สมาคมฯ ขอขอบคุณวิทยากร ผู้เข้าอบรม และผู้สนับสนุน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวโทรทัศน์ด้านการสืบสวน (Investigative TV Journalists Training) สำเร็จด้วยดี
เมื่อวันที่ 17-19 ส.ค. 61 สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้รับการจัดสรรเงินจาก สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อดำเนิน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวโทรทัศน์ ด้านการสืบสวน (Investigative TV Journalists Training) ให้กับ ผู้สื่อข่าวและช่างภาพข่าวโทรทัศน์ จากสถานีโทรทัศน์ต่างๆ รวมถึงสำนักข่าวออนไลน์จำนวน 20 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักข่าว ช่างภาพข่าวโทรทัศน์และผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้นำทักษะ เทคนิค ความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการฝึกอบรมการทำข่าวเชิงสืบสวน ไปใช้ประโยชน์ในการทำข่าว เพราะวิธีการทำข่าวเชิงสืบสวน สามารถนำไปใช้กับการทำข่าวทุกๆ ประเภทได้ด้วย รวมทั้งส่งเสริม จริยธรรมในวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการทำให้ข่าวโทรทัศน์ หรือ คลิปวิดีโอ รวมทั้ง การ Live Streaming ผ่านสื่อโซเซียล ที่นำเสนอออกมานั้น มีมาตรฐานทางวิชาชีพ
สำหรับรายชื่อวิทยากรใน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวโทรทัศน์ด้านการสืบสวน (Investigative TV Journalists Training) ประกอบด้วย จริยธรรมในการทำข่าวและการนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยฯ โดย นายเทพชัย หย่อง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อ และนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ประสบการณ์การทำข่าวเชิงสืบสวน โดยนายสุรชา บุญเปี่ยม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านข่าวเชิงสืบสวน
การทำข่าวและถ่ายภาพข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดย นายอลงกรณ์ เหมือนดาว บรรณาธิการรายการข่าว 3 มิติ และ ช่างภาพ นายณิฐิกรณ์ ศุภักศิณบุญภัณฑ์ จากรายการข่าว 3 มิติ
การถ่ายภาพและการใช้อุปกรณ์เครื่องมือดิจิตอล ในการทำข่าวสืบสวน โดย นายพิภพ พานิชภักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อและ รอง ผอ.สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศในสื่อออนไลน์เพื่องานข่าวสืบสวน โดย ดร. จารุภา พานิชภักดิ์ นักวิชาการ
เทคนิคการทำข่าวโทรทัศน์เชิงสืบสวน โดย นางสาวธนานุช สงวนศักดิ์ นักวิชาการนักวิชาชีพด้านสื่อโทรทัศน์
ทิศทางข่าวสืบสวนในอนาคตในมุมมองผู้บริหารองค์กรสื่อ โดย นายพีระวัฒน์ โชติธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ สายงานผลิตเนื้อหาและรายการข่าว สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
เนื้อหาสรุปโดยรวมจากการถ่ายทอดของวิทยากรในการการอบรมฯ คือ
“ข่าว คือ ข้อเท็จจริง หรือเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ในทุกสถานที่ที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ ข่าวสืบสวนกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ซึ่งมีข้อจำกัดมากมาย ทั้งนโยบายของแต่ละสถานี ตัวผู้ทำข่าวเอง ซึ่งต้องมีคุณสมบัติพิเศษกว่าทำข่าวปกติทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องอุดมการณ์ จิตวิญญาณ สู่แนวทางเพื่อการปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมเป็นสำคัญ (นักข่าวสืบสวน ต้องไม่ใช่นักประชาสัมพันธ์) และต้องมีระยะความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความสมดุลในบทบาทการทำหน้าที่สื่อซึ่งสะท้อน คำว่า อิสระและเสรีภาพสื่ออย่างแท้จริง “
สำหรับประเทศไทย ข่าวเจาะเชิงลึก หรือข่าวสืบสวนสอบสวน เริ่มได้รับความสนใจจากประชาชน และสื่อมวลชนเองเริ่มเห็นความสำคัญ ซึ่งมีการทำข่าวในลักษณะนี้อย่างจริงจัง เมื่อปี 2539 หลังการเสียชีวิตของคุณแสงชัย สุนทรวัฒน์ (อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.) ในสมัยนั้น
หลักการสำคัญของข่าวสืบสวนสอบสวน
1.เพื่อปกป้องรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน และความเป็นธรรมของสังคม
2.ต้องมีคุณค่าต่อประชาชน สังคม ประเทศ และมวลมนุษยชาติ
3.มีทางออกที่ดีกว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะ
เทคนิควิธีการเบื้องต้นก่อนการทำข่าวสืบสวนสอบสวน
1.ตรวจสอบ-ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
2.ประชุมการวางแผน-ขั้นตอนปฏิบัติก่อนลงพื้นที่ (ร่วมกับทีมงาน) เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลอย่างรอบด้านมากที่สุด
3.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการทำงานภาคสนามให้พร้อม
เทคนิควิธีการสืบค้นข้อมูลรูปแบบใหม่ (เชิงลึก)
1.นักข่าวที่ดีต้องรู้วิธีการทำวิจัยเอกสาร (เป็นหัวใจของการหาข้อมูล)
2.การเตรียมข้อมูลอย่างเป็นระบบ
แหล่งและลักษณะข้อมูลที่ต้องค้นหา
1.ข้อมูล ปฐมภูมิ
2.ข้อมูล ทุติยภูมิ
3.การตรวจความสัมพันธ์ของข้อมูล
หลักการสัมภาษณ์บุคคล ข่าวสืบสวนสอบสวน
หลักการใช้คำถามการทำข่าวสืบสวนสอบสวน
เหลักการสำคัญการทำข่าวสืบสวน
เทคนิคทักษะการทำข่าวสืบสวน
หัวใจของข่าวสืบสวน
คุณลักษณะเบื้องต้นของผู้ทำข่าวสืบสวน
ความท้าทายของการทำข่าวเชิงสืบสวน
องค์ประกอบของการทำข่าวสืบสวน
เทคนิคการถ่ายภาพ-ขั้นตอนการผลิตสารคดีเชิงข่าว และการใช้เครื่องมือดิจิตอล
รูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจ
คุณลักษณะของภาพที่ดี น่าสนใจและชวนติดตาม
การให้ความสำคัญกับการเล่าเรื่อง