โครงการประกวดรางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม
(Investigative TV Journalists Awards)
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เล็งเห็นว่า การจัดประกวดรางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม (Investigative TV Journalists Awards) เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ให้ความสำคัญและสนับสนุนการผลิตข่าวและนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนให้มากขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้สื่อข่าวและช่างภาพรวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวโทรทัศน์ด้วย
โครงการรางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม (Investigative TV Journalists Awards) เป็นอีกหนึ่งรางวัลในวงการ สื่อมวลชนโดยเฉพาะด้านโทรทัศน์ ซึ่งอาจใช้เป็นบททดสอบและบทพิสูจน์ถึงความสามารถในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในทักษะการผลิตข่าวและนำเสนอข่าวโทรทัศน์ด้านการสืบสวนสอบสวนมากขึ้น โดยการสนับสนุนจาก กทปส และ กสทช. เพื่อประกาศเกียรติคุณและตัดสินมอบรางวัลแก่เจ้าของผลงานผู้ชนะการประกวด รางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม (Investigative TV Journalists Awards)
โดยแบ่งประเภทรางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม (Investigative TV Journalists Awards) เป็น 4 ประเภทดังนี้
– รางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวน ประเภทวิถีชุมชนและวัฒนธรรมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่เกียรติยศ
– รางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวน ประเภทสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่เกียรติยศ
– รางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวน ประเภททุจริตคอรัปชัน/กลโกงยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่เกียรติยศ
– รางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวน ประเภททางสังคมยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พร้อมโล่เกียรติยศ
คณะผู้จัดการโครงการประกวดรางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม (Investigative TV Journalists Awards) เห็นสมควรให้มีการจำกัดจำนวนเรื่องในแต่ละประเภทดังนี้
วัตถุประสงค์
ลักษณะของข่าวและสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวด
ข่าวเชิงสืบสวน ได้แก่ ข่าวเปิดโปงสิ่งที่ยังไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน เป็นการกล่าวถึงภาพรวมของเรื่องราวมากกว่าการให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ใดโดยเฉพาะ ไม่ใช่การเสนอข่าวโดยใช้แหล่งข่าว3
เพียงแหล่งเดียวหรือข่าวจากการแถลงข่าวเท่านั้น อีกทั้งต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้า วิจัยในระยะยาวด้วยความทุ่มเททั้งเวลาและความพยายาม และเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า เกิดผลกระทบต่อสังคม นอกจากนี้ ยังควรเป็นข่าวที่ทำขึ้นใหม่โดยเพิ่มเติมความรู้ในสิ่งที่ทราบกันอยู่แล้วเช่น อธิบายปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อน ฯลฯ
ทั้งนี้ ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน จะต้องนำเสนอในรูปแบบของการรายงานข่าวในช่วงเวลาของข่าวโทรทัศน์ทุกประเภท รายการประเภทข่าว ในช่วงเวลาใดก็ได้
สารคดีเชิงข่าว ได้แก่ ข่าวที่ถูกนำเสนอในรูปแบบของสารคดีที่มีความหลากหลายทั้งในด้านกระบวนการผลิต เนื้อหา การสอดแทรกข้อมูลที่บอกถึงภูมิหลังที่มาของเรื่อง ทำให้เห็นแง่มุมต่างๆ ของประเด็นข่าว การใช้ภาษาบรรยาย ภาพและเสียงประกอบได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน โดยนำเสนออย่างสร้างสรรค์
สารคดีเชิงข่าวดังกล่าว จะต้องยึดหลักการเบื้องต้นของการนำเสนอข่าว ได้แก่ องค์ประกอบด้านแหล่งข่าวที่ต้องมีความรอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์หรือเป็นเหตุการณ์ข่าวที่เกิดในอดีต แต่มีผลกระทบถึงภาวะปัจจุบัน ทั้งนี้ สารคดีเชิงข่าวจะปรากฏในรายการใดก็ได้ แต่สาระในสารคดีเชิงข่าวชิ้นนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริง มิใช่เหตุการณ์สมมติที่มีการสร้างขึ้น
การดำเนินการส่งเข้าประกวด***
โดยผู้จัดส่งข่าวเข้าประกวดแต่ละท่านและแต่ละสถานี กรุณาดำเนินการดังนี้
3.1 ทำจดหมายนำส่งข่าวที่เข้าประกวด ว่ามีจำนวนกี่เรื่อง ส่งเข้าประกวดในประเภทใด พร้อมเบอร์ติดต่อผู้ประสานงาน และผู้บริหารสถานีหรือบรรณาธิการข่าวเซ็นรับรอง
3.2 จัดทำไฟล์ pdf รายละเอียดต่างๆ ของข่าวแต่ละข่าวที่ส่งเข้าประกวด ดังนี้
– ชื่อเรื่อง ชื่อผู้จัดทำ เบอร์ติดต่อ – ข่าวชิ้นนี้มีคุณค่าต่อสังคมอย่างไรบ้าง
– บทคัดย่อสรุปเรื่องราว – วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว
– วัตถุประสงค์ที่จัดทำข่าวชิ้นนี้ – วัน เวลา และสถานีที่ออกอากาศ
– ความยากลำบากหรือวิธีการที่ใช้ในการจัดทำข่าว
3.3 จัดทำไฟล์ pdf บทของข่าว (Script)
3.4 จัดทำชิ้นผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นสกุลไฟล์ .mpeg4 เท่านั้น เพื่อความสะดวกต่อการเปิดไฟล์ดูผลงานที่ส่งเข้าประกวดของคณะกรรมการตัดสินรางวัล
3.5 จัดส่งเป็น harddisk หรือ thumbdrive จำนวน 1 ชุด / ต่อเรื่อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– ไฟล์ pdf รายละเอียดต่างๆ ของข่าวแต่ละข่าวที่ส่งเข้าประกวด (ตามข้อ 3.2 และ ข้อ 3.3)
– ไฟล์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด เป็นสกุลไฟล์ .mpeg4 (ตามข้อ 3.4)
หลักเกณฑ์ในการตัดสิน
โครงการประกวดรางวัลข่าวโทรทัศน์สืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม (Investigative TV Journalists Awards) พิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ของข่าวและสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวด ดังต่อไปนี้
1.1 ความมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน
– สร้างสรรค์สังคม โดยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคมไทย
– ให้แง่คิด เตือนใจ เตือนภัย ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง
1.2 รักษาสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมในสังคมไทย
– ทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่เฝ้าคอยระแวดระวังในการรักษา สิทธิและเสรีภาพของประชาชน
– ปกป้องมิให้เกิดความอยุติธรรมขึ้นในสังคมไทย
1.3 ความมีจริยธรรมในการเสนอข่าว
– มีความรับผิดชอบ
– มีความสุภาพ ซื่อสัตย์
– ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์
2.1 ความสมบูรณ์ของข่าว
– เนื้อหาสาระของข่าวมีความสมบูรณ์ และมีความต่อเนื่อง
– การสื่อความหมายด้วยภาพได้ดี
– ความสอดคล้องของสาระและภาพข่าว
2.2 ความถูกต้องของข่าว
– ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
– ไม่มีการบิดเบือนข่าว
2.3 ความสมดุลและเที่ยงธรรม
– ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่ตกเป็นข่าว
2.4 ความทันสมัยของข่าว
– มีความฉับไวทันต่อเหตุการณ์
การส่งผลงานประกวด
ผู้ที่สนใจโปรดส่งข่าวโทรทัศน์เข้าร่วมการประกวดได้ที่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ตรงข้าม โรงพยาบาลวชิระ) เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม. 10300
โทร. 0-2243-8479 / 08-6522-4288 ปิดรับผลงานภายใน วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2559 เวลา 18.00 น.