“โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE” 30 เมษายน 2565

ถ้าคอนเทนต์ดี แพลตฟอร์มไหนก็รอด Tech ที่ดีต้องเป็น Tech ที่คนใช้ โดยไม่รู้ตัว
วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชนไม่ตาย แต่ต้องเพิ่มทักษะใหม่หลายด้าน ให้เป็น
Multi Skill   มีความรู้ด้าน
Business Model/ Marketing และทักษะการเล่าเรื่องใหม่ๆ ที่
สอดคล้องกับเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม  ถึงจะอยู่รอด  ด้าน กสทช. เปิดวิสัยทัศน์ ใช้หลัก 5E คือ Economy/ Evidence/  Ethic/ Environment/ Equality เพื่อสื่อสารมวลชน สังคม และประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์ร่วมกัน

นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ขอขอบคุณผู้สนับสนุนและวิทยากรทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและให้เกียรติเข้าร่วมเป็นวิทยากรในเวทีเสวนา “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE” เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เม.ย.2565 และกล่าวความเป็นมาของเวทีเสวนาฯ “เกิดขึ้นจากสิ่งที่คณะกรรมการสมาคมฯ เห็นว่าโลกของคอนเทนต์ หลาย ๆ กลุ่มของคนที่ออกไปทำคอนเทนต์ สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอิสระ หรือกลายเป็นสื่ออิสระประสบปัญหาหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงและเปลี่ยนเร็วมาก ขณะเดียวกัน 2 ปีของสถานการณ์โควิด โลกได้เอาเรื่องดิจิทัลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สื่อจะต้องรู้ ต้องรับมือ ต้องปรับ และต้องรู้ทันของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ เราไม่อาจจะเรียกตัวเองว่าเราเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ได้เพียงอย่างเดียว เรายังจำกัดความว่าเราเป็นคนผลิตคอนเทนต์ แต่การจะผลิตคอนเทนต์ให้เป็น King of Content  เราต้องปรับตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ถ้าคอนเทนต์คือคิง แพลตฟอร์มคือควีน แล้วอะไรที่จะไกด์ให้คิงกับควีนเจอกัน มันคือ Tech  เพราะฉะนั้นวันนี้ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้า ซึ่งเราได้เชิญผู้ที่เริ่มต้นสร้างคอนเทนต์ดิจิทัล 4 ท่านมาเล่าถึงประสบการณ์ มาบอกเล่าสิ่งที่คนทำคอนเทนต์จะต้องปรับ มาบอกเล่าสิ่งที่ Tech กำลังจะไป เพื่อให้คนทำคอนเทนต์เข้าใจและได้เห็นทิศทางมากยิ่งขึ้น ช่วงบ่ายยิ่งสำคัญใหญ่ เพราะคนที่ดูแลแพลตฟอร์มโดยตรงจะมาบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้ฟัง อยากให้สิ่งที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นประโยชน์กับคนทำสื่อ เด็กนิเทศศาสตร์ นักข่าวรุ่นใหม่ รวมถึงคนที่อยากจะออกไปทำแพลตฟอร์มของตัวเอง”

เวทีเสวนาฯ เริ่มด้วย  4 ขุนพล Digital Content  คือ นายก้าวโรจน์ สุตาภักดี  Associate Director Digital Media TNN 16 /นางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) / นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อใหม่ สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36  และ นายระวี ตะวันธรงค์  กรรมการผู้จัดการ เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนต์ และ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมแชร์ประสบการณ์ผู้สร้างผู้บุกเบิกมาแล้วทุกแพลตฟอร์ม ผู้ดำเนินรายการสนทนาช่วงนี้คือ นางสาว  อรชพร ชลาดล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี

เนื้อหาโดยสรุปคือ “ทำคอนเทนต์อะไรก็ได้ที่ทำให้มีชีวิตรอด สื่ออย่างพวกเราโดนมาหมด จนต้องมาหาทางเอาตัวรอดในดิจิทัลมีเดีย ทุกเวอร์ชั่น ที่เกิดขึ้นเราไปมาหมด อยากบอกว่าเวลาทำงานแล้วอยากรอดต้องวัดผลให้เป็น อะไรที่วัดผล มันประสบผลสำเร็จเสมอ เช่น คลิปที่ทำ ตั้งเป้าไว้ 1 ล้านวิว แต่รู้หรือยังว่าคลิปที่ได้ล้านวิวเขาทำกันอย่างไร

วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชนไม่ตาย เรียนไปเถอะ แต่อาจจะต้องเติมในเรื่องของทักษะแพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มตาย แต่กระบวนการสื่อสารไม่มีวันตาย คิดว่าเรียนสื่อสารมวลชนไม่ได้ตกงาน แต่อาจจะต้องเติมทักษะใหม่ ๆ อาจจะต้องเติมในเรื่อง Marketing และทักษะอื่น ๆ ให้เป็น Multi Skill  ให้ได้มันถึงจะอยู่รอด วิธีการเล่าเรื่องใหม่ ๆ ไอที หรือแม้กระทั่ง Business Model ถ้าคุณเป็นวารสารศาสตร์อย่างเดียวคุณตาย แต่ถ้าคุณได้ Multi Skill อย่างไรก็อยู่รอด หลักสูตรเขาเปลี่ยนไปเยอะแล้วเหมือนกัน ยิ่งถ้าได้ Multi Skill ต้องการคนครบเครื่อง ถ้าน้อง ๆ จบมาแล้วไม่หยุดเรียนรู้ จะเป็นยุคที่เฟื่องฟูสำหรับเขามาก ๆ ซึ่งมันก็จะมีช่องว่างห่างขึ้นเรื่อย ๆ กับคนที่ทำเท่าเดิม

“ไม่เฉพาะแค่นักศึกษา เพราะคนทำองค์กรสื่อเยอะ ทำเองส่วนตัวเยอะ เวลาเราทำสื่อที่ผ่านมาเราจะมีหน่วยงานแค่ไม่กี่หน่วยงาน โปรดักชั่น ฝ่ายข่าว ฝ่ายขาย การตลาด ผมเคยเชื่ออย่างหนึ่งว่าคอนเทนต์มันจะเป็นตัวโฆษณาเราเอง ถ้าเราทำคอนเทนต์ดีมันจะโฆษณาต่อประชาชน แต่ปัจจุบันมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น หน่วยงานองค์กรสื่อหลาย ๆ ที่ขาดบุคลากร ที่เป็น Media Digital Strategy คือคนที่เรียนการตลาดและเข้าใจแพลตฟอร์ม และทำคอนเทนต์ งานข่าวที่เราทำ ยากกว่าการขายน้ำหนึ่งขวดที่จะคิดดิจิทัล มีเดีย กลยุทธ์ เพราะงานข่าวเรามี Product ออกใหม่ทุกชั่วโมง เราต้องคิดทุกวันว่าเราจะทำอย่างไรให้ข่าวขายได้ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณและจริยธรรม ผมว่าองค์กรสื่อขาดคนที่เข้าใจคอนเทนต์จริง ๆ”

“ในฐานะผู้ดำเนินรายการวันนี้ จากที่นั่งคุยกันมา พูดถึงว่า “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ Metaverse” รู้สึกว่าที่เราจะทำได้ ณ ตอนนี้ ปรับทัศนคติ สื่อทุกวันนี้ไม่ใช่องค์กรแล้ว สื่อคือคน คนที่จะทำหน้าที่ในการสื่อสาร สารคือคอนเทนต์ เพราะฉะนั้นปรับวิธีคิดก่อนว่าสื่อคือใคร สารคืออะไร และเป้าหมายคือใคร สอง วิธีการทำงาน คิดวิธีการวัดผลหรือยัง ลองปรับกลยุทธ์ในการทำงานใหม่หรือยัง ที่เราจะต้องรับมือกับสิ่งที่มันจะวิ่งไปข้างหน้าตลอด โดยที่เราจะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่และถอยหลังลงไปเรื่อย ๆ สาม ปรับเรื่องของวิธีการรับมือ บางทีการรับมือเราอาจจะไม่ต้องแอคทีฟตลอดไปก็ได้ 4 ท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้รับมือด้วยการแอคทีฟมาตลอด ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แต่สุดท้ายเรียนรู้ว่า Passive บ้างก็ได้ ตั้งรับ ศึกษา ทำความเข้าใจ แล้วหาจังหวะเวลาเหมาะ ๆ ที่เราจะสามารถแอคทีฟให้ถูกจุด สามปรับนี้หลาย ๆ คนน่าจะเอาไปปรับใช้ และลองดูว่าเราจะเป็นสื่อที่ทำคอนเทนต์หรือสารแบบไหน เพื่อให้มันประสบความสำเร็จ” อรชพร ชลาดล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี

ต่อด้วยเวทีภาคบ่ายด้วย เปิดวิสัยทัศน์ กสทช.  โดย ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์

วิสัยทัศน์ที่จะพูด ขอใช้หลัก 5 E /  E แรกคือ Evidence ก็คือขอเน้นว่ามาจากโครงการวิชาการเพราะฉะนั้นในแง่ของการกำกับดูแลตั้งแต่ตอนที่แสดงวิสัยทัศน์กับทางคณะกรรมการสรรหาก็พูดว่ามันต้องเป็น Evidence based regulation ถือว่าเป็นการกำกับดูแลที่อยู่บนทางของหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เราสามารถที่จะศึกษาได้แล้วก็ประเมินได้ แล้วก็ได้ที่สรุปทบทวนได้ ตั้งแต่เริ่มต้นก็คือตั้งแต่การออกแบบการกำกับดูแลนั้นต้องไปดูก่อนว่าความต้องการคืออะไรแล้วสิ่งที่เป็นกฎระเบียบที่ร่างขึ้นมาดีไซน์ออกมาสอดคล้องตรงกับความต้องการของสาธารณะในภาคส่วนต่าง ๆ นั้นก็คือทั้งตัว Industry ตั้งแต่ผู้ชม ผู้ดู ผู้ฟัง ประชาสังคมอะไรต่าง ๆ มองว่ายังไงมันทำได้จริงหรือเปล่านั้น ก็จะลดช่องว่างด้วยเพราะว่าตั้งแต่การออกแบบแล้วก็ทำให้เห็นว่าวัตถุประสงค์มันคืออะไร วิธีการคืออะไรแล้วถ้าเอาไปทำจริงมันจะเกิดผลกระทบอะไรหรือเปล่า ในแง่ของการออกแบบเสร็จแล้วก็ต้องมีการตัดสินใจจริงว่าตกลงจะเอาไปใช้อะไร ซึ่งตรงนี้ก็ต้องดูเรื่องของต้นทุน เหมือนกันว่าออกแบบการกำกับดูแลมา กลายเป็นขี้ช้างจับตั๊กแตนคือว่าเรื่องที่มันไม่ควรจะลงทุนขนาดนั้นก็ไปลงทุน แต่เรื่องที่ควรจะลงทุนไม่ลงทุนอะไรต่าง ๆ ก็คือ ความคุ้มค่า ก็ต้องดูเหมือนกัน แบบเดียวกันพอเอาไปใช้จริงแล้ว ตัดสินแล้วมาเอานี้ลองไปใช้ดูก็ต้องมีการประเมินนะที่เราเรียกกันว่า RIA หรือ  Regulatory Impact Assessment ก็คือว่าพอไปใช้จริงมันต้องมีช่วงที่เป็น trier period เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าใช้ไปแล้ว ผลเสียเกิด industry ผลเสียเกิดกับสังคมโดยรวมอะไรต่างๆ ไม่ได้แก้ปัญหา ก็ต้องทบทวนใหม่ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า Evidence stage

E แรกก็คือว่ากำกับดูแลโดยมีหลักฐาน อย่างชัดเจนในทุกขั้นตอนในแง่ของการออกแบบการตัดสินใจเลือกวิธีการแล้วก็การทบทวน ถ้ามันไม่ดีก็ต้องปรับเปลี่ยน

E ที่ สอง คือ Economy นี้สำคัญมากในแง่ที่ว่าเราคงจะยอมรับว่าเราเกิด Disruption ขึ้นมาอย่างน้อยใน industry ของ ทั้ง broadcast ทั้ง telecom อะไรต่าง ๆ ซึ่งการถูก Disruption ไม่ใช่แค่ทางเทคโนโลยีเท่านั้น ตอนนี้สภาพแวดล้อมเรื่องของโควิดอะไรต่าง ๆ ก็ Disruption ทุกคนและทุกคนที่อยู่ใน industry และนอก Industry ไปกันหมด ในเชิงของ กสทช. สิ่งที่สำคัญมากคือเรากำกับดูแลการสื่อสารในทุก Layer เริ่มตั้งแต่ Infrastructure telecom ต่อเนื่องมาถึงเรื่องของ Device อุปกรณ์เชื่อมต่ออะไรต่าง ๆ ต่อเนื่องมาถึงคอนเทนต์ ต่อเนื่องมาถึงแอพพลิเคชั่นซึ่งบางทีเค้าเรียก OTT ในการเข้าถึงตอนนี้ก็แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เพราะฉะนั้นนิเวศวิทยาของการสื่อสารมันมีความเกี่ยวข้องมากกว่าการสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตรงนี้ก็คิดว่าหน้าที่สำคัญอันหนึ่ง ก็คือว่าก็ต้องดูแล  ดูแลภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง industry แน่นอนตอนนี้ก็บอบช้ำอะไรต่าง ๆ เนี่ยว่าเราจะทำยังไงที่การส่งเสริมไม่อยากเรียกว่าอุตสาหกรรมโทรคมอุตสาหกรรมบรอดแคสติ้งเท่านั้น อยากจะใช้คำว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร หรือถ้าเกิดจะเน้นก็คงเป็นเรื่องของทางคอนเทนต์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม ซึ่งอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเนี่ยคงไม่ได้มีแค่ Audient Visual เรื่องที่เกี่ยวกับ Broadcast แต่จริง ๆ มันเชื่อมโยงไปหมด ตอนที่เกาหลีเกิด 1997 ใครดู Twenty Five Twenty One หนังเกาหลีซึ่งต่อมามีบริบททางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน มีบริบทที่เห็นชัดเจนต่าง ๆ  กลับมาเรื่องของเรารู้ว่าในหนังในบริบทของเกาหลีเนี่ยเกิดกิมจิเราเกิดต้มยำกุ้ง แต่ว่าเกาหลีสามารถที่จะสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยการหาจุดแข็งของเขาได้ ซึ่งก็มองว่าตรงนี้ก็เหมือนกันทำไมเราไม่มองวิกฤตให้เป็นโอกาสแล้วหาจุดแข็ง เกาหลีเติบโตจากสูตรที่เป็น 3 ประสานระหว่าง 3 ส่วนภาค 3 ส่วนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเศรษฐกิจ Digital Economy หรือว่า Creative Economy เรื่องของ 3 ประสานคือเรื่องของภาคการศึกษา ภาครัฐแล้วก็ภาคอุตสาหกรรม

ภาครัฐมีธงว่าจะดึง Soft power ตรงนี้ขึ้นมาสร้างการเติบโตจากภายใน แต่พอมองเห็นว่านี่ คืออนาคตการเติบโตจากภายในเป็นสิ่งที่เกาหลีมีของตัวเองก่อสร้างตรงนี้โดยให้โจทย์กับทางการศึกษาให้ทำโมเดลร่วมกับภาคอุตสาหกรรมแล้วสุดท้ายเกาหลีก็ได้สูตรที่ Winning เป็น Winning Formula  เมื่อก่อน Model Asian อยู่ที่ญี่ปุ่นอย่างหนังญี่ปุ่นซีรีย์ญี่ปุ่นเนี่ยคือ Model Asian ซึ่งมันใกล้ ๆ กับคนเอเชียอะไรต่าง ๆ แต่มันแพง ก็เป็นวินนิ่งฟอร์มูล่าก็เลยมองว่าตรงนี้คือถ้า กสทช. จะทำอะไรได้ในแง่ของ Culture Content Creative  Industry จะเรียกว่าอะไรก็ตามก็คือว่าอยากจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมศักยภาพ กสทช.ก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วเป็นองค์กรที่พูดกันตรง ๆ ว่าก็มีทุนสูงที่สุดมีทุนสูงที่สุดไม่ใช่ทุนในเงิน License ฟรีจากผู้ประกอบการ แต่ทุนในแง่คนด้วย มีคนเป็นพันนะ แล้วก็มีนักเรียนนอกเยอะแยะมากมายควรจะใช้ต้นทุนตรงนี้ให้ได้ประโยชน์ที่สุด แล้วคือมองในแง่ว่าเงินที่หล่อเลี้ยงกสทชมา Industry ก็ควรจะ Play back ทุกคนจะมี Return ให้กับ Industry ในแง่ของการคือมองไปถึงว่า กสทช ก็จะเป็น Think thank ในเรื่องของ broadcast ทั้ง Telecom เวลาที่จะมี Industry forecast ก็แค่การทำนายอุตสาหกรรมอะไรต่าง ๆ มันควรจะมาจาก กสทช. ทุกวันนี้มันไม่ใช่ เรายังต้องพึ่งอุตสาหกรรมเป็นผู้ Read เรามากกว่าด้วยซ้ำนี่ก็เป็น E ที่สอง Economy

E ที่ 3 คือเรื่อง Ethic  อันนี้สำคัญมาก Ethic คือถึงแม้ว่าสื่อจะเปลี่ยน Platform จะเปลี่ยนคนที่สร้างเนื้อหาจะเปลี่ยนแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเพียงทำช่วยพยุงให้สังคมมันดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนก็คือจริยธรรมคือในทุกส่วนจริง ๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องของสื่อ นักการเมือง ครูบาอาจารย์อะไรต่าง ๆ ก็ต้องมี Ethic ทั้งนั้น แต่ว่าค่าส่วนนี้เนี่ยเป็นเรียกว่าอะไรเป็นตัวคูณแล้วกัน เพราะว่าการแพร่ภาพออกอากาศหรือว่าการเป็นแพลตฟอร์มในการที่แพร่กระจายเนื้อหาต่าง ๆ ที่คนสื่อสารถึงกันได้เนี่ยมันคือมา Multiplier มหาศาล เพราะฉะนั้น Ethic สำคัญมาก แล้วเราก็คุยกันได้รับรู้ Innovation ใหม่ ๆ ว่าควรจะมีเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่จะใช้คนหรืออะไรต่าง ๆ

แทนที่จะรอให้สังคมมาช่วยตรวจสอบ องค์กรวิชาชีพ กับองค์กรกำกับดูแลทำงานด้วยกันไหมโดยเน้นเรื่องของจริยธรรมแล้วก็พยายามลดการใช้กฎหมายทุกคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์วิทยุคงรู้จักมาตรา 37 ของพรบ.กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ก็เป็นมาตราที่ว่าด้วยเนื้อหาที่ต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศจริง ๆ มีอยู่ 4 ข้อซึ่งจริง ๆ แล้วเนี่ยมันต้องตามกฎหมายจริงก็ต้องปรู๊ฟ ว่าเนื้อหาเนี่ยจะก่อให้เกิดผลตาม 4 ข้อนี้อย่างร้ายแรงจริง ๆ แต่ที่ผ่านมาเราจะเจอว่ามัน Over used แล้วกันนะ มันถูก Over used  มาตรา 37 อันนี้ไม่แน่ใจ

เพราะฉะนั้นก็ Ethic ก็จะเป็นสิ่งที่ขอมุ่งเน้น แล้วก็ไม่ใช่มุ่งเน้นในแง่ที่ว่าเอากฎหมายกับไปกำกับจริยธรรมแต่ว่าจะเสริมแรงทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพองค์กรสื่อกับคนในวิชาชีพสื่อเพื่อทำให้ Ethic    เกิดผลจริง  ๆ เพราะ กสทช. ไม่มีทางรู้เท่ากับคนทำงานอยู่แล้ว ว่าเนื้อหากระบวนการออกมายังไงถ้าเกิดเราจะทำให้เกิด ethic เนี่ยมันก็ตรงไหน นั่นตรงช่องว่างเดิม ๆ ที่แบบเป็นลักษณะสั่งการควบคุมเรียก Command  control  regulation ของอดีตเนี่ยควรจะต้องลดลงแล้วก็ทำยังไงให้เป็นลักษณะที่ร่วมมือกันมากขึ้น ยิ่งข้อมูลจากทาง industry จากผู้ประกอบการจากวิชาชีพมากขึ้นเนี่ย กสทช. ก็ทำงานได้ดีขึ้นในการการใช้ Ethic อีกเรื่องหนึ่งคือ

E ที่ 4 -Environment ที่เป็นนิเวศวิทยาของการสื่อสารก็คือเน้นว่าคนอยู่ด้วย Device ก็คือ Media environment หรือว่า Online environment เป็นสิ่งที่แวดล้อมคนมากที่สุด ทีนี้เราจะทำยังไงในส่วนที่เราเกี่ยวข้อง
ที่จะสร้าง environment ตรงนี้เนี่ยให้มันดีที่สุด โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นคนที่เป็น Consumer หลักของ Device เหล่านี้ มี Area หนึ่ง ที่รู้สึกว่า กสทช. ก็อาจจะยังไม่ได้ทำเท่าไหร่หรืออาจจะไม่ได้เห็นละอาจจะทำก็ได้คือเรื่องของ information  ซึ่ง information เนี่ยมันเป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็น Solution เป็นเป็นมลภาวะอย่างสูงใน media
ว่าใน Communication environment ในปัจจุบัน งั้นอันนี้ก็อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราก็ยังคงพยายามที่จะทำงานร่วมกับทั้งองค์กรวิชาชีพแล้วก็นักวิชาชีพว่าจะทำยังไงให้ environment Media หรือว่า Communication environment เนี่ย มันน่าอยู่และยั่งยืนมากขึ้น

         E สุดท้ายคือ Equality นี้ก็บอกตรง ๆ ว่าในอดีตที่ผ่านมามันอาจจะมีความไม่เท่าเทียมในแง่ของความสัมพันธ์เท่าไหร่ระหว่างองค์กรกำกับดูแลกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะเป็นวงวิชาชีพ อุตสาหกรรมหรืออะไรต่าง ๆ ก็เราควรจะทำงานในระนาบที่เป็นเพื่อนกัน พูดง่าย ๆ แล้วก็เลยอยากให้เกิด Equality ตรงนี้นิดนึงแล้วก็อยาก จริง ๆ ก็พูดลำบากนะคือเดี๋ยวก็ทำงานกันไปแล้วก็เจอกันแล้วก็เรียนรู้ซึ่งกันและกันแต่ว่าไม่อยากจะ Overcame อยากให้มันเป็นภาพที่เป็นอยู่ระนาบเดียวกันทำงานด้วยกันเพราะจริง ๆ ก็เป้าหมายแล้วไม่น่าจะต่างกันนะแล้วก็คือต้องการสร้าง Environment ที่ดีนั้นก็คือขอให้มีการทำงานในแง่ Partnership อันนึงแล้วก็อีกอันก็คือว่าการในแง่ของสื่ออาจจะมาจากพื้นฐานที่เป็นนักวิจัยด้วยก็คือว่ารู้สึกว่าเรา Representation เรื่องของการเป็นตัวแทน หรือการเป็นตัวแทนของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเนี่ย เราอยากจะให้สื่อให้พื้นที่กับคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ก็จะมีแน่นอนมีความไม่เท่าเทียมอยู่ในทุกมิติแต่เป็นมิติทางด้านกายภาพ ความพิการหรือเรื่องของ Gender เรื่องของเพศสภาวะ หรือ ว่าเรื่องของชนกลุ่มน้อยหรืออะไรต่าง ๆ มีเยอะมากนะแล้วก็หรือแม้แต่เรื่องของทั้งทางการเมือง ก็เหมือนกันนั่นก็เป็นจุดที่แบ่งนั้นก็คือว่าอยากจะให้สื่อเนี่ยทำงานร่วมกันแล้วก็มี Eco Representation for all ก็เป็น 5 E ที่คิดไว้นะอาจจะไม่ครบทั้งหมดก็อยากพอนำเสนอเพื่อเริ่มต้น Equality

นอกจากนี้ “ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์  ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ บนเวที “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ Metaverse”  ว่า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เป็นส่วนสำคัญในการทำงานด้านสื่อในทุกแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะการทำงานของสื่อโทรทัศน์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการของสื่อโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อหลัก ปรับตัวได้อย่างดีมาตลอด โดยเฉพาะการนำเนื้อหาลงสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงผู้รับสารในทุกกลุ่ม

ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Metaverse โลกเสมือนจริง เหนือจักรวาล ตามความหมายของเทคโนโลยีนี้ กสทช.พร้อมรับมือและให้การสนับสนุนได้หลายส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ รวมถึงด้านโทรคมนาคม ในแง่การกำกับดูแล มองว่า อะไรที่เกินความจำเป็น ก็สามารถลดต้นทุนให้เข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น ส่วนเรื่องคอนเท้นท์หรือเนื้อหา  ก็จะสนับสนุนไม่ให้ถูกมองว่า คอนเท้นท์กระจุกอยู่ในสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง ไม่ใช่แค่ ซีรีส์ หนัง ละคร หรือข่าว ทำให้เป็นในลักษณะข้ามแพลตฟอร์มได้  สื่อทีวี ปรับตัวมาเยอะและเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้น คือ ไม่ควรมองข้ามเรื่องความถูกต้องของเนื้อหาภายใต้จริยธรรม ซึ่งกังวลว่า หาก สื่ออยู่ในโลก Metaverse ซึ่งไม่มีพรมแดนที่ชัดเจนในคำว่าดิจิทัลออนไลน์ ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ เพราะบางทีคนในสังคมออนไลน์อาจจะป้อนข้อมูลที่บิดเบือน หรือ Fake News จึงต้องอาศัย สื่อทีวี เป็นเสาหลักในการตรวจสอบเพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของสื่อเอง

 

ปิดท้ายเวทีเสวนาฯ ด้วย เจาะลึกนวัตกรรมเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม คอนเทนต์ รายได้และความน่าเชื่อถือ ในอุตสาหกรรมสื่อ โดย ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจาก AIS TURE และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน

AIS : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม
เอไอเอส  / นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน : ดร. สิขเรศ ศิรากานต์ /TRUE: บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายอรรถพล สินฉลอง กรรมการผู้จัดการ  กลุ่มธุรกิจ ทรู เวอร์ชวล เวิลด์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด

เนื้อหาสาระเรื่องเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยสรุปคือ ผู้ให้บริการเครือข่าย เตรียมความพร้อม มีความพร้อมในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างไร ในมุมของสื่อสารมวลชน ผู้ผลิต
คอนเทนต์  ควรศึกษาแพลตฟอร์ม พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งสำคัญคือ จินตนาการในอุตสาหกรรมสื่อ DATA จากผู้ให้บริการนำมาใช้ในการสร้างคอนเทนต์และวางแพลตฟอร์ม  การทำดาต้าเพื่อธุรกิจ ทำ Service ให้กับองค์กร Blochian Core Immersive +เทคโนโลยี+AI /Storytelling

“สื่อ+คอนเทนต์+เทคโนโลยี สื่อต้องรู้ว่า คอนเทนต์ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอย่างไร? ถ้าคอนเทนต์ดี แพลตฟอร์มไหนก็รอด ในยุคที่ใครๆ ก็เป็น Content Creator , Content Provider และถึงแม้ว่าเทคโนโลยี
จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากแค่ไหนภาคอุตสาหกรรมสื่อจะทำอะไร แต่  Mindset กระบวนการทางความคิด ยังคงสำคัญที่สุด”การสร้างความรับรู้การเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีต้องไม่ใช่การ Educate แต่ “เทคโนโลยีที่ดีต้องเป็นเทคโนโลยีที่คนใช้โดยไม่รู้ตัว”

 

ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนเวทีเสวนา “โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE”

 

 

 

 

 

 

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารข่าวเวทีเสวนา“โลกเปลี่ยน สื่อต้องปรับ รับมือ METAVESE” 30 เมษายน 2565

 

 

 

 

 

 

 

แท็ก คำค้นหา