ด้วยสำนักงาน กสทช. โดยสำนักส่งเสริมการแข่งขันและการกำกับดูแลกันเอง ได้ขอความร่วมมือมีเดียมอนิเตอร์ดำเนินโครงการการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลข่าว สารทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ ในหัวข้อสิทธิเสรีภาพและจรรยาบรรณสื่อ เพื่อนำมาประมวลและเผยแพร่แก่สาธารณชน ในการนี้ โครงการมีเดียมอนิเตอร์ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษาได้ดำเนินการศึกษาเรื่อง สื่อเชิงสืบสวน (Investigative Journalism) ในทีวีดิจิตอลช่องข่าวสารและสาระ เสร็จสิ้นแล้ว
เพื่อให้ผลการศึกษาดังกล่าวเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง มีเดียมอนิเตอร์ โดยความเห็นชอบของ กสทช. ได้เชิญชวนองค์กรภาคี ได้แก่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาเรื่อง “คุณภาพและปริมาณงานเชิงสืบสวนของสื่อโทรทัศน์ สะท้อนสภาพอะไรของสื่อและสังคม” ในวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ ระหว่างเวลา 9.00 – 12.00 น. ที่ห้องประชุมอิศรา อมั
นตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ชั้น 3 ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ
กำหนดการ งานเสวนาเรื่อง
“คุณภาพและปริมาณงานเชิงสืบสวนของสื่อโทรทัศน์ สะท้อนสภาพอะไรของสื่อและสังคม”
ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลา 09.00 – 12.00 น.
………………………………………..
เวลา 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน และ รับอาหารว่างเช้า
เวลา 09.00 – 09.30 น. ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการMedia Monitor
กล่าวต้อนรับ และ นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “สื่อเชิงสืบสวน (Investigative Journalism)
ในทีวีดิจิตอลช่องข่าวสารและสาระ”
เวลา 09.30 – 11.30 น. ผู้อำนวยการ Media Monitor ดำเนินการเสวนา เรื่อง “คุณภาพและปริมาณงานเชิงสืบสวน
ของสื่อโทรทัศน์ สะท้อนสภาพอะไรของสื่อและสังคม”
โดย ผู้ร่วมการเสวนา
– Voice TV
– Nation Channel
– Spring News
– TNN 24
– New TV
– Thai TV
– Bright TV
เวลา 11.30-11.45 น. การตอบข้อซักถามจากสื่อมวลชนและผู้สนใจ
ที่เข้าฟังการเสวนา
เวลา 11.45-12.00 น. ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการ Media Monitor
สรุปสาระสำคัญ กล่าวขอบคุณ และปิดการเสวนา