ผลการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าววิทยุโทรทัศน์ สายฟ้าน้อยครั้งที่ 11 มีผลงานได้รับรางวัลดีเด่น 4 เรื่อง 4 ประเภท 3 สถาบันการศึกษา ประเภทวิถีชุมชนเรื่อง “พึ่งพา อย่างพอเพียง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” / “ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรม เรื่องวิถีซาไก…ที่เปลี่ยนไป จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” / “ประเภทสิ่งแวดล้อม เรื่องต้นน้ำ ต้นแบบ และ รางวัลดีเด่นประเภทข่าว เรื่อง น้ำแข็งภัยใกล้ตัว จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์”
วันนี้ (12 ธ.ค.2558) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดงานประกาศผลรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการผลิตรายการ และเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ อันจะเป็นช่องทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วิชาชีพหลังจากจบการศึกษาต่อไป ในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 93 เรื่อง แบ่งเป็นประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ มีผลงานส่งเข้าประกวด 62 เรื่อง จาก 22 สถาบันการศึกษา โดยรอบแรกคณะกรรมการตัดสินรางวัลพิจารณาคัดเลือกผลงานเข้ารอบทั้งหมด 15 เรื่อง จาก 7 สถาบันการศึกษา คือ
1.เรื่อง พึ่งพา อย่างพอเพียง และ 2.เรื่อง เด็กมัธยมใช้สื่อออนไลน์ขายตัว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3.เรื่อง “ยาชุด” ภัยใกล้ตัว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4.เรื่อง ขายฉลามเกลื่อนเมือง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 5.เรื่อง วิถีซาไก…ที่เปลี่ยนไป และ 6.เรื่อง ผลักดันย่านเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 7.เรื่อง สิทธิที่ไร้เสียง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 8.เรื่อง วิถีผ้า วิถีนาเมือง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 9.เรื่อง วิกฤตชาวนาปรัง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 10.เรื่อง อัตลักษณ์ลูกทุ่งที่หายไป มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 11.เรื่อง จุดเปลี่ยน…คลองโคน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่อง ต้นน้ำ ต้นแบบ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 13.เรื่อง เพศที่สามบนทางธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 14.เรื่อง น้ำแข็งภัยใกล้ตัว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 15.เรื่อง ศิลปะนามแฝง บนกำแพงสังคม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากผลงานผ่านเข้ารอบแรก 15 เรื่อง คณะกรรมการตัดสินรางวัลพิจารณาคัดเลือกให้เหลือผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 10 เรื่องดังนี้ 1.เรื่อง พึ่งพา อย่างพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2.เรื่อง “ยาชุด” ภัยใกล้ตัว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. เรื่อง วิถีซาไก…ที่เปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 4.เรื่อง ผลักดันย่านเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 5.เรื่อง วิถีผ้า วิถีนาเมือง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 6.เรื่อง อัตลักษณ์ลูกทุ่งที่หายไป มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 7.เรื่อง จุดเปลี่ยน…คลองโคน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 8.เรื่อง ต้นน้ำ ต้นแบบ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 9.เรื่อง เพศที่สามบนทางธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 10. เรื่อง น้ำแข็งภัยใกล้ตัว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผลงานที่ได้รับรางวัลสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ดีเด่นคือ 4 เรื่อง 4 ประเภท จาก 3 สถาบันการศึกษาได้โล่เกียรติยศ และเงินรางวัล 20,000 บาท คือ
– ประเภทวิถีชุมชน เรื่อง “พึ่งพา อย่างพอเพียง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา”
– ประเภทอัตลักษณ์วัฒนธรรม เรื่อง “วิถีซาไก…ที่เปลี่ยนไป จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา”
– ประเภทสิ่งแวดล้อม เรื่อง “ต้นน้ำ ต้นแบบ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์”
– ประเภทข่าว เรื่อง “น้ำแข็งภัยใกล้ตัว จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์”
ส่วนประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง 31 เรื่อง จาก 12 สถาบันการศึกษา ผ่านเข้ารอบแรก จำนวน 13 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่อง การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยของเด็กรุ่นใหม่มหาวิทยาลัยศิลปากร 2.เรื่อง เท่าทันค่าไฟฟ้าเกินจริง และ 3. เรื่อง ทางออกพนันบอล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4.เรื่อง ควันพิษ “ภาคเหนือ” มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 5. เรื่อง เด็ก 16 รับจ้างเที่ยว ภัยยุควัตถุนิยม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 6.เรื่อง ภัยร้าย…สารเร่งกล้าม มหาวิทยาลัยนเรศวร 7.เรื่อง หมอกควันข้ามพรหมแดน มหาวิทยาลัยทักษิณ 8.เรื่อง กล่องสีฟ้า (Emergency Box) มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 9.เรื่อง ไกด์เถื่อนเกล่อนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 10.เรื่อง วิบากกรรมชาวนา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 11.เรื่อง น้ำตานาเกลือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 12. เรื่อง มังคละ สืบสานไม่สาบสูญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 13. เรื่อง วีรบุรุษปลายปืน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง ประจำปี 2558 รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ เรื่อง เท่าทันค่าไฟฟ้าเกินจริง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ เรื่อง น้ำตานาเกลือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทั้งสองทีมได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัล 5,000 บาท และเพื่อเป็นการให้กำลังใจกับผลงานและผู้ส่งผลงานเข้าประกวดด้านสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียงในปีนี้ คณะกรรมการตัดสินรางวัล ได้พิจารณากรณีพิเศษมอบเฉพาะ เกียรติบัตร ด้านการผลิตรายการ ให้กับผลงาน เรื่อง วีรบุรุษปลายปืน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำหรับรางวัลดีเด่นประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุนั้น คณะกรรมการตัดสิน มีมติอย่างเอกฉันท์ว่าในปีนี้ไม่มีผลงานใดได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์การตัดสินของรางวัลสายฟ้าน้อย จึงมีมติไม่มอบรางวัลดีเด่นให้กับผลงานเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับคณะกรรมการตัดสินรางวัลทั้ง 3 ประเภท โดยประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุ คือนายบรรยงค์ สุวรรณผ่องผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน, นายเดชา รินทพล โปรดิวเซอร์ สถานีวิทยุครอบครัวข่าว FM.106 Mhz., นางสาววรัตมา บุนนาค ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, นางสาวสุดารัตน์ พงษ์สิงโต ครีเอทีฟและนักจัดรายการ F.M. 96.5 MHz. และ นางสาวโสภิต หวังวิวัฒนา นักสื่อสารมวลชนอิสระ
คณะกรรมการตัดสินประเภท “สารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์” คือ นายพิภพ พานิชภักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ , นายจักรพันธุ์ กมุทโยธิน บรรณาธิการบริหารด้านบทข่าว สถานีโทรทัศน์ TNN 24 และฝึกอบรม บมจ. ทรูวิชั่นส์ , นางสาวสนมพร ฉิมเฉลิม ผู้ช่วยผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, อาจารย์ปรัชญา เปี่ยมการุณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ นางสาวธนานุช สงวนศักดิ์ บรรณาธิการสารคดีเชิงข่าว สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้จัดให้มีการประกวดผลงานสารคดีเชิงข่าวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2548 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีคุณภาพของนิสิตนักศึกษา หลักสูตรนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตนักศึกษาก่อนเข้าสู่วิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ อีกทั้งยังประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนโครงการฯ สำหรับการพิจารณาตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อยสมาคมฯ ได้สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินรางวัลไว้ดังนี้ ด้านคุณภาพ(Quality) คุณค่า(Value) ผลงาน(Performance) และจรรยาบรรณ/จริยธรรม(Code of Ethics)