เปิดรับสมัคร !!! อบรม“หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ”

อบรม“หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ”

โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ

โดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

เนื้อหาหลักสูตรหลักประกอบด้วย 5S 2E และ 1C กล่าวคือ 5S ประกอบด้วย การสืบค้น (Search) การคัดเลือก (Select) การการเล่าเรื่อง (Storytelling) กลยุทธ์ (Strategy) และการขาย (Selling) 2E คือ จริยธรรมใหม่และความเห็นอกเห็นใจ (New Ethics and Empathy) 1C คือ บริบท (Context)

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์     เปิดรับสมัครนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อ  ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อ  นักข่าว นักวารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน ผู้ผลิตสื่อ นักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน และผู้รับทุนจากกองทุนสื่อฯ

รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตรหลักประกอบด้วย 5S 2E และ 1C กล่าวคือ 5S ประกอบด้วย การสืบค้น (Search) การคัดเลือก (Select) การการเล่าเรื่อง (Storytelling) กลยุทธ์ (Strategy) และการขาย (Selling) 2E คือ จริยธรรมใหม่และความเห็นอกเห็นใจ (New Ethics and Empathy) 1C คือ บริบท (Context)

7 บทเรียน บทเรียนละ 2 ชั่วโมง (120 นาที) อบรมวันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 เดือนพฤศจิกายน 2564 เวลา 9:30 – 18:30 น. ผ่านทาง Application ZOOM   และออนไซต์บางส่วนตามประกาศ ศบค.

 กำหนดการ

อบรม“หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ”
โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ
โดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.30 -18.30  น.

และวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.30 -18.30  น.

———————————————————————————————————-

ตารางอบรม วันเสาร์ที่ 13  เดือนพฤศจิกายน 2564 เวลา 9:30 – 18:30 น.

9.30 -11.30 น.  หัวข้อที่ 1 จริยธรรมใหม่ ความรู้สึกร่วม และความรับผิดชอบต่อสังคม (New Ethics, Empathy and Social Responsibility)                                                  

วิทยากรประจำหัวข้อ    คุณพิภพ  พานิชภักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ

                                       ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการด้านสื่อ

รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้  – ทบทวนแนวคิดจริยธรรมสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคมของทั้งสื่อดั้งเดิม และสื่อใหม่ที่แตกต่างกัน

– แนวคิดเกี่ยวกับความรู้สึกร่วม (Empathy) ในฐานะจริยธรรมและคุณค่าใหม่ใน การสร้างสรรค์สื่อ

– ความท้าทายทางจริยธรรมในการผลิตสื่อท่ามกลางโจทย์เรื่องการอยู่รอดของสื่อ  ทำอย่างไรให้เนื้อหาสื่อทำหน้าที่ได้ทั้งการบริการสาธารณะ (serve) และขาย (sell) หรือเป็นที่ต้องการได้ในขณะเดียวกัน “Ethics มีคำว่า new เกิดขึ้น ethics เดิมที่พูดกันอยู่มันต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือไม่เพราะว่ามันมีคำว่า marketing มีselling เข้ามา ethics มันจะต้องเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งในต่างประเทศเขาพูดกันแล้วโดยเฉพาะสำนักข่าวออนไลน์เขาพูดกันเลยว่า ethics หลายๆ ที่พูดกันอยู่ในทุกวันนี้มันก็ทำไม่ได้แล้ว มันไม่ได้ถูกจริงตามบริบทของสังคมวันนี้แล้ว รวมทั้งจะว่าด้วยเรื่อง empathy และ responsibility”

12.30-14.30 น. หัวข้อที่ 2 การตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact Checking) 

วิทยากรประจำหัวข้อ      ผศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม    หัวหน้ากลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์
และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

                                          คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ผลิตรายการชัวร์ก่อนแชร์ MCOT HD 30

รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้ – ความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความคิดเห็น (Opinion) ข้อเท็จจริง (Fact) ความจริง (Truth) มโนทัศน์ภววิสัย หรือความเป็นกลาง (Objectivity  ในงานวารสารศาสตร์ และเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความจริง (Fact-Checking Tools) ระหว่างที่ค้นหาข้อมูล (search)

 

14.30-16.30 น. หัวข้อที่ 3 ข้อมูล (Data)                                                            

วิทยากรประจำหัวข้อ      ผศ.ดร.จารุวัส หนูทอง อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
มหาวิทยาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  

                                         คุณนันทสิทธิ์  นิตย์เมธา ผช.ผอ.ส่วนงานกลยุทธ์ธุรกิจสื่อใหม่ PPTV
และอุปนายก สมาคมผู้ผลิตสื่ออนไลน์

รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้ – ความเข้าใจเกี่ยวกับวารสารศาสตร์ข้อมูล (Data Journalism) ที่ครอบคลุมประเด็นการสืบค้นข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) และการเล่าเรื่องด้วยข้อมูล (Data Storytelling) ทำความรู้จักกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสืบค้น จัดการ วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเป็นภาพ

16.30-18.30 น.   หัวข้อที่ 4 บริบท (context)

วิทยากรประจำหัวข้อ      คุณธนานุช  สงวนศักดิ์ ผู้สื่อข่าวอิสระ

                                         ดร.เจษฎา  ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกร-ผู้ประกาศข่าว

รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้ – การไหวรู้ต่อเพศสภาพ (Gender Sensitivity) การรายงานข่าวอย่างทั่วถึง (Inclusive Reporting) การรายงานข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง (Conflict Sensitive Reporting) พลเมืองโลก (Global Citizen) การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ (Environmental and  Climate Change)

 

ตารางอบรม วันอาทิตย์ที่ 14  เดือนพฤศจิกายน 2564 เวลา 9:30 – 18:30 น.

9.30 -11.30 น. หัวข้อที่ 5 การเล่าเรื่อง (Storytelling)
วิทยากรประจำหัวข้อ      ดร.ปรัชญา เปี่ยมการุณ อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
มหาวิทยาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้ – หลักการ ประเภท และวิธีการในการเล่าเรื่อง

– การเล่าเรื่องข้ามสื่อ กลยุทธ์แพลตฟอร์ม (Platform Strategy) มาช่วยในการออกแบบวิธีการเล่าเรื่อง เล่าเรื่องอย่างไรให้สามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมบนแพลตฟอร์มแต่ละประเภท

– การเล่าเรื่องรูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล อาทิ การเล่าเรื่องผ่านพิกัด (Location- based Storytelling) การเล่าเรื่องเสมือนจริง (Virtual Reality Storytelling) ผ่านวิดีโอแบบ 360 องศา

 

12.30-14.30 น. หัวข้อที่ 6 ผู้ชม (Audience)

วิทยากรประจำหัวข้อ      ผศ.ดร. นิษฐา  หรุ่นเกษม อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร  

                                          ผศ.ดร.สกุลศรี  ศรีสารคาม หัวหน้าสาขาวารสารคอนเวอร์เจ้นท์และสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์
คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้  – แนวคิดเกี่ยวกับการทำยุทธศาสตร์การออกแบบเนื้อหา (Content Strategy) เครื่องมือในการติดตาม (Monitor) วิเคราะห์ (Analyses) และสร้างการมีส่วนร่วม (engage) กับผู้ชม และการศึกษากลุ่มผู้ชมตัวแทนผู้บริโภค (Persona)

14.30-16.30 น.  หัวข้อที่ 7 กลยุทธ์และการขาย (Strategy and Selling)                                  

วิทยากรประจำหัวข้อ      ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม หัวหน้าสาขาวารสารคอนเวอร์เจ้นท์และสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์
คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
คุณพีระวัฒน์ โชติธรรมโม   นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

รายละเอียดหัวข้อการเรียนรู้  – แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างกลยุทธ์การออกแบบเนื้อหา (Content Strategy)

– การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์แพลตฟอร์ม (Platform Strategy) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายทั้งในลักษณะออนแอร์ (on-air) ออนไลน์ (online) และออฟไลน์ (offline)

– เรียนรู้เกี่ยวกับการทำ SEO (Search Engine Optimization) และ SEM (Search Engine Marketing)

– แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์องค์กร ที่ครอบคลุมประเด็นนิเวศสื่อและแนวโน้ม

– แนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) ที่ครอบคลุมเรื่องการขาย (Selling) การตลาด (Marketing) รายได้ของธุรกิจ (Business Revenue) และการสร้างแบรนด์ (Branding)

 

16.30-18.30 น. เปิดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนซักถามระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร

18.30 น.          จบการ อบรม“หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ”       

โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ                                             

โดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

  • สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 5 พฤศจิกายน 2564qrcode_3288748_ (1)

         สมัครได้ที่ QR Code 

 

                   

 

หรือสมัครผ่านLink ด้านล่างนี้ 

https://forms.gle/oEkQfEi6a4fLFgB76

 

 

***หมายเหตุ***

7 บทเรียน บทเรียนละ 2 ชั่วโมง (120 นาที)  ผ่านทาง Application ZOOM และ On Site บางส่วนตามประกาศ ศบค.

ผู้เข้าอบรมจะได้รับหนังสือ “คู่มือทักษะนักข่าวในยุคดิจิทัล Journalists’ Survival Guide in Digital Age” และ ประกาศนียบัตรจาก หลังจบการอบรมจากสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

*ขอสงวนสิทธิ์มอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่เข้าอบรมครบทั้ง 2 วันเท่านั้น

 

13-14 พย 2564 กำหนดการอบรม“หลักสูตรโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ”

อบรบ A4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แท็ก คำค้นหา