการนำเสนอ

ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่ผลิตโดยนักศึกษาในทีมเท่านั้น หากคณะกรรมการตัดสินรางวัลฯ ตรวจสอบพบว่าผลงานหรือบางส่วนของผลงานมิได้ผลิตโดยนักศึกษาในทีมโดยตรง  คณะกรรมการจะตัดสิทธิและไม่พิจารณาผลงานชิ้นนั้นที่ส่งเข้าประกวด  เนื่องจากคณะกรรมการตัดสินรางวัลฯ ต้องการให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริตในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องจริยธรรมและความรับผิดชอบ

**ความเห็นคณะกรรมการตัดสิน ให้ถือเป็นที่สุด**

 

ผู้สนับสนุนการประกวด

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

การส่งผลงานเข้าประกวด

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นนิสิต/นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ สามารถผลิตงานในนามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกลุ่มละ 5 คน โดยสามารถมีอาจารย์ที่ปรึกษาได้กลุ่มละ 1 คน

สารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง มีความยาวระหว่าง 3-5 นาที (ห้ามเกิน 5 นาที) และส่งผลงานในนามมหาวิทยาลัย จำนวนไม่เกิน 5 ชิ้น / ประเภท โดยมีจดหมายนำส่งจากมหาวิทยาลัย และใช้แบบฟอร์มการส่งผลงานของสมาคมฯ รวมทั้งส่งไฟล์ผลงานประกวดในรูปแบบ thumbdrive

สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ มีความยาวระหว่าง 3-5 นาที (ห้ามเกิน 5 นาที) และส่งผลงานในนามมหาวิทยาลัย จำนวนไม่เกิน 3 ชิ้น / ประเภท โดยมีจดหมายนำส่งจากมหาวิทยาลัย และใช้แบบฟอร์มการส่งผลงานของสมาคมฯ รวมทั้งส่งไฟล์ผลงานประกวดในรูปแบบ thumbdrive

หมายเหตุ         การส่งผลงานเข้าประกวด หากผิดหลักเกณฑ์การประกวด จะไม่ได้รับการพิจารณา

 

ลักษณะของข่าวและสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวด

สารคดีเชิงข่าววิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ ข่าวที่ถูกนำเสนอในรูปแบบของสารคดีที่มีความหลากหลายทั้งในด้านกระบวนการผลิต เนื้อหา  การสอดแทรกข้อมูลที่บอกถึงภูมิหลังที่มาของเรื่อง ทำให้เห็นแง่มุมต่างๆ ของประเด็นข่าว  การใช้ภาษาบรรยาย ภาพและเสียงประกอบได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน สารคดีเชิงข่าวดังกล่าว จะต้องยึดหลักการเบื้องต้นของการนำเสนอข่าว ได้แก่ องค์ประกอบด้านแหล่งข่าวที่ต้องมีความรอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์หรือเป็นเหตุการณ์ข่าวที่เกิดในอดีต แต่มีผลกระทบถึงภาวะปัจจุบัน ทั้งนี้ สารคดีเชิงข่าวจะปรากฏในรายการใดก็ได้ แต่สาระในสารคดีเชิงข่าวชิ้นนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริง มิใช่เหตุการณ์สมมติที่มีการสร้างขึ้น

หลักฐานการส่งผลงาน

  1. สารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง บันทึกลง thumbdrive โดยใช้สกุลไฟล์ .mp3  .wav
  2. สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ บันทึกลง thumbdrive โดยใช้สกุลไฟล์ .mov .mpeg4
  3. รายละเอียดของผลงาน ประกอบด้วย (เอกสารข้อ 3.1+ข้อ 3.2+ข้อ 3.3)

3.1 ไฟล์เอกสารชื่อเรื่อง ชื่อผู้จัดทำ(ไม่เกิน 5 คน) ชื่อทีม ชื่ออาจารย์ผู้รับรอง เบอร์ติดต่อผู้จัดทำและอาจารย์ผู้รับรอง และชื่อสถาบันการศึกษาที่สังกัด โดยระบุประเภทที่ต้องการส่งให้ชัดเจน (ตามแบบฟอร์ม-กรุณาเขียนให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะรายชื่อผู้จัดทำ เบอร์และชื่อทีม) เป็นสกุลไฟล์ doc

3.2 ไฟล์บทคัดย่อสรุปเรื่องราว พร้อมเหตุผลประกอบในการนำเสนอผลงานดังกล่าว เป็นสกุลไฟล์ doc ความยาวไม่เกิน 1 – 2 หน้า โดยอธิบายในประเด็นดังนี้  (ตามแบบฟอร์ม)

(1) วัตถุประสงค์ในการเสนอผลงาน

(2) ความเด่น ลักษณะเฉพาะหรือความพิเศษของผลงาน

(3) คุณค่าของผลงาน

                  3.3 ไฟล์บทสมบูรณ์ (Script) ของผลงาน เป็นสกุลไฟล์ doc

  1. ให้นักศึกษาบันทึกไฟล์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด (ตามข้อ 1 หรือข้อ 2) และไฟล์เอกสาร (ตามข้อ 3.1 + ข้อ 3.2 + ข้อ 3.3) บันทึกลง thumbdrive จำนวน 1 อัน  ในกรณีที่ส่งหลายเรื่องหรือส่งผลงานประกวดทั้งวิทยุและโทรทัศน์ สามารถส่งไฟล์มาใน  thumbdrive  เดียวกันได้ โดยให้แบ่งโฟลเดอร์ให้ชัดเจน
  2. ส่งผลงานมายังที่อยู่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 538/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

กรุณาตรวจสอบไฟล์ก่อนส่งว่าไฟล์สมบูรณ์

และต้อง SAVE ไฟล์ที่สามารถ COPY ได้

หมดเขตรับผลงานวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565

มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ถือเอาวันที่ประทับตราเป็นสำคัญ

และควรส่งแบบด่วนพิเศษเท่านั้น

 

**กรณีที่ไม่ได้มาส่งผลงานด้วยตนเองที่สมาคมฯ ผู้ส่งกรุณาโทรมาตรวจสอบกับทางสมาคมฯ

ว่าผลงานที่ส่งมาถึงสมาคมฯ เรียบร้อยแล้วหรือไม่ ภายใน 3 วันทำการ**

การตัดสินและประกาศผล

  1. คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากวงการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และนักวิชาการสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จำนวน 5-8 คน
  2. ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล วันที่ 25 ธันวาคม 2565 โดยจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้งทางเว็บไซต์ www.thaibja.org หรือสอบถามโทรศัพท์ 0-2243-8479 / 086-5224288
  3. ทางสมาคมฯ จะแจ้งผลการเข้ารอบในแต่ละประเภท ไปยังผู้ส่งผลงานโดยตรง และขึ้นผลการเข้ารอบในแต่ละประเภท ทางเว็บไซต์ www.thaibja.org และทางเฟสบุ๊ค www.facebook.com/thaibja และ Thai Broadcast Journalist

 

ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565

    สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

ดาวน์โหลดเอกสารด้านล้างนี้

from_saifahnoi2565

หลักเกณฑ์ Saifahnoi Awards 2565

แท็ก คำค้นหา