ด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้รับทุน จากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อดำเนิน โครงการฝึกอบรมการผลิต “Professional Freelance Journalism for Television (PFJT)” (ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ) จำนวน 20 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเพิ่มทักษะด้วยโครงการ ฝึกอบรมการผลิต “Professional Freelance Journalism for Television (PFJT)” (ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ) ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อโทรทัศน์ และผู้ที่เคยประกอบวิชาชีพด้านสื่อโทรทัศน์ และได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างจากสถานีโทรทัศน์และการปิดตัวลงของสถานีโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรในสถานีโทรทัศน์ วิธีการและกระบวนการผลิตในการนำเสนอเนื้อหาข่าวสาระหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะในรูปแบและสไตล์ใหม่คือ ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับชม และผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรฯ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการทำให้ข่าวโทรทัศน์ หรือ คลิปวิดีโอ รวมทั้ง การ Live Streaming ผ่านสื่อโซเซียล ที่นำเสนอออกมานั้น มีคุณภาพมาตรฐานทางวิชาชีพ
สำหรับผู้รับทุนโครงการฝึกอบรมการผลิต “Professional Freelance Journalism for Television (PFJT)” (ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ) จะได้รับสิทธิ์การยกเว้นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 4 วัน 3 คืน รุ่นที่ 1 ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 ณ โรงแรม Vic3 Bangkok (สนามเป้า)
ในการนี้ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงเรียนเชิญมายังองค์กรของท่านร่วมส่งผู้สื่อข่าว ช่างภาพ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกองบรรณาธิการข่าว จำนวน 1-2 คน เพื่อสมัครเข้ารับทุนโครงการฝึกอบรมการผลิต “Professional Freelance Journalism for Television (PFJT)” (ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ) โดยส่งใบสมัครพร้อมด้วยหลักฐานมายัง สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ภายในวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 เพื่อคณะกรรมการ โครงการฝึกอบรมการผลิต “Professional Freelance Journalism for Television (PFJT)” (ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ) ได้พิจารณาคัดเลือกและประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนโครงการฯ ภายในวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564*
กำหนดการ
“โครงการฝึกอบรมการผลิต Professional Freelance Journalism for Television (PFJT) ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์อิสระแบบมืออาชีพ
วิทยากรวันที่ 1-3 : Nick McGrath
Professional Freelance Journalism Experience / Founder & Educator – Bangkok Photography Workshops
ตารางอบรมวันที่ 1 ช่วงเช้า : 09.00-12.00
DAY 1 Morning – Introduction to Workshop Multimedia Examples Discuss work flow for creating Multimedia Basic Audio and Camera Techniques. Discuss each pre-prepared story idea .
Possible content to be included: – Different format for social media multiplatform – The use of Narrative, Subtitle, Caption for digital video
|
ตอนเช้า – บทนำเข้าสู่การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยน(อภิปราย)ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานสำหรับการสร้างสรรค์สื่อมัลติมีเดียแบบพื้นฐานเกี่ยวกับเสียงและเทคนิคภาพ การอภิปรายจะทำให้ตั้งต้นเริ่มแนวคิดเรื่องราวได้
เนื้อหาประกอบด้วย(หากเป็นไปได้): – รูปแบบ ลักษณะและความแตกต่างของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ – การใช้การบรรยาย คำบรรยาย คำจำกัดความ(คำอธิบาย) สำหรับวิดีโอดิจิทัล |
ตารางอบรมวันที่ 1 ช่วงบ่าย : 13.30-21.00
Afternoon – Student Field Work Possible content to be included: – Include practical practice on camera shooting – How to conduct different styles of interview: frontal for digital , tv style – How to shoot hand-held effectively |
ภาคบ่าย – ปฏิบัติภาคสนาม เนื้อหาประกอบด้วย(หากเป็นไปได้): – ฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพ – วิธีนำเข้าสู่เรื่องราวรูปแบบต่าง ๆ: การเปิดหน้าสไตล์ดิจิทัลทีวี – วิธีการถ่ายภาพด้วยมืออย่างมีประสิทธิภาพ |
ตารางอบรมวันที่ 2 ช่วงเช้า : 09.00-12.00
DAY 2 Morning – Check student progress – work on any issues and basic problem solving | วันที่ 2 ตอนเช้า – ทบทวนความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมในประเด็นต่าง ๆ และการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน |
ตารางอบรมวันที่ 2 ช่วงบ่าย : 13.30-21.00
Afternoon- Student Field Work Editing Possible content to be included: – How to approach strangers – Research for engaging video content
|
ช่วงบ่าย – การแก้ไขงานภาคสนามของนักเรียน เนื้อหาประกอบด้วย(หากเป็นไปได้): – วิธีเข้าหาแหล่งข้อมูลบุคคลที่ไม่รู้จักหรือคนแปลกหน้า – ค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้วิดีโอน่าสนใจมาประกอบ |
ตารางอบรมวันที่ 3 ช่วงเช้า : 09.00-12.00
DAY 3 Morning- Finalizing the editing of Multi- Media Project Afternoon- Viewing and Presentation of Multi- Media Project Because of the time constraints, we have decided on 3 possible formats for finalized multi-media projects for consideration. 1. 30 sec video – subtitle text narrative, no voice over. Use stylized text for branding and stylized transitions, camera techniques. 2. On Air style. Television 3. Documentary style include subject interview, B roll and audio. |
วันที่ 3 ตอนเช้า – ตรวจสอบแก้ไขชิ้นงานมัลติมีเดีย /ภาคบ่าย – นำเสนอผลงาน
เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา เราจึงตัดสินใจเลือกรูปแบบ 3 แบบที่เป็นไปได้สำหรับโครงการฯ เพื่อให้พิจารณา ได้แก่ 1. รูปแบบวิดีโอ 30 วินาที – การบรรยายด้วยข้อความ ไม่มีลงเสียงบรรยาย ใช้เทคนิคสร้างข้อความอย่างสร้างสรรค์ การเปลี่ยนเชื่อมต่อภาพ และเทคนิคการถ่ายภาพและมุมกล้อง 2. รูปแบบสำหรับการออกอากาศ 3. รูปแบบสารคดี ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบ B-roll และรูปแบบสารคดีเสียง |
ตารางอบรมวันที่ 3 ช่วงบ่าย : 13.30-21.00
Afternoon- Presentation | ภาคบ่าย – นำเสนอผลงานจบเข้าสู่ กระบวนการอภิปรายเพื่อปรับปรุงและปรับเปลี่ยนตามผลงานที่ทำเสร็จแล้ว และวิธีที่จะปรับปรุงชุดทักษะเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในเส้นทางอาชีพของผู้เข้าร่วมแต่ละคนต่อไป |
วิทยากรวันที่ 4 : 1. ดร.ปรัชญา เปี่ยมการุณ อาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ Instructor / Mentor : ที่ คิด I เล่า I ถ่าย I ตัด : เคลียร์ชัดๆ เรื่อง Video Content
2.ผศ.ดร.จารุวัฒน์ หนูทอง อาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ DaVinci Resolve Certified Trainer at Blackmagic Design
ตารางอบรมวันที่ 4 : 09.00-21.00
All Day – Smart News Smart Multi-platform |
Smart News…Smart multi-Skill – Storytelling / Content creator (ทักษะโปรดักชั่นแบบมืออาชีพ multi-platform) |
ดาวน์โหลดเอกสาร
หรือสมัครได้ทางออนไลน์ แสกนQR Code