3.สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่นผ่านสื่อที่มี
นี่คือ อำนาจหน้าที่ของ “องค์การสื่อสารสาธารณะ” ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ร่างกฎหมายได้เขียนไว้ทั้ง “ทางกว้างและทางลึก” อย่างชัดเจนที่จะยกระดับความรับรู้ของประชาชน ดังนั้น ทิศทางการบริหารข่าวสารอย่างการมีส่วนร่วมของประชาชนและมีกิจกรรมสาธารณะด้วยนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าเรื่องที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน ซึ่งถ้าจะสรุปออกมาเป็นแผนผังก็จะเห็นได้ดังภาพแผนภูมิ (1) “องค์การ” นี้ได้ถูกกำหนดความเป็น “อิสระ” ไว้ด้วยการไม่ให้มี “โฆษณา” เพื่อให้ “ปลอด” จาก “การแทรกแซง” ของ “อำนาจทุน” โดยเงินที่จะได้มาบริหารให้ได้มาจาก “ภาษีเหล้า” และ “ยาสูบ” ตามมาตรา 11 และยังกำหนดให้ “ปลอด” จาก “การแทรกแซง” ของ “อำนาจรัฐ” โดยให้มีคณะกรรมการมาควบคุมดูแลนโยบาย 9 คน ที่มาจากการสรรหาของคณะกรรมการ 11 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากองค์การสื่อ เอ็นจีโอ (NGO) และภาครัฐ ที่จะถ่วงดุลกัน แถมยัง “ห้าม” คณะกรรมการมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการสื่อด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้หรือที่ได้ศึกษากฎหมายฉบับนี้จึงให้ความสำคัญกับ “สื่อของภาคประชาชน” ที่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยนี้อย่างยิ่ง คาดว่าในระยะเวลา 2-3 ปี จากงบประมาณปีละ “2,000 ล้าน” ที่มาจากภาษีเหล้าและยาสูบ ก็น่าจะสามารถผลักดันให้ “สื่อสาธารณะ” ดังกล่าวนี้เกิดศักยภาพได้อย่างเต็มที่ดังภาพแผนภูมิ (2) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สังคมไทย” และประชาชนจะให้ความสำคัญในการติดตามเรื่องของ “องค์การสื่อสาธารณะ” ในเชิงประโยชน์ที่จะ “เข้าร่วม” และผลักดันให้เกิดการ “ยกระดับความรับรู้” ของประชาชน โดยผ่าน “การเรียนรู้” ระหว่างกันและกันของชุมชนสู่ชุมชนขององค์การประชาชนสู่องค์การประชาชน จนนำไปสู่การพัฒนา “การต่อสู้” ของประชาชนให้เป็นส่วนหนึ่งใน “การขับเคลื่อน” พลังของสังคมไทยให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่าง “สร้างสรรค์และสันติ” ไม่ปล่อยให้ชะตากรรมของประชาชนและประเทศตกอยู่ในมือของ “ทุนสามานย์” และ “เผด็จการขุนนาง” เพียงเท่านั้น ที่มา มติชน วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10904 หน้า 7 |