เวทีเสวนา “จริยธรรมกับความเปลี่ยนแปลงที่มากับโลกดิจิทัล” (ล้อมวงถก ยกประเด็นคุย) จริยธรรมสื่อไทยในอนาคต

เวทีเสวนา “จริยธรรมกับความเปลี่ยนแปลงที่มากับโลกดิจิทัล”

(ล้อมวงถก ยกประเด็นคุย) จริยธรรมสื่อไทยในอนาคต

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2565

จัดโดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สนับสนุนโดย กสทช.

พีรวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

            จริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อในโลกคอนเทนต์ มาพร้อมกับความหลายหลายของคอนเทนต์ สื่อ และแพลฟอร์ม เพื่อมุ่งเน้นการแข่งขันและการสร้างคอมมูนิตี้ ทำให้เกิดนักข่าวและสำนักข่าวขึ้นมามากมาย

กรอบการนำเสนอข่าวบนโทรทัศน์และออนไลน์ ทั้งที่เป็นสื่อรองและสื่อหลัก
ความเข้มข้นของจริยธรรมควรเข้มข้นแค่ไหน ซึ่งเห็นได้ว่า สื่อออนไลน์ถูกกำกับมากกว่า
สื่อหลัก และสื่อออนไลน์กลับถูกละเลย เวทีนี้จึงเป็นการถกเพื่อหาทางออกร่วมของสิ่งนี้ รวมถึงการมีโซเชียล เครดิต (สื่อที่ทำดี) เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนทำงาน อีกทั้งเวทีนี้จึงเป็นการบรรยาย เพื่อนำไปสู่การหาทางออกและปฏิบัติได้จริง

กสทช. กับความท้าทายจริยธรรมสื่อไทยในอนาคต

ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต

ปรากฏการณ์ปัญหาจริยธรรมสื่อไทย

Yellow Journalism

วารสารศาสตร์เกิดยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เน้นขายได้อย่างเดียว แข่งขันกันสูง จุดร่วมที่ทำให้ขายได้มากที่สุดจึงจำเป็น ข่าวจึงมักเน้นเรื่องความเร้าใจ (Sensationalism) ดราม่า (Dramatization) แบ่งขั้วทางความคิด ทำให้ฝั่งหนึ่งเป็นผู้ร้าย ฝั่งหนึ่งเป็นผู้ดี (Polarization)

นอกจากนี้ ยังมีข่าวกุ ข่าวลวง หรือมีเรื่องบิดเบือน (Disinformation) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะส่งผลกระทบต่อมติมหาชนทางใดทางหนึ่ง ที่เน้นเรื่องของความไม่จริง หรืออารมณ์ ความเชื่อมากกว่าข้อเท็จจริง อีกทั้งมีการเน้นเรื่องรสนิยมที่ไม่ค่อยดีด้วย (Bad Taste)

Ex. ลุงพลถูกทำให้เป็นคนมีชื่อเสียง แต่หลงลืมว่า ยังมีเด็กผู้หญิงที่ถูกกระทำอยู่

Ex. แตงโม ถูกแพร่กระจายอย่างกว้างขวางและผลิตซ้ำ

Ex. การทำข่าวให้เป็นดราม่า: โหนกระแส ข่าวใส่ไข่

การให้คุณค่าข่าว ไปอยู่ที่ความดราม่าแทน

อาจารย์พรรษาสิริ พูดถึงสูตรสำเร็จของข่าวที่มาจากคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนหนนึ่งมาจากว่า หลายรายการเน้นเนื้อหา
และรูปแบบการนำเสนอที่เร้าอารมณ์และเป็นสีสัน มากกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริงเชิงลึก ซึ่งการใส่อารมณ์และความเห็นหลายครั้งก็ไม่มีแหล่งอ้างอิง ทั้งยังเป็นการตัดสิน ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และละเมิดความเป็นส่วนตัวของคนในข่าว

หลายแหล่งข่าวจึงหลงลืมกลายเป็นเครื่องมือหลุดการผลิตซ้ำ (เรื่องเพศ/อื้อฉาว) และหลุดในเรื่องของข้อบิดเบือน กุเรื่อง และไม่จริง

จาก Narrative สู่ ข้อเท็จจริง ที่มาของปัญหาจริยธรรมสื่อไทย

  1. ความผิดพลาดของ กสทช. ในกรณีทีวีดิจิทัล: ทีวีดิจิทัลจำเป็นต้องลดต้นทุนการผลิตเนื้อหา เพราะผลกระทบทางธุรกิจ อันเนื่องมาจากความผิดพลาดของ กสทช. ในเรื่องต่อไปนี้

– การออกแบบใบอนุญาต (จำนวนและประเภทของช่องโทรทัศน์)

– การกำหนดกระบวนการเข้าสู่ใบอนุญาต (ด้วยการประมูล)

– การดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล

(การแจกคูปองทีวีที่ล่าช้า การไม่สามารถกระจายกล่องให้รวดเร็วและครอบคลุม)

– ประกาศและคำสั่งของ คสช. 4 ฉบับสำหรับกิจการทีวีดิจิทัล

  1. Technological Disruption ทำให้สื่อต้องทำเพื่อความอยู่รอด: อิทธิพลทางเทคโนโลยีส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภูมิทัศน์สื่อและข่าวสาร นอกจากจะกระทบ business models และ value chain ในอุตสาหกรรมข้อมูลและสื่อแล้ว พฤติกรรมการบริโภคสื่อในภาพรวมก็ยังกระจัดกระจาย แม้จะย้ายฐานสู่ออนไลน์และเน้นความยืดหยุ่นมากขึ้น

ขณะที่แพลฟอร์ม OTTs Social Media Influencer และ Content Creators เข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างมติมหาชนมากกว่า เหล่านี้ทำให้สื่อจำเป็นต้องหาที่ยืนให้ได้ ภายใต้
ภูมิทัศน์อันเปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกโฉม

  1. Rating Game คือที่มาของการทำเนื้อหาแบบตลาด
  1. สื่อถูกควบคุมและครอบงำ?

อำนาจหน้าที่และบทบาท กสทช. ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมวิชาชีพ

  1. ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาตผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับการจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นองค์กรในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และการควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพกันเองภายใต้มาตรฐานจริยธรรม
  2. ผู้ที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากรายการที่ออกอากาศเป็นเท็จหรือละเมิดสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล อาจร้องเรียนต่อคณะธรรมการ
  3. ให้คณะกรรมการส่งเรื่องพร้อมความเห็นของคณะกรรมการให้องค์กรควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ เพื่อให้ดำเนินการเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายโดยเร็ว และให้คณะกรรมการติดตามผลดำเนินการขององค์กร ควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ

ขอบเขตการกำกับดูแลสื่อที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ กสทช.

  1. เนื้อหาในพื้นที่ออนไลน์
  2. ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มออนไลน์ (รวมถึง Streaming)
  3. Content Creator ในพื้นที่ออนไลน์

            บทบาท กสทช. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับจริยธรรมสื่อ

  1.           ใช้อำนาจทางการปกครอง
  2. จัดอบรม/สัมมนา/เสวนา สร้างความเข้าใจ ชี้ให้เห็นความสำคัญของกลไกการกำกับดูแลกันเองของผู้รับใบอนุญาต (ผู้รับใบอนุญาต, องค์กรวิชาชีพ, ประชาชน)
  3. ส่งเสริม (มาตรการจูงใจ) เพื่อนำไปสู่การรวมกลุ่ม มาตรฐานวิชาชีพ และกลไกการกำกับดูแลกันเอง

กสทช. ความท้าทายของการกำกับดูแลสื่อในอนาคต

  1. การจัดการกับภาวะ “Dumbing Down” “Racing to the bottom” – อุดมดราม่า ไม่ประเทืองปัญญา และการแข่งกันฉุดรั้งมาตรฐานให้ต่ำลง ภายใต้กระแส Disinformation
  2. การเคลื่อนย้ายแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัล (migration to digital) กับขอบเขตอำนาจทางกฎหมายที่ไปไม่ถึงที่จะจัดการปัญหาทางจริยธรรม ไม่ว่าจะเป็น

– แหล่งที่มาของเนื้อหา

– ความน่าเชื่อถือและการตรวจสอบข้อเท็จจริง

– ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล

– การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิส่วนบุคคล

– การเผยแพร่เนื้อหาเร้าอารมณ์

– การตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่มีวาระซ่อนเร้น

แนวทางจัดการกับความท้าทาย

– การกำหนดนโยบายสื่ออย่างบูรณาการและเป็นวาระทางสังคม

– การกำหนดเป้าหมายร่วมกันต้านการกำกับดูแลสื่อกับผู้ประกอบการ ทั้งองค์กรวิชาชีพและนักวิชาชีพ

– การเสริมสร้างนิเวศสื่อผ่านกลไกการกำกับดูแลร่วมกัน และการทำงานแบบ Equal Partnership

– การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการกับเนื้อหาที่ผิดจริยธรรมและผิดกฎหมาย

– การ Reset ระบบการกำกับดูแลและส่งเสริมสื่อ และ Redefine ระบบคุณค่าของเนื้อหาในสื่อ

–  การส่งเสริมศักยภาพให้สื่อที่คุณภาพอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

 

ผศ.ดร. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม

รีวิวปรากฏการณ์สถานการณ์จริยธรรมสื่อ

 

ปรากฏการณ์จริยธรรมสื่อไทย

  1. จากสิ่งผิดปกติถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ: ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม

            2559-2563 ปรากฏการณ์ Facebook Live การรายงานข่าวความรุนแรงถึงตาย

            ความน่าสนใจ 2 ประการ

  1. รายงานสดการฆ่าตัวตาย
  2. รายงานสดผ่าน Facebook Live ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่

ตัวอย่าง

  1. เผยแพร่ภาพผ่านทาง Facebook Live ยิงตัวตายของอาจารย์
  2. เผยแพร่ภาพผ่านทาง Facebook Live ผูกคอตายประท้วงวัดพระธรรมกาย
  3. เผยแพร่ภาพผ่านทาง Facebook Live กราดยิงที่โคราช

3 เหตุการณ์นี้ทำให้เกิด Real Time Content ที่สร้าง Rating ให้กับช่อง จนทำให้เกิดการแบนช่องขึ้น จนอาจผิดจริยธรรม และหากมองจากคุณค่าข่าวที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์
Live นี้ แม้จะทำให้เกิดการทันต่อเหตุการณ์ มีความขัดแย้งจนทำให้เกิดความสนใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (สิ่งผิดปกติถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ)

 

  1. จากสิ่งผิดปกติถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ: การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

            ตัวอย่าง

  1. รายงานข่าวเคลื่อนย้ายร่าง “ปอ ทฤษฎี” สื่อถูกตั้งคำถามละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
  2. รายงานข่าวการจมน้ำเสียชีวิต “แตงโม นิดา”

สื่อถูกตั้งคำถามละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ชี้นำ ขุดคุ้ย และคาดคั้น รวมถึงนำกระแส

ในสื่อสังคมออนไลน์มาขยายผลพิพากษา

 

2 เหตุการณ์นี้ทำให้เกิด Real Time Content ที่สร้าง Rating ให้กับช่อง ที่หาคุณค่าข่าวจากความเด่น (การเป็นคนดัง / คนสาธารณะ) และการมีเงื่อนงำของเนื้อหา ซึ่งเป็นการละเมิดแหล่งข่าวและเข้าใกล้ความเป็นจริงมากจนเกินไป อีกทั้งเมื่อมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเกิดขึ้นแล้ว เนื้อหานั้นก็ไม่ต่างจากดราม่า ที่กลายเป็น สิ่งผิดปกติถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ

 

  1. จากสิ่งผิดปกติถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ: สื่อกับการประกอบสร้างความจริง

ตัวอย่าง

  1. ลุงพลฟีเวอร์ จนกลายเป็น Influencer (หนึ่งในผู้ต้องสงสัยการหายตัวไปของเด็ก)
  2. หมอปลากับหลวงปู่แสงกับการยอมรับว่า เป็นการจัดฉาก ผู้หญิงในคลิปคือนักข่าว

2 เหตุการณ์นี้มี Fact ที่เป็นความจริงชวนเร้าอารมณ์และสร้างเงื่อนงำให้น่าติดตาม แต่สิ่งที่นักข่าวไม่ควรทำคือ การใช้ Reality Show เข้าไปสร้างมู้ดแอนด์โทน จัดฉาก ครอบเนื้อหา หรือใช้พล็อตเรื่อง จนกลายเป็นการ Make News หรือนั่งเทียนเขียนข่าว หรือสร้างข่าว ทำให้เกิด Fake News ซึ่งนั่นทำให้เกิดเป็นเรื่องผิดกฎหมายตามมา

            กลไกการผลิตข่าวแบบไหนทำให้สื่อถูกตั้งคำถามเรื่องจริยธรรม

            จากงานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล
และแนวทางกำกับดูแล” ของภาณุพงษ์ ทินกร 2561 ระบุว่า

ปัจจัยภายใน: นโยบายเน้นความสนใจของประชาชนหรือประโยชน์ธุรกิจเป็นหลัก จรรยาบรรณเป็นเรื่องรอง

            ปัจจัยภายนอก: จำนวนช่องมาก การแข่งขันรุนแรง วัดด้วยเรตติ้ง มีการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียที่เพิ่มสูงขึ้น

            สรุปได้ว่า นโยบายขององค์กร และเรตติ้ง กลายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกการผลิตข่าวขึ้น

นอกจากนี้ นายเสรี ชยามฤต นายกสมาคมนักข่าวบันเทิง ปี 2559 ในงานเสวนา “ร่วมคิด ร่วมแก้ ปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ” ยังพูดถึงเรื่องนักข่าวกับการยึดตามหลักจรรยาบรรณ ดังนี้

            “อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักข่าวไม่สามารถทำงานโดยยึดตามหลักจรรยาบรรณได้
เป็นเพราะนโยบายของสื่อแต่ละที่ต่างกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ นโยบายอยู่เหนือเหตุผล โดยตัวนโยบายเองก็มาจาก เจ้าของสื่อ

ทั้งนี้จากประสบการณ์ที่เคยเป็นนักข่าวภาคสนาม เคยถูกบรรณาธิการสั่งว่า ให้ตามข่าวหนึ่งให้ได้ หากทำไม่ได้ ก็จะถูกตราว่าไร้ความสามารถ ซึ่งอาจมีผลต่อการประเมินและความมั่นคงในการงานได้

ด้วยเหตุนี้ไม่ว่านักข่าว อยากทำตามจริยธรรม-จรรยาบรรณ ก็ทำได้ยาก ดังนั้นขอเสนอว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารองค์กร เจ้าของสื่อ จะต้องตื่นตัวเรื่องนี้ การแก้ปัญหาดังกล่าว จะต้องเริ่มต้นที่การกำหนดนโยบายด้วย”

แผนภูมิข้อเสนอเชิงนโยบาย ผศ.ดร.วิไลวรรณ

ล้อมวงถก ยกที่ 1

ความท้าทายจริยธรรมสื่อไทยในอนาคต

เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นด้านจริยธรรมสื่อระหว่างนักวิชาการด้านสื่อและนักวิชาชีพสื่อมวลชน

วิทยากรหลัก

  • วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ กรรมการจริยธรรมวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมัยที่ 12
  • ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ กรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์
  • ระวี ตะวันธรงค์ กรรมการผู้จัดการ เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนต์ และนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
  • ผศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ผู้ดำเนินรายการ

  • วรรณศิริ ศิริวรรณ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวไทย ทางช่อง 9 MCOT HD
  • โมไนย เย็นบุตร ผู้ประกาศข่าว TNN ช่อง 16

 

วรรณศิริ: จริยธรรมมีอยู่หรือหรือเปล่า และจริยธรรมมันกินได้หรือไม่ เราไม่ได้อยู่ด้วยจริยธรรม แต่ต้องอยู่ด้วยปากท้องของเรา แล้วสื่อจะรอดให้มีจริยธรรมได้อย่างไร

จริยธรรมที่เราพูดถึงกันในปี 2565 มีอยู่จริงไหม

วิสุทธิ์: มีอยู่จริง แต่สามารถดูแลกันเองได้ไหม แต่เป็นเรื่องท้าทายมาก และจะนำมาใช้หรือไม่ หรือให้ความสำคัญแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสื่อแต่ละ แต่มันมีการพยายามทำอยู่ อย่างจุดเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญเลยคือ การรายงานข่าวปอ-ทฤษฎี มีการออกแถลงข่าวขอโทษจากองค์กรวิชาชีพสื่อ

และตอนนี้ภาพข่าวโรงพยาบาล ภาพข่าวที่เป็นเหยื่อหรือนักโทษมายืนเรียงไม่มีแล้วซึ่งสื่อเป็นสิ่งที่เปลี่ยนยากที่สุด แต่ตอนนี้องค์กรวิชาชีพและหน่วยงานอื่นๆ เริ่มมีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์และจริยธรรมของแต่ละอาชีพแล้ว และเคสหลวงปู่แสง ทำให้เกิดการตรวจสอบและลงโทษกันเองในสื่อของตัวเอง ซึ่งเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่จะให้ลึกลงไปอีก ต้องลึกลงไปถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ และเจ้าของสื่อ

 

จริยธรรมปรับแล้วดีขึ้นไหม

ระวี: อยากให้เปลี่ยนเรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องของคุณภาพ ซึ่งเกิดจากระบบนิเวศสื่อโดยรอบที่มันบีบบังคับให้ทำจนละเลยเรื่องจริยธรรม ซึ่งสื่อที่มีจริยธรรมทำให้ยาก แต่สื่อที่ทำให้รอดไม่ง่าย ซึ่งก็ต้องมองปัจจัยด้านอื่นด้วย เช่น กลไกการได้ข่าว เงินเดือน กลไกตลาด กำไร

กสทช.มีการควบคุมและกำกับก็จริง แต่ไม่ได้มีการส่งเสริมที่ชัดเจน ซึ่งการส่งเสริม
จะช่วยให้กลไกตลาดแข็งแรง และทำให้จริยธรรมและความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมาไม่ยาก ทุกคนทำข่าวให้มีจรรยาบรรณและวิชาชีพได้ แต่ต้องมีการสนับสนุนจากกลไกอื่นด้วย

ระวี: และกฎหมาย PDPA จะเป็นจุดเปลี่ยนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งต้องได้รับการยอมรับจากผู้ให้ข้อมูลข่าวสารนั้นด้วย

 

วัฒนธรรมการทำข่าวกับจริยธรรม

วิไลวรรณ: ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไป เกิด Media Disruption หนังสือพิมพ์เคลื่อนตัวมาอยู่บนทีวี และวัฒนธรรมหนังสือพิมพ์มันถูกย้ายขึ้นมาด้วย ทำให้มันแมสมากขึ้นและขยายอยู่ในทีวี
ทำให้มีผลกระทบต่อการนำเสนอและรายงานข่าวที่สูงมาก และโซเชียลมีเดียถูกนำมาเล่นกันอย่างแพร่หลาย บรรณาธิการจำเป็นจะต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่ทำออกไป

วิไลวรรณ: จากอะนาล็อกสู่ดิจิทัล ทำให้เห็นถึงการเติบโตก้าวกระโดดที่เร็วเกินไปของธุรกิจโทรทัศน์ ถูกเร่งผิดปกติ และเห็นคนที่มีประสบการณ์ยังน้อยอยู่ แต่ขึ้นมาเป็นบรรณาธิการข่าว ตัวเขาเองจะมีหน้าที่ในการเป็นคนตัดสินหรือเป็น Gatekeeper ได้ดีแค่ไหน

 

โลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่ (ระบบวัดเรตติ้ง ขายโฆษณา) และจริยธรรม

สิขเรศ: คุณค่าของวัฒนธรรมการทำข่าว

สื่อ Traditional – ถูกต้อง / ตรวจสอบ / ถ่วงดุลข้อมูล / เป็นกลาง / GateKeeper

สื่อออนไลน์ – รวดเร็ว / ผิดแล้วมาแก้ / โพสต์ขึ้นไปก่อน / มีความเห็น / ขาดความมืออาชีพ

คำถาม-คำตอบสำคัญ

นักข่าวคือใครกันแน่ / สิ่งที่ท้าทายต่อไป การทำข่าวในสเต็ปถัดไปคืออะไรกันแน่

 

ต่างประเทศมีเรื่องจริยธรรมการทำข่าวไหม

สิขเรศ: มี ไม่ใช้ภาพหรือฟุตเทจ หรือบางที่ก็มีเหมือนกัน เช่นใช้ภาพแคบหรือขุดคุ้ยประวัติส่วนตัว

 

เทคโนโลยีที่นำพามาขนาดนี้ เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำข่าว จริยธรรมยังต้องมีอยู่ไหม

วิสุทธิ์: จริยธรรมต้องอยู่ในสายเลือดของคนทำสื่อ ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มไหนก็ตาม ต้องมีอยู่ใน DNA

วรรณศิริ: คนรุ่นใหม่รับรู้โลกอีกแบบหนึ่งและมองเรื่องจริยธรรมเปลี่ยนไป แล้วจะสร้างสมดุลอย่างไรกับเรื่องนี้

วิไลวรรณ: ทุกคนมีความเป็นคนเหมือนกัน ไม่จำกัดวัย ทุกคนต้องมีศีลธรรมในตัวเอง

พีระวัฒน์: จริยธรรมและจรรยาบรรณคือ “ความรับผิดชอบ” ที่มีมากขึ้น ถ้าคุณอยากเป็นนักข่าว (Journalist) อาจต้องนิยามให้ชัดเรื่องกฎเกณฑ์และระเบียบ รวมถึงถ้าคุณอยากเป็น Influencer ซึ่งเป็นแหล่งข่าวที่อยากนำเสนอตัวเองออกมา ก็อาจต้องมีการวางเช่นเดียวกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการทำข่าว

ตัดเรื่องของทุน ยอดวิว เรตติ้ง ปัจจุบันจริยธรรมดีแล้วหรือยัง

ระวี: สื่อทำถูกหรือทำตามจริยธรรมมีมากกว่า มีแล้วแต่ไม่เห็น คือไม่มีตัวจับ และเรตติ้งไม่ดี คนเห็นน้อย แต่เมื่อมี PDPA และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งต้องส่งเสริมคนทำดีและตัดเนื้อร้ายออกไป

วิไลวรรณ: นักข่าวมีเจตจำนงเสรีจริงเหรอ แต่เมื่อเขาอยู่ในองค์กรหนึ่งที่มีการแข่งขันสูง ตะบี้ตะบันด้วยเรตติ้ง การปะทะกันระหว่างจริยธรรมตัวเองและนโยบายองค์กร อะไรจะชนะ ซึ่งนักข่าวหลายคนทำงานด้วยความกลัว นักข่าวไปด้วยร่างกาย แต่ไม่มีสิทธิ์ในความคิดการสร้างสรรค์ หลายอย่างจึงเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นต้องกลับไปที่นโยบายขององค์กรว่า เขาให้ความสำคัญ

สิขเรศ: ต้องวกกลับไปที่องค์กรว่า เขาให้ความสำคัญกับการคัดเลือกหรือการคัดกรองข่าวอย่างไร บางครั้งหลายแหล่งข่าวไปดูที่ hashtag แต่ก็ต้องดูว่า hashtag ที่คัดเลือกหรือนำเสนอนั้นมีคุณภาพหรือประโยชน์ต่อสังคมหรือเปล่า

สิขเรศ: บางครั้งมีการตีซี้หรือสนิทสนมกับแหล่งข่าว เช่น หมอไสยศาสตร์ ซึ่งมองเห็นว่า แล้วตัวนักข่าวเองมีการวางบทบาทหรือหน้าที่ตัวเองย่างไร ซึ่งหน้าที่ก็จะวกกลับเข้าไปสู่การกำกับหรือดูแลทีมในฐานะบรรณาธิการ

วิสุทธิ์: อย่างกรณีหมอปลา นักข่าวที่ไปคลุกคลีแหล่งข่าว จะถูกสั่งหรือไม่ถูกสั่งไม่รู้ แต่ต้องรู้ว่า อะไรควร อะไรไม่ควร และต้องคุยกับบรรณาธิการ และหลายๆ ครั้งวาระข่าว กระทรวงบอกว่าแบบนั้น สปอนเซอร์บอกว่าแบบนี้

พีระวัฒน์: ดังนั้น ถ้านโยบายองค์กรไม่แข็งแรง ไม่อดทน มันไม่สามารถ Stand by for… ได้

เพราะถ้าจุดยืนชัด ดังนั้น Value Added เป็นสิ่งสำคัญ และตามมากด้วย Quality News และตามมาด้วย Flavor คนดี และลงโทษคนผิด จะได้สิ่งที่ความชัดเจนมากขึ้น และไม่มีโศกนาฏกรรมอย่างที่เห็นในข่าว

 

ล้อมวงถก ยกที่ 2

ความท้าทายจริยธรรมสื่อไทยในอนาคต “ทางออกและการแก้ปัญหา”

ผู้เสวนาคนที่ 1

กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า

  1. องค์กรสื่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และสื่อส่วนใหญ่ไม่มีช่องทางร้องเรียน มีแค่ ThaiPBS ช่อง 9 ดังนั้น เสียงของผู้บริโภคจะเป็นอีกหนึ่งพลังที่จะช่วยกำกับกันเอง เพื่อเป็นการทบทวนบทบาทและคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น
  2. องค์กรวิชาชีพสื่อ ถูกมองว่า เป็นสื่อกระดาษ จะทำยังไงให้คนทำข่าวดีและยืนหยัดได้ และคนที่มีคุณภาพได้รับการส่งเสริม ซึ่งจะมีกลไกอะไรบ้าง อีกทั้งสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์และสื่อออนไลน์จะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งถ้าสามารถสร้างกลไกได้จะดีมาก และประชาชนพร้อมแล้วที่จะตรวจสอบ
  3. ผู้บริโภคต้องการความถูกต้อง ไม่ได้ต้องการความเร็ว ดังนั้น บรรณาธิการต้องเป็น GateKeeper จริงๆ และตรวจสอบทุกอันก่อนออกอากาศ ถามบรรณาธิการก่อนไลฟ์สด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีกระบวนการและถ่วงดุลดีแล้วหรือยัง

ทางออกและการแก้ปัญหา

ระวี: สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ขึ้นอยู่กับสภาการสื่อ และไม่ได้เป็นตัวบุคคล แต่เป็นตัวองค์กรมาเป็นสมาชิก มีหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการสื่อออนไลน์ให้แข่งขันกับตลาดออนไลน์ได้ เราทำเทรนนิ่งให้สื่อสู้กับแพลตฟอร์มได้ และแนะวิธีหารายได้ให้กับสื่อออนไลน์

ระวี: คนที่อยู่ในสมาคมและทำหน้าที่ต่อประชาชน คุณต้องมีความรับชอบและรับผิด รับชอบเมื่อยอดสูงขึ้น และรับผิดเมื่อทำผิด อีกทั้งต้องมีระบบบรรณาธิการ ซึ่งค่อนข้างสำคัญมาก เพราะตอนนี้ นักข่าวหลายคนหลงใหลยอดจนอยากเป็น Influencer และยอดไลค์ ยอดแชร์เริ่มกลายเป็น KPI ขององค์กรโดยปริยาย

ระวี: หรืออย่างเคยมีที่หนึ่งทำสำนักข่าวออนไลน์แล้วดึงข่าวออนไลน์ออกจากระบบ ซึ่งกลไกตลาดเริ่มทำให้จริยธรรมเริ่มพร่าเลือน

โมไนย: อาจต้องรอ Quality Rating จากกสทช. เพื่อจะได้ชี้นำกลไกตลาดในอนาคตได้ด้วย

ระวี: ทุกคนต้องทำพร้อมกันในทุกสมาคม ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างทำ 8 องค์กรก็ 8 รูปแบบ

 

สุปัน รักเชื้อ อุปนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สุปัน: กระบวนการร้องเรียนต้องมาถูกที่ถูกทางก่อน แต่หลายที่ก็มีธรรมนูญขององค์กร
และวิชาชีพ อีกทั้งยังมีเพื่อนร่วมตัดสินวิชาชีพอีก รวมถึงภาครัฐได้ให้ความรู้ภาคประชาชน
มากน้อยแค่ไหน และกองบรรณาธิการต้องให้ความเข้าใจเรื่องจริยธรรมในกองของตัวเอง

วิไลวรรณ: เคสหลวงปู่แสง – กสทช. จัดการ?

สุปัน: สภาวิชาชีพส่งหนังสือไปที่กสทช. แล้วกสทช. ส่งหนังสือไปที่ช่องเพื่อให้เกิดการตามเรื่องและพิจารณาเรื่องต่อในการจัดการ

 

ผู้เสวนาคนที่  2

ดร. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

การรายงานข่าวไสยศาสตร์ การรายงานข่าวเชิงวัฒนธรรมไม่ได้ผิดอะไร แต่ผู้สื่อข่าวไปเน้นบางอย่างที่ทำให้เกิดความเชื่อไร้สาระและงมงาย แต่เราไม่พิสูจน์ทราบด้วยหลักวิทยาศาสตร์ว่า มันมีที่มาอย่างไร ซึ่งถ้าให้นักข่าวเพิ่ม Critical Thinking ได้ จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้นักข่าว แต่เดี๋ยวนี้มันกลายเป็นต้องเร็ว กลายเป็นโพสต์ก่อนแก้ไขทีหลัง

การตีทะเบียนสื่อ: เห็นด้วยว่าควรมี แต่ไม่ใช่การกำกับแบบแน่น แต่เป็นการกำกับแบบหลวม เพื่อแยกแยะได้ว่า ใครคือนักข่าวตัวจริง และใครเป็นมืออาชีพ

 ตัวกลาง-การหาทางเชื่อม: ข่าวออนไลน์ก็มองว่าฉันดี ข่าวทีวีก็มองว่า ฉันทำเป็น อาจจะต้องหาตัวกลาง หรือทำ Workshop ในเรื่อง Fact Check มาตรการ PDPA เงื่อนไขต่างๆ เพื่อเป็นการแบ่งเบางบประมาณ

สมาคม สมาพันธ์ แต่งตั้งหลายที่มาก: ซ้ำซ้อนมาก แต่เกิดเรื่องมาที ไม่รู้กระสุนไปตกอยู่ที่ไหน หรือบางทีตั้งชื่อรวม แต่ดูแค่รายการ ดังนั้น ต้องจัดระบบเพื่อลดความซ้ำซ้อน ทำให้การเป็นสื่อค่อนข้างชุลมุน

การแก้ระบบ: ทำเป็นระบบลูกขุน เลือกคนขึ้นมา แล้วทำการไต่สวน สอบถาม
(ใช้ระบบเดียวกับ Russia Today) แต่ก็ต้องใช้เวลาในการจัดการและงบประมาณของ กสทช.

 

ผู้เสวนาคนที่ 3

วนิดา วินิจจะกูล

  1. ไม่ต้องดูแพลตฟอร์มแล้ว แต่ยังมีคนที่เล่นโซเชียลกับกระแสให้เป็นจากการฉุดลงต่ำ เราดึงมันขึ้นได้ไหม และหาสื่อและถูกต้องและไม่ละเมิดใครได้ไหม และจัดทำมาตรฐานที่ยอมรับได้ ถ้ามี 10-20 องค์กรมายอมรับในมาตรฐานเหล่านั้น เพื่อดูเนื้อหาว่า เรื่องนี้เล่นได้หรือไม่ได้
  2. ปัจเจกมีพลังมาก และทุกคนอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ดึงหรือทำให้ดีขึ้นได้
  3. อย่างยอมจำนนต่อปัญหา และมองเห็นถึงความสามารถของคน ลองหาคนที่เกี่ยวข้องจริงๆ มาเจอปัญหาและระดมสมอง
  4. มีคณะลูกขุนที่มาจากหลายอาชีพ และมีตัวแทนอิสระจริงๆ ในการสอดส่อง ดูแล และจัดการ

 

ดร. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

ตั๋วนักข่าว / ตั๋วบรรณาธิการ

สื่อมวลชนไม่ใช่ Change Agent เป็นทางอ้อม สื่อต้องเปลี่ยนคน แล้วคนไปเปลี่ยนสังคม และเด็กรุ่นใหม่ ต่อให้ไม่สังกัดอะไร เพราะคนต้องการเป็นอิสระค่อนข้างเยอะ จะไปห้ามเขาทำไม เพราะคนเราจะทำงานตามองค์การใหญ่

 

ผู้เสวนาคนที่ 4

บรรยงค์ สุวรรณผ่อง

            คุณภาพและจริยธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง ซึ่งในทางธุรกิจกับความรับผิดชอบกับทางองค์กรจึงมี 4 ความรับผิดชอบ และแยกกันออกไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน

  1. ความรับผิดชอบทางกฎหมาย
  2. ความรับผิดชอบโดยประกอบให้องค์กรมีกำไร
  3. ความรับผิดชอบในการผลิตสินค้าและบริการ (ข่าวที่มีคุณภาพ)
  4. ความรับผิดชอบทางสังคม

 

ตั๋วบรรณาธิการ

เห็นได้จากการมีปลอดแขนและการอบรม เพื่อให้ได้ซึ่งปลอกแขน การมีตั๋วสามารถทำได้ เพราะมันเป็นการแสดงความรับผิดชอบในการเป็นนักข่าวของเขา

 

วิทยุและโทรทัศน์

  1. แก้ไขร่างกฎหมาย (ถ้าไม่แก้ มีปัญหาแน่นอน) และเชิญตลาดหลักทรัพย์มาพูดคุยถึงมาตรการการจัดการ หากมีการทำผิดจริยธรรม มีการจับเข่าคุยกันจริงๆ ร่างต้องชัดไปถึงนิยาม
  2.   ให้ความรู้ในด้านวิชาจริยธรรมและวิชาชีพนักนิเทศศาสตร์รุ่นใหม่ เพราะบางหลักสูตรนิเทศศาสตร์ วิชาจริยธรรมอาจอยู่ในหมวดวิชาทั่วไป ไม่ใช่วิชาบังคับ
  3. มุ่งเน้นความรับผิดชอบในสังคม ที่มองไปจนถึงความรับผิดชอบในความมั่นคงของชาติในด้านต่างๆ

 

พลวัตอภิวัฒน์จริยธรรมสื่อไทย

สิขเรศ:

ภาคกำกับดูแล (กสทช.) : สร้างดุลยภาพแห่งการกำกับดูแล

– นโยบายและแผนทันสมัยเท่าทันการเปลี่ยนแปลง

– กำกับดูแลอย่างยุติธรรม

– มาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมสื่อ

ภาคองค์กรวิชาชีพสื่อ : สร้างเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพ

– พัฒนาวิชาชีพ

– สร้างกลไกการกำกับดูแลตัวเอง

– ก่อฐานหลักจริยธรรมให้แน่น เพื่อยกระดับมาตรฐาน

– เข้าใจบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม

(ทำให้บรรณาธิการ การบรรณาธิกรณ์จำเป็น เพื่อปิดกั้นการผิดจริยธรรมสื่อ)

ภาควิชาการ: สร้างองค์ความรู้ พัฒนาบริหารงานข้อมูล

            – วิจัยพัฒนาองค์ความรู้

            การทำวิทยบริการ (การเข้าถึงข้อมูลได้อย่างหลากหลายและครอบคลุม)

– อบรมให้การศึกษา รวมถึงสร้างและพัฒนาคุณภาพบุคลากร

– สนับสนุนอภิวัฒน์จริยธรรมวารสารศาสตร์

ดาวน์โหลดไฟล์เนื้อหา >>>> เวทีเสวนาโต๊ะกลม “จริยธรรมกับความเปลี่ยนแปลงที่มากับโลกดิจิทัล

 

แท็ก คำค้นหา