ผลการตัดสินรางวัลข่าว-สารคดีวิทยุและโทรทัศน์ รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ #21 ประจำปี 2560

pic-sangchai2018

ผลการตัดสินรางวัลข่าว-สารคดีวิทยุและโทรทัศน์ รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ #21 ประจำปี 2560  ไทยรัฐทีวี และช่อง 7   คว้ารางวัลยอดเยี่ยมประเภทข่าวเหตุการณ์ /ไทยบีเอสได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสารคดีเชิงข่าว และสปริงนิวส์กวาด 3 รางวัลชมเชยไปครอง / ด้านข่าวโทรทัศน์เชิงสืบสวนผลงานดีสุดแค่ชมเชยร่วม 2 สถานีคือ ช่อง 3 และ ไทยพีบีเอส   /ในส่วนรางวัลประเภทวิทยุ สถานีวิทยุ อสมท  จ.ชัยภูมิ  รับรางวัลยอดเยี่ยมรายการวิทยุสร้างสรรค์สังคม และ สถานีวิทยุ FM 96.5 ได้รับรางวัลชมเชยประเภทรายการข่าววิทยุ         ส่วนข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่นทำได้ดีแค่ชมเชย จาก ปราการเคเบิ้ลทีวี
(15 มิ.ย. 2561 ) พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธาน ในงานประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลการประกวดข่าว-สารคดีวิทยุและโทรทัศน์ รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ครั้งที่ 21 ประจำปี พ.ศ. 2560 ซึ่งจัดโดยมูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์ และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย. 2561

รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ครั้งที่ 21 ประจำปี      พ.ศ. 2560  มีผลงานเข้าประกวด ทั้งหมด มีผลงานส่งเข้าประกวด 3 ประเภท จำนวน 102 เรื่อง แบ่งเป็นแต่ละประเภทดังนี้

-รางวัลข่าววิทยุยอดเยี่ยม และ รางวัลรายการวิทยุสร้างสรรค์สังคมยอดเยี่ยม มีผลงานส่งเข้าประกวด           16 รายการ จาก 10 สถานี

-รางวัลข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่นดีเด่น  มีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวน 9 เรื่อง จาก 6 สถานี

-รางวัลข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม 3 ประเภท ผลงานส่งเข้าประกวดจำนวน 96 ข่าว จาก 14 สถานี คือ

  1. รางวัลข่าวโทรทัศน์เชิงสืบสวนยอดเยี่ยม จำนวน 29 ข่าว
  2. รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม

–  สารคดีเชิงข่าวประเภทรายการ จำนวน  17 ข่าว

–  สารคดีเชิงข่าวประเภทข่าว   จำนวน   22 ข่าว

  1. รางวัลข่าวเหตุการณ์โทรทัศน์ยอดเยี่ยม

– ข่าวเหตุการณ์ ประเภทรายงานสด จำนวน 12 ข่าว

– ข่าวเหตุการณ์ ประเภทข่าวเหตุการณ์  จำนวน 16 ข่าว

โดยในแต่ละประเภทรางวัลมีผลการตัดสินมีดังนี้
ประเภทข่าวโทรทัศน์

1.รางวัลข่าวโทรทัศน์เชิงสืบสวน ไม่มีผลงานเรื่องใดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม

รางวัลชมเชย  ได้แก่  “ทวงคืนทับหลัง”  จาก  สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง HD 33)  และ “รุกอ่าวบ้านดอน  

ผลประโยชน์หมื่นล้าน”  จาก  สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส   ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท

2.รางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม      

– ประเภทรายการ รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ “เปิดปม มานิ(ซาไก) ไร้รัฐ”  จาก  สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท

รางวัลชมเชย ได้แก่  “ส่วยแรงงานต่างด้าว”  และ “ระเบิดแก่งคอนผีหลง กระทบวิถีริมโขง”  จาก  สถานีโทรทัศน์

สปริงนิวส์  ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

– ประเภทสกู๊ปข่าว

รางวัลยอดเยี่ยม  ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลชมเชย ได้แก่  “ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง”  จาก  สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์  ได้รับโล่

เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

3.รางวัลข่าวเหตุการณ์โทรทัศน์ยอดเยี่ยม

– ประเภทข่าวรายงานสด รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ “เหตุปะทะเดือดวัดพระธรรมกาย”  จาก  สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐ

ทีวี  ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อม เงินรางวัล 50,000 บาท

รางวัลชมเชย  ได้แก่  “สถานการณ์น้ำท่วมทับสะแก อ่วม น้ำป่าไหลหลาก”  จาก  สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

– ประเภทข่าวเหตุการณ์ รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ “นาทีระทึกจับกุมคนร้ายค้ายาเสพติดกระหน่ำยิงตำรวจ-

ชาวบ้าน”  จาก  สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7  ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท

รางวัลชมเชย  ได้แก่  “นาทีไล่ล่าจับยาบ้า จ.สุพรรณบุรี”  จาก  สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7  ได้รับโล่เกียรติยศ

พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

—————————————————————————–

          ความคิดเห็นโดยรวมของคณะกรรมการตัดสินรางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ประจำปี 2560

ในแต่ละประเภทรางวัล

ความเห็นคณะกรรมการพิจารณาข่าวโทรทัศน์ยอดเยี่ยม

– ปีนี้มีข่าวสืบสวนในแง่วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเข้ามา ซึ่งอยากเห็นในแง่มุมอื่นๆ เพิ่มเติม

– ส่วนใหญ่ข่าวที่ส่งประกวดเป็นข่าวที่มีผลกระทบต่อสาธารณะและสังคม

– บางผลงานมีข้อมูลที่ดี แต่นำเสนอผิดประเด็น ทำให้เสียดายในข้อมูลที่ได้

– บางผลงานการออกเสียงของผู้ดำเนินรายการยังไม่ชัดเจน

– ปีนี้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงเพียงเรื่องเดียว จึงอยากให้มีความหลากหลายในประเด็นมากขึ้นกว่านี้

– ผลงานมีการใส่เพลงลงไปในเรื่องจำนวนมาก ซึ่งควรพิจารณาว่าเหมาะสมกับเรื่องหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะนำเสนอ

หรือไม่

– บางผลงานมีการใช้ภาพวนซ้ำ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าภาพที่เก็บมาไม่เพียงพอ

– ควรให้มีการนำเสนอด้วยข้อมูลต่างๆ มาสนับสนุนประเด็นที่นำเสนอในแต่ละประเด็น เพื่อเพิ่มน้ำหนักของข้อมูลและ

ทำให้ข่าวที่นำเสนอมีความรอบด้าน

– การนำเสนอดี การลำดับเรื่องดีบางผลงานมีข้อมูลจำนวนมาก แต่บางผลงานยังมีข้อมูลในการนำเสนอน้อยเกินไป

– การนำเสนอในแง่ผลประโยชน์ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม รวมถึงตระหนักถึงวิถีชีวิต การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของ

คนในสังคม

– ภาพที่ใช้ในการนำเสนอสวย ภาพสามารถเล่าเรื่องได้หมด

– ข่าวที่นำเสนอบางส่วนเป็นการคลี่ข่าว ไม่มีการเจาะข้อมูลเพิ่มเติม หรือเป็นข่าวตามกระแสสังคม

– การหยิบประเด็นเล็กๆ มานำเสนอ และหาข้อมูลเพื่อหาความเป็นธรรม เป็นการทำหน้าที่ของสื่อ ซึ่งเป็นการใช้ความ

เป็นสื่อในการหาความเที่ยงธรรม

– การถ่ายภาพแล้วปล่อยเสียงการรายงานสด ในขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้น ทำให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงบรรยากาศที่เกิดขึ้นได้ดี

– บางผลงานน้ำเสียงของผู้ดำเนินรายการไม่ชวนฟัง จึงอาจทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่น่าติดตามได้

—————————————–

ความเห็นคณะกรรมการตัดสินข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่น รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ประจำปี 2560

– การนำเสนอควรคำนึงถึงเรื่องการละเมิดสิทธิ ความผิดเรื่องจรรยาบรรณ การให้ข้อมูลมากเกินไปและเป็นข้อมูลที่ละเมิดจริยธรรมนั้นไม่ควรนำเสนอ ควรมองถึงผู้ตกเป็นเหยื่อให้มากกว่านี้

– บางผลงานการนำเสนอมีความเรียบง่าย

– ประเด็นที่นำเสนอเป็นประเด็นเล็ก เป็นการนำเสนอคนในพื้นที่ ดูส่งเสริมชุมชน ซึ่งอาจเป็นประเด็นใหญ่ของชุมชน

– ภาพที่ใช้ในการนำเสนอน้อยไป

– บางผลงานการเล่าเรื่องยังไม่น่าสนใจ และบางผลงานนำเสนอได้ดี ข้อมูลคลอบคลุมและมีความรอบด้าน

– ชื่นชมความตั้งใจที่จะเลือกประเด็นชุมชนมานำเสนอ

– น่าจะมีกราฟฟิกเข้ามาประกอบในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจมากขึ้น

– ควรตรวจสอบเรื่องการสะกดคำในคำบรรยายให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำเสนอ

——————————————–

ความเห็นคณะกรรมการพิจารณารายการข่าววิทยุยอดเยี่ยม

และรายการวิทยุสร้างสรรค์สังคมยอดเยี่ยม

รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ประจำปี 2560

1.ปีนี้รูปแบบของรายการข่าววิทยุที่ส่งเข้าประกวดนั้นมีมีความคล้ายคลึงกันทั้งหมด

2.ควรมีการอ้างอิงที่มาของข้อมูลที่มานำเสนอให้ชัดเจน

3.บางรายการยังมีการใช้ภาษา  การออกเสียง ร ล ควบกล้ำไม่ชัดเจน อยากให้ผู้ดำเนินรายการให้ความสำคัญในเรื่องการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ซึ่งสื่อถือว่าเป็นตัวอย่างให้แก่เด็กและผู้ฟัง

4.อยากเห็นกระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อนกว่าเดิม อย่างเช่น การเพิ่มสกู๊ป หรือบทละครวิทยุ  การมีผู้สื่อข่าวรายงาน แหล่งข่าวที่น้อยลง เริ่มขาดหายไป

5.อยากให้มีรายการใหม่เพิ่มขึ้น มีรูปแบบรายการที่หลากหลายเพิ่มขึ้น

6.การเลือกเรื่องหรือแหล่งข่าวที่เป็นคนธรรมดา ไม่ตามกระแส  แต่มีคุณค่าและเนื้อหาที่น่าสนใจ  ซึ่งเรื่องที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องมาจากข่าวดังหรือข่าวที่มีกระแสเท่านั้น

7.ทัศนคติของผู้ดำเนินรายการ  การมองมุมบวกถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม  ทำให้ผู้ฟังเกิดความหวัง อยากให้มีรายการที่นำเสนอในแง่บวกมากขึ้น

8.ชื่นชมการใช้วิทยุมาเป็นจุดเด่นในการเข้าถึงกลุ้มเป้าหมายย่อยๆ ได้มาก เพื่อให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

9.ผู้ดำเนินรายการมีประสบการณ์แต่ละด้านในการทำข่าว อยากให้คงคุณภาพในเรื่องของเนื้อหา และความลึกของข้อมูล

10.ความสร้างสรรค์สังคม เริ่มมีให้เห็นบ้าง แต่อยากให้มีมากกว่านี้

11.คนรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอมาก แต่ยังขาดเนื้อหาเชิงลึกที่ยังไม่มากพอ

12.ผู้ดำเนินรายการในบางรายการติดภาษาคำว่า นะคะ และบางรายการยังคงใช้คำพูดไม่เหมาะสม และไม่กระชับ

13.การสัมภาษณ์นอกสถานที่ ควรอธิบายรายละเอียดให้ผู้ฟังเห็นภาพและเข้าใจบรรยากาศ

14.เรื่องเสียงที่ผ่านโทรศัพท์ ควรมีความชัดเจนทุกตอน เพราะจะทำให้ไม่น่าฟัง

15.บางรายการทำให้รู้สึกเหมือนอ่านบท  ไม่เหมือนกับจัดรายการ  แต่ละช่วงตัดออกจากกัน  ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

16.การสัมภาษณ์แหล่งข่าวทุกครั้ง ผู้ดำเนินรายการควรแนะนำแหล่งข่าวทุกครั้ง

  1. ชื่นชมความตั้งใจในการผลิตผลงานในรูปแบบละครวิทยุ ซึ่งหายากมาก ใช้ภาษาที่ทำให้เห็นภาพ แต่ควรระวังเรื่องการออกเสียง และเนื้อหาน่าปรับให้น่าสนใจมากกว่านี้

—————————————————–

สำหรับความเป็นมาของ โครงการประกวดข่าว-สารคดีวิทยุและโทรทัศน์ รางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ เริ่มเมื่อปี 2540 มูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์ กำหนดให้มีรางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์ ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงการจากไปของ คุณแสงชัย สุนทรวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นแบบอย่างของคนข่าวโทรทัศน์ และเพื่อพัฒนาการทำงานข่าวโทรทัศน์และเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าของผลงานผู้ชนะการประกวด โดยเฉพาะข่าวสืบสวนสอบสวน
***สำหรับรายละเอียดผลการตัดสินรางวัล และเหตุผลประกอบการพิจารณาตัดสินรางวัลของอนุกรรมการกลั่นกรอง และคณะกรรมการตัดสินรางวัลในแต่ละประเภท ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกท่าน รวมทั้งผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทางเวปไซต์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย www.thaibja.org  และ Facebook สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

………………………………………………………………………..

แท็ก คำค้นหา