แถลงการณ์ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เนื่องในวันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม 2558
สถานการณ์ของสื่อมวลชนไทยในรอบปี 2557 ถือว่าเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ถูกกดดันจากกลุ่มมวลชนทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล อยู่ในสถานะที่ถูกจับจ้องจากทุกฟากฝั่ง ถูกมองเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเป็นผู้เติมเชื้อไฟให้โหมกระพือมากกว่าเป็นผู้ถอนฟืนออกจากกองไฟ ไม่อยู่ในสถานะที่เป็นที่พึ่งหวังของประเทศเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วยสภาพการณ์หรือภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของโลก ทำให้เกิด “สื่อเฉพาะ” ที่มุ่งหวังรับใช้เจตนารมณ์ของกลุ่มต่างๆ มากยิ่งขึ้น
ท่ามกลางความยุ่งเหยิงทางการเมืองและความเคลือบแคลงสงสัยต่อบทบาทของสื่อมวลชน จึงเป็นสิ่งที่ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ตระหนักและมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ ดังกล่าวเป็นอย่างมาก เพราะความน่าเชื่อถือและศรัทธาไว้วางใจต่อสื่อมวลชนของสาธารณชนเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(คสช.) เข้าควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 สถานการณ์และดัชนีชี้วัดสถานภาพเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยได้ตกต่ำลงในสายตาประชาคมโลก เพราะคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้สั่งระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุและโทรทัศน์ และขอให้หนังสือพิมพ์งดแสดงความคิดเห็นที่จะทำให้เกิดการต่อต้านคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ต่อมาได้ออกคำสั่งเพื่อควบคุมการเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน ฉบับที่ 97/2557 ฉบับที่ 103/2557 และฉบับที่ 3/2558 ข้อ 5 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) 2557 อันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสื่อมวลชน และเป็นการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีอยู่แต่เดิม และเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของประเทศประการหนึ่ง การคงไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวเป็นหลักการพื้นฐานที่ไม่น้อยกว่าการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลที่ปราศจากการละเมิดจากสื่อมวลชนและความรับผิดชอบต่อสังคมตามกรอบจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
เนื่องในวันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม ประจำปี 2558 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน จึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1.ขอให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(คสช.) ยกเลิกคำสั่งคสช.ที่ 97 คำสั่งคสช.ที่103 และ คำสั่งที่ 3/2558 ข้อ 5 ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) 2557 โดยเร็ว เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองพูดคุยอย่างเสรีและปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนการปฏิรูป จึงมีความจำเป็นจะต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้แสดงความคิดเห็นเพื่อร่วมกำหนดอนาคตของประเทศ เพื่อให้สื่อมวลชนเป็นเวทีแห่งการพูดคุยเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติ
การคงไว้ซึ่งคำสั่งทั้ง 3 ทำให้บรรยากาศแห่งการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีและปลอดภัยไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยง่าย การยกเลิกคำสั่งยังเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อภาพลักษณ์ด้านสิทธิและเสรีภาพของประเทศโดยรวมและยังแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาคมโลกว่ามาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ สามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายได้ สำหรับสื่อมวลชนที่ละเมิดกฎหมาย รัฐบาลยังคงใช้กฎหมายที่มีอยู่ดำเนินการได้ตามปกติ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ โดยมิต้องใช้คำสั่งหรือมาตรการพิเศษใดๆ อีกต่อไป
2.ในการดำเนินการของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ต้องเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงใดๆ จากภาครัฐ เพราะ กสทช. เป็นองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของประชาชน ที่ต้องการให้การจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธาณะ ในส่วนองค์กรวิชาชีพสื่อขอให้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ การกำกับดูแลกันเอง ภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพื่อคงไว้ซึ่งเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อข่าวสารที่นำเสนอ
3.ขอให้ประชาชนและผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อประเภทต่างๆ ได้ตระหนักเห็นว่าภูมิทัศน์สื่อได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้รับสารสามารถอยู่ในฐานะส่งสารได้ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ข่าวสารจึงเกิดขึ้นได้มากมายและแพร่หลาย จึงจำเป็นอย่างที่ประชาชนและผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารจะต้องตระหนักและรู้เท่าทันสื่อ
ในโอกาสที่รัฐธรรมนูญชึ่งอยู่ระหว่างการยกร่าง ได้สนับสนุนให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพ พิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพและคุ้มครองสวัสดิการของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประชาชนโดยทั่วไปจะได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
และหากผู้ใดถูกละเมิดหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน ขอให้ใช้สิทธินั้นตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ตลอดจนใช้สิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่ดำเนินการ
4.ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ประกอบธุรกิจสื่อมวลชน ได้ตระหนักถึงบทบาทและภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ตามมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างเต็มกำลัง เปิดพื้นที่สื่อสาธารณะให้ทุกฝ่าย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการร่วมกันหาทางออก เพื่อสร้างความปรองดอง ยุติความขัดแย้ง และร่วมกันปฏิรูปประเทศ ให้ประเทศไทยก้าวข้ามผ่านวิกฤตครั้งสำคัญไปให้ได้
องค์กรวิชาชีพสื่อ ทั้ง 4 ขอย้ำเตือนว่าทุกฝ่ายในสังคมต้องตระหนักถึงหลักการเคารพเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อมวลชนและประชาชน เพราะเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความโปร่งใส ตามหลักการปกครองด้วยหลักธรรมาภิบาลของประเทศ และการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
3 พฤษภาคม 2558
Statement of Four Thai Professional Media Organizations
on the World Press Freedom Day
3 May 2015
Since 2014, the media in Thailand have been facing more and various challenges. During the time of political protests in early 2014, the media were pressured by supporters of different parties in the political conflicts who wanted the media to take their side. Meanwhile, some of the public have seen media as players in the conflicts, or a party to intensify the tensions instead of pulling the fuel out from the fire. Some cast doubts in the work and performance of the media.
Realizing the seriousness of the problems as well as the importance of the public’s faith and trust in the media, the four professional media organizations , namely the Thai Journalists Association, the Thai Broadcast Journalists Association, the National Press Council of Thailand and the News Broadcasting Council of Thailand, have joined hands in attempt to solve the problems.
Once the National Council for Peace and Order (NCPO) took over the national administration power on 22 May 2014 (B.E.2557), the situation and the media freedom index for Thailand has dropped drastically in the eyes of the global community. That was because in the first period after the power seizure, the NCPO ordered many television and radio stations to go black out while asking newspapers to refrain from publicizing any opinions that could lead to opposition to the NCPO.
After that, the NCPO and its leader also issued the announcements that limit the media freedom and the people’s rights to information. They include the NCPO’s Announcement Number 97/2557, NCPO’s Announcement Number 103/2557 and the Article 5 of the NCPO’s Chief Announcement Number 3/2558 issued as authorized in the Article 44 of the 2014 Interim Constitution. Freedom of the press and the people’s rights to information are not less important than the people’s privacy and individual’s rights to be protected from the media’s violation. At the same time, the media are obliged to work keeping social responsibility and Code of Ethics in mind.
On the World Press Freedom Day, 3 May 2015, the four professional organizations propose demands as follow:
The NCPO must quickly revoke its Announcements Number 97/2557 and 103/2557 and the NCPO chief must quickly revoke his Announcement Number 3/2558 to create the environment for reconciliation with free and safe discussion. This comes especially at a time of national reform in Thailand. Therefore, it is necessary that the people from different groups can have opportunities to submit their opinions and proposals how they want to see the future of the country.
The media can be a good platform for discussion and market of ideas so that the country can be out of the political conflicts peacefully.
Revocation of the announcements would mean the NCPO is sending a good signal leading to a better image of the country on the people’s rights. It would demonstrate to the global community that the enforcement of Thailand’s laws used in the normal condition is enough as the tools to take action against the media who violate the rights of the people. The media professionals can do their job properly without the need of any special laws or measures.
2. The National Broadcasting and Telecommunications Commission of Thailand must be independent from any interference from the state power. The agency was established with the will of the people to be independent body to freely and justly allocate frequencies, which is national asset, for the public interest. Meanwhile, all media organizations should work professionally and responsibly under the law, Code of Ethics and Code of Conducts with the effective self-regulation to uphold the freedom of the press.
3. The people and the media consumers should realize in the changed media landscape in Thailand. With the use of technologies, a lot of people, not only the media professionals, can create the content and spread the information to the wide public. The information receivers, then should use be careful and use their consideration while consuming the information.
The current time of drafting the Constitution is a good opportunity for the people to submit and share their opinions on the laws for the sake of the country. Meanwhile, the main law supports the existence of professional media organizations to protect freedom of the press, to keep good professional and ethical standards for the media as well as to consider and take measures in case of media misconduct or violation.
The people violated or damaged by the work of the media are eligible to petition to the National Press Council of Thailand and the News Broadcasting Council of Thailand as well as exercise their legal rights to take action against the violating media.
4. The media professionals and the owners of the media business should keep in mind the roles and obligations of the media to the public according to the professional and ethical standards. They should support the people for the exchange of ideas as a way to the solutions for the country. Thailand then can achieve reconciliation and national reform and be out of the great crisis.
The four professional media organizations urge all parties in society to respect the freedom of the press and people’s rights to information, which will be account greatly for the good governance of the country and eventually the public interest.
Thai Journalists Association;
Thai Broadcast Journalists Association;
National Press Council of Thailand;
News Broadcasting Council of Thailand
3 May 2015