สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดจัดการเสวนาถอดบทเรียน “เสนอข่าวอย่างไร ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน” ขึ้น
ในวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 9.30 – 12.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าว ถ.สามเสน
กำหนดการ
9.00 – 9.30 น. ลงทะเบียน
9.30 – 10.00 น. กล่าวเปิดโดย คุณเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นำเสนอมาตรฐานจรรยาบรรณตามหลักสากลกับสิทธิมนุษยชน
10.00 – 12.30 น. ระดมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและสื่อมวลชน
เทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
อลงกรณ์ เหมือนดาว บรรณาธิการ ข่าวสามมิติ*
คณิต บุณยพานิช บรรณาธิการข่าว สถานีไทยพีบีเอส
เจษฎา อนุจารี กรรมการ สภาวิชาชีพนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
อารีวรรณ จตุทอง นักกฎหมายด้านสิทธิเด็กสตรีและผู้ตกเป็นเหยื่อ*
วัชรินทร์ กลิ่นมะลิ รองนายกสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย
นคร ชมพูชาติ หัวหน้าทีมทนายความ คดีเกาะเต่า *
ตัวแทนจากเจ้าหน้าที่กู้ภัย ——————————————*
ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์ประจำวิชาเขียนข่าว คณะนิเทศศาสตร์
ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำวิชาเขียนข่าว คณะนิเทศศาสตร์
อ.อริน เจียจันทร์พงษ์ อาจารย์ประจำวิชาเขียนข่าว คณะนิเทศศาสตร์
อ.สิริลักษณ์ พัทธนลีลาวงศ์ อาจารย์ประจำวิชาเขียนข่าว คณะนิเทศศาสตร์
ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ อาจารย์ประจำวิชาเขียนข่าว คณะนิเทศศาสตร์
12.30 น. ปิดการประชุม
(หมายเหตุ*วิทยากรอยู่ระหว่างการประสาน)
โครงการสัมมนาและบรรยายทางวิชาการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างภาควารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทยและสภาวิชาชีพนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยมีวัตถุประสงค์การถอดบทเรียนการทำงานของนักวิชาชีพสื่อ อันนำไปสู่การวิเคราะห์มาตรฐานการทำงานในมุมมองทางวิชาการ เพื่อหาข้อสรุปร่วมในการกำหนดมาตรฐานทางวิชาชีพในประเด็นสิทธิมนุษยชนและประเด็นสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว และมาตรฐานการทำงานข่าวเชิงวิชาชีพในระดับสากล โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ นักข่าว นักวิชาชีพสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวอาชญากรรม นักวิชาการ อาจารย์จากวิชาเขียนข่าวเบื้องต้นจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่รัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ทนายความ นักกฎหมาย ผู้เสียหาย
สืบเนื่องจาก มีคณะทูตสหภาพยุโรป 8 ประเทศ เข้าพบ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อเพื่อยื่นหนังสือและหารือถึงความรับผิดชอบของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย (Media Responsibility for Victims) เมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความกังวลอย่างมากต่อการวิธีการรายงานข่าวในคดีอาชญากรรมของสื่อที่มิได้เป็นไปตามมาตรฐานหลักจริยธรรมที่ให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อเหยื่อและครอบครัว จึงร่วมกันดำเนินการจัดเวทีเสวนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงการสื่อสารมวลชน นักวิชาการ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน ผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครหน่วยกู้ภัย เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานการทำงานข่าวเชิงวิชาชีพในระดับสากล เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการยกระดับการทำหน้าที่ของสื่อให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากสังคมมากขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โทร.02 243 8475 02 243 8475 / 086 522 4288 086 522 4288