ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ เข้าพบตัวแทนคณะทูตสหภาพยุโรป(EU)

ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ เข้าพบตัวแทนคณะทูตสหภาพยุโรป(EU)

เพื่อหารือเรื่อง “การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีอาชญากรรม

 

(13 มี.ค.58) ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ อันประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นำโดย นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมการ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้เข้าพบ มร.ฟรานเซสโก ซาเวรีโอ นีซีโอ เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยและประธานสหภาพยุโรป และคณะทูตและอุปทูตสหภาพยุโรป(EU) อีกกว่า 15 ประเทศ เพื่อหารือเรื่อง “การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีอาชญากรรม” และยื่นจดหมายตอบกลับชี้แจงในประเด็นที่คณะทูตสหภาพยุโรปได้หารือกับตัวแทนขององค์กรวิชาชีพสื่อไทย และมอบจดหมายแสดงความห่วงใยต่อการรายงานข่าวเกี่ยวกับเหยื่อในคดีอาชญากรรมของสื่อไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557

 

โดยยืนยันว่า 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมบทบาทสื่อที่มีความรับผิดชอบ และได้มีบทบาทที่แข็งขันในการกระตุ้นเตือนให้สื่อที่เป็นสมาชิกปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัว เราพยายามตอกย้ำถึงความจำเป็นในการรายงานข่าวอย่างเป็นธรรม มีความสมดุล และให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนตัว แต่คดีฆาตกรรมบนเกาะเต่าเป็นเครื่องเตือนใจว่ายังต้องใช้ความพยายามอีกมากเพื่อให้สื่อมิใช่ประเทศเดีวที่ต้องเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับบทบาทของสื่อ และเป็นวามท้าทายที่ใหญ่มากขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของสื่อออนไลน์ ที่ทำให้การกำกับและตรวจสอบด้านจริยธรรมมีความยากลำบากกว่าในอดีต แต่สื่อไทยก็พร้อมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของสังคม

 

“จากการหารือร่วมกันระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อและคณะทูตสหภาพยุโรปในวันนี้ ทางคณะทูตสหภาพยุโรปขอบคุณสื่อมวลชนไทยและองค์กรวิชาชีพวื่อมวลชนไทย ที่ให้ความร่วมมือและตระหนักในข้อเรียกร้องจากคณะทูตยุโรป ในการรายงานข่าวไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ตกเป็นเหยื่อ ละพร้อมกันนี้ทางสหภาพยุโรปได้เสนอที่จะแบ่งปันประสบการณ์การทำงานของสื่อมวลชจากกลุุ่มประเทศสหภาพยุโรปร่วมกับสื่อมวลชนไทย”

 

—————————————————

 

10 มีนาคม 2558

เรียน    ฯพณฯ ท่าน ฟรานเซสโก ซาเวรีโอ นิซีโอ

เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย

และประธานสหภาพยุโรป

 

ในนามขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนของประเทศไทยสี่องค์กร เราขอแสดงความขอบคุณที่คณะทูตของสหภาพยุโรปได้เข้าพบกับตัวแทนขององค์กรวิชาชีพสื่อไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 และมอบจดหมายแสดงความห่วงใยต่อการรายงานข่าวเกี่ยวกับเหยื่อในคดีอาชญากรรมของสื่อไทย ท่านได้ยกตัวอย่างของการรายงานข่าวในคดีฆาตกรรมสองนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าของสื่อไทยบางส่วน ที่ทำให้เกิดคำถามต่อมาตรฐานจริยธรรมของสื่อไทย

 

เราขอขอบคุณต่อความห่วงใยของท่าน และขอร่วมแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของเหยื่อในคดีฆาตกรรมทั้งสองคน ที่นอกจากต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว ยังต้องรู้สึกเจ็บปวดกับการรายงานข่าวที่ขาดความรับผิดชอบของสื่อบางส่วน ถึงแม้เรามีความเชื่อมั่นว่าสื่อมวลชนกระแสหลักของไทยส่วนใหญ่ ทำหน้าที่โดยยึดมั่นในมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยอมรับว่ายังมีสื่อบางส่วนที่ขาดความเป็นวิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการรายงานข่าวคดีฆาตกรรมบนเกาะเต่าก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง

 

องค์กรวิชาชีพสื่อทั้งสี่องค์กร ซึ่งเป็นตัวแทนของสื่อกระแสหลักในประเทศไทย ขอยืนยันในความมุ่งมั่นในการส่งเสริมบทบาทสื่อที่มีความรับผิดชอบ และได้มีบทบาทที่แข็งขันในการกระตุ้นเตือนให้สื่อที่เป็นสมาชิกปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด เราพยายามตอกย้ำถึงความจำเป็นในการรายงานข่าวอย่างเป็นธรรม มีความสมดุล และให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนตัว แต่คดีฆาตกรรมบนเกาะเต่าเป็นเครื่องเตือนใจเราว่ายังต้องใช้ความพยายามอีกมากเพื่อให้สื่อทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริง

 

เราขอแจ้งให้ท่านทราบว่าหนึ่งสัปดาห์หลังจากท่านและตัวแทนองค์กรสื่อไทยได้พบปะกัน เราได้ออกแถลงการณ์ร่วมไปยังสื่อต่างๆ เพื่อแสดงความห่วงใยต่อวิธีการรายงานข่าวในคดีอาชญากรรมของสื่อบางส่วน ซึ่งเข้าข่ายละเมิดจริยธรรมของสื่อสารมวลชน แถลงการณ์ดังกล่าวเรียกร้องให้สื่อเคารพต่อความเป็นส่วนตัวและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเหยื่อและครอบครัว ด้วยการหลีกเลี่ยงการเสนอข่าวและภาพที่เป็นการซ้ำเติมความโศกเศร้าของผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นว่าการที่ตัวแทนของทูตจากสหภาพยุโรปได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา เป็นการแสดงให้เห็นว่าขณะนี้บทบาทของสื่อไทยมิใช่กำลังถูกตรวจสอบจากคนในสังคมไทยเท่านั้น แต่ยังถูกนานาประเทศเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด

 

องค์กรวิชาชีพสื่อทั้งสี่องค์กรยังได้ร่วมมือกับคณะนิเทศศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีเสวนาสาธารณะขึ้นในเดือนธันวาคม 2557 ในหัวข้อ “เสนอข่าวอย่างไรไม่ให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน” โดยศึกษาบทเรียนจากคดีฆาตกรรมบนเกาะเต่า ผู้ร่วมเวทีเสวนามีความเห็นตรงกันว่าสื่อมวลชนไทยต้องมีความรับผิดชอบและมีความเป็นวิชาชีพมากขึ้นในการรายงานข่าวคดีอาชญากรรม  องค์กรวิชาชีพสื่อทั้งสี่องค์กรมีความตั้งใจที่จะใช้ความเห็นและข้อเสนอแนะจากเวทีเสวนาดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลเพื่อผลิตคู่มือการรายงานข่าวอาชญากรรมให้กับสื่อมวลชนไทย

 

กระบวนการปฏิรูปที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ มีการปฏิรูปสื่อมวลชนเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญทำให้เรามีความหวังมากขึ้น   นอกจากจะนำไปสู่การปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพของสื่อแล้ว การปฏิรูปครั้งนี้ยังจะสร้างกลไกกำกับและตรวจสอบที่จะทำให้สื่อมีความรับผิดชอบและตอบสนองต่อสังคมมากขึ้น องค์กรวิชาชีพทั้งสี่องค์กรได้มีบทบาทในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ทำหน้าที่หลักในกระบวนการปฏิรูป

 

เราเห็นพ้องกับข้อสังเกตของท่านว่าประเทศไทยมิใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับบทบาทของสื่อ   และเป็นความท้าทายที่ใหญ่มากขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของสื่อออนไลน์ ที่ทำให้การกำกับและตรวจสอบด้านจริยธรรมมีความยากลำบากกว่าในอดีต   แต่สื่อไทยก็พร้อมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของสังคมอื่นๆ และมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ท่านได้เสนอที่จะแบ่งปันประสบการณ์จากประเทศของท่าน และหวังว่าเราจะมีโอกาสได้หารือเพื่อสร้างความร่วมมือในเรื่องนี้

 

เราขอขอบคุณที่ท่านแสดงจุดยืนสนับสนุนเสรีภาพของสื่อ ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญของสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ประเทศไทยขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และในภาวะเช่นนี้บทบาทของสื่อที่เสรีและมีความรับผิดชอบจะมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ

 

ด้วยความนับถืออย่างสูง

 

 

นายเทพชัย หย่อง                                                                                               นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์

นายก สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย                                              ประธาน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

 

 

 

 

นายวันชัย วงศ์มีชัย                                                                                               นายภัทระ คำพิทักษ์

นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย                                    ประธาน สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

 

 

March 10, 2015

His Excellency

Francesco Saverio Nisio

Ambassador of Italy

Rotating EU President and Coordinator

Bangkok, Thailand

 

Your Excellency;

 

First of all, we would like to thank Your Excellency and the other representatives of the European Union for meeting with representatives of Thai media organizations on October 22, 2014 and presenting us with a letter outlining your concern over Thai media coverage of crime victims. Your made specific reference to the coverage of the brutal murder of two British nationals on Koh Tao in southern Thailand which raises questions about media ethical standard.

 

We truly appreciate your concern and share with you our sympathy for families of the murder victims who suffered not only from the losses of their loved ones but also from distress caused by irresponsible news coverage by certain media quarters. While we believe that the majority of the mainstream media in Thailand adhere to professional standards and code of ethics in carrying out their journalistic duty, we are also mindful that there are still elements in the business that choose sensationalism over professionalism. How some of the Thai media covered the Koh Tao murder is a case in point.

 

The four Thai media organizations which represent all the major media outlets in Thailand are committed to promoting media responsibility and have been working vigorously to raise the awareness of media professionals on the need for strict adherence to the code of ethics in their news reporting. Being fair, balanced and respecting the right to privacy are among the basic principles of journalism that the four media organizations have emphasized in their periodical statements and their communications with their members. However, the coverage of the Koh Tao murder case by some of the media reminds us that more needs to be done to raise the level of media responsibility.

 

We would like to inform you that less than a week after our meeting, the four media organizations issued a joint statement expressing our concerns over incidents of news reporting on criminal cases that contravene the media code of ethics. The statement urged all the media to respect the privacy and human dignity of the victims and their families. They are called upon not to show or publish information or pictures that would cause undue emotional distress to those involved. The statement also pointed out that the fact that the EU envoys had publicly raised the issue demonstrates that the role of the Thai media is being scrutinized not only by members of the Thai society but also by the international community.

 

In addition to that, the four media organizations together with the Mass Communication Faculty of Chulalongkorn University organized a seminar in December, 2014 on the topic “Reporting Without Violating Human Rights” which drew on the lessons from the Koh Tao murder case. The seminar concluded with a consensus for the Thai media to be more professional and responsible in their news reporting. The media organizations plan to use input from the forum, which was attended by media professionals, academics, police representatives and legal experts, to produce an ethics guideline on crime reporting that will be disseminated to all media outlets in the near future.

 

We are also encouraged by the ongoing reform process in Thailand which makes reforming the media one of its priorities.  While the reform is designed to guarantee media freedom, it will also ensure that the media will be held more responsible and accountable through a more effective check-and-balance system that is open to public participation. The four media organizations have been working closely with members of the National Reform Council to offer our input.

 

We agree with your observation that Thailand is not the only society that faces such a challenge. This is particularly true with the proliferation of on-line media that makes enforcement of media ethics more challenging. But we will be more than willing to learn from the experience of others. Therefore, we welcome your offer to share your experience with us and look forward to further discussions on how we can cooperate.

 

We would also like to express our appreciation for your strong expression of support for a free media which is without doubts a crucial part of a functioning democratic society. Thailand is at the moment going through a very challenging time in which a free and responsible media can play a very important role.

 

Yours sincerely,

 

 

Thepchai Yong                                                            Korkhet Chantalertluk

President                                                                       President

Thai Broadcast Journalists Association                    The News Broadcasting Council of Thailand

 

 

 

 

 

Wanchai Wongmeechai                                                      Pattara Khumphitak

President                                                                           Chairman

Thai Journalists Association                                     The National Press Council of Thailand

 

แท็ก คำค้นหา