เวทีเสวนา”ทีวีสาธารณะ(ดิจิทัล)เพื่อใคร?” เป็นเวทีที่องค์กรวิชาชีพสื่อ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ฺไทย ร่วมกับ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ก.พ. 2556 เพื่อเป็นเวทีเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นระหว่าง นักวิชาการ นักวิชาชีพ นักกฏหมาย และองค์กรกำกับดูแล(กสทช.) ในประเด็น เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตโทรทัศน์สาธารณะ ดิจทัล จำนวน 12 ช่อง ซึ่งทาง กสท. กำหนดระยะเวลาในการเปิดให้มีการยื่นขอใบอนุญาตด้วยวิธี Beauty Contest ภายในเดือน มี.ค. นี้ ซึ่งในประเด็นนี้ หลายภาคส่วนของสังคม ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความโปร่งใสและผลประโยชน์ทับซ้อน ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตจัดสรรโทรทัศน์ดิจิตัล สาธารณะ
เวทีเสวนา “ทีวีสาธารณะ (ดิจิทัล) เพื่อใคร ?”
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556
จัดโดย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
รายชื่อวิทยากร
ผศ.ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช.
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา
ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม(ประเทศไทย)
นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินการเสวนา นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
——————————————————————————
เปิดเวทีเสวนาโดย คุณธนานุช สงวนศักดิ์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดเวทีเสวนา “ทีวีสาธารณะ (ดิจิทัล) เพื่อใคร ?”
ธนานุช : หลายท่านคงจะทราบดีว่า กำลังเป็นประเด็นที่มีการตั้งคำถาม สังคมตั้งคำถาม กับทาง กสทช . และก็ทาง กทช .เกี่ยวกับการเปิดให้ยื่นขอ/ออกใบอนุญาตโทรทัศน์สาธารณะ 12 ช่อง ใน 3 ประเภท ด้วยระบบ Beauty Contest ว่าในการเปิดให้ยื่นขอฟรีทีวีเพื่อบริการสาธารณะมีการกำหนดคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ขององค์กร ในการยื่นใบขออนุญาต ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนและก็มีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องของความโปร่งใสต่างๆ เพราะฉะนั้นเป้าหมายในการที่ทางสมาคมนักข่าวฯ และทางสภาวิชาชีพข่าวฯ ได้ร่วมกันจัดเวทีในวันนี้ก็คือ เพื่อจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของกระบวนการการปฏิรูปสื่อและการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นธรรมเพื่อรักษาผลประโยชน์ในกับประชาชนและเพื่อประเทศชาติให้มากที่สุดรวมทั้ง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริงอย่างที่หลายๆท่านส่งร่วมกันมาในเวลา 10ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี อยากให้การเสวนาในครั้งนี้ได้มีการส่งเสียงไปยัง กสทช. และ กสท. ในเรื่องการเปิดประมูลฟรีทีวีดิจิทัลทั้ง 12 ช่อง จะต้องเปิดโอกาสให้ภาคส่วนของสังคมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ
ก่อเขต : ผู้จัดเวทีเสวนาในวันนี้คือ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ย้อนหลังไป 10 กว่าปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ก็ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องทำในสิ่งที่เรียกว่า การปฏิรูปสื่อเพราะเรารู้กันดีว่าก่อนหน้านี้นั้น คลื่นความถี่มันไม่ได้เป็นทรัพยากรของชาติ แต่เป็นของทรัพยากรกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อประเทศนี้ ต่อส่วนรวมจริง สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ก็เกิดขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์นี้เป็นหลักผ่านไป 10 กว่าปี เรามีรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ตั้งแต่ปี 2540-2550 ว่าคลื่นความถี่เป็นของสาธารณะไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่งและก็ยังตรงกับความคิดการปฏิรูปสื่อไว้ เราใช้เวลานานมาก กว่าจะได้คณะคนกลุ่มหนึ่งที่เราคาดหวังไว้ ดูแลจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่มากมายให้มันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจริง ๆ ล้มลุกคลุกคลาน ได้มาแล้วก็ต้องยกเลิกไป เลือกกันใหม่อีกแล้วก็ได้มา จนกระทั่งมาถึงช่วงเปลี่ยนถ่านในเชิงเทคโนโลยีมาเป็นอะนาล็อค เรากำลังจะมีโทรทัศน์ฟรีดิจิทัล 48 ช่อง เป็นประเภทต่าง ๆ หลายประเภท ตามเงื่อนเวลาที่ กสทช .เปิดสู่สาธารณะในเดือนพฤษภาคมก็จะมีการประมูลกันหาผู้ที่จะมาทำคลื่นความถี่ที่เรียกกันว่า “ทีวี สาธารณะ” ฟังเฉพาะชื่อ เราก็จะมีทีวีสาธารณะเพื่อขึ้นหลายคนที่มีนิยามของคำว่า ทีวีสาธารณะ ประเทศเราน่าจะมีสื่อที่ทำให้ประเทศนี้ มีสังคมที่มีความหวังมากขึ้นด้วยชื่อของ ทีวีสาธารณะ เราก็คาดหวังกันเช่นนั้นเมื่อดูรายละเอียดที่มีการแบ่งออกเป็น 2-3ประเภท ประเภทที่หนึ่ง เป็นเรื่องของการส่งเสริมการศึกษา ประเภทที่ 2 เป็นเรื่องของความมั่นคงและความปลอดภัย ประเภทที่ 3 เป็นเรื่องของการกระจายข้อมูลข่าวสาร สงเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลและประชาชนและถ้าดูลึกลงไปมากกว่านั้นอีกก็จะเห็นว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะมาประมูลที่จะมารับคัดเลือกให้มาใช้คลื่นความถี่ที่เรียกกันว่า ทีวีสาธารณะ เป็นหน่วยราชการเป็นส่วนใหญ่ คำถามมีว่า ที่มาของชื่อเวทีเสวนาในครั้งนี้ ทีวีสาธารณะ ดิจิทัล เพื่อใคร? เกิดมาจากประเด็นนี้ ด้วยความเป็นห่วงว่าเรากำลังจะมีทีวีสาธารณะ เช่นนี้หรือ และแม้กระทั่งชื่อของทีวีสาธารณะ สังคมก็มองว่า เป็นสื่อที่น่าจะเป็นพิษเป็นภัยน้อยที่สุดแล้วยังเป็นแบบนี้การประมูลอย่างอื่นๆ ที่ช่องธุรกิจเต็มที่เลย แน่นอนธุรกิจก็ชัดเจนทั่วไปจะมีละครก็เป็นเรื่องของการแข่งขัน แต่ธุรกิจที่จะเกิดขึ้น เราก็คงได้รับบทเรียนกับธุรกิจของสื่อที่จะ คลื่นความถี่ของที่เป็นทรัพยากรของชาติ ที่ผ่านมาแล้วว่ามีช่องว่างจำกัดตัวเองขนาดไหนและถ้าจุดเริ่มต้นของการประมูลที่ทำให้เกิด ทีวีสาธารณะเป็นแบบนี้แล้วภาพของสื่อจะเป็นอย่างไรต่อไป ในประเด็นนี้ กสทช.เป็นคนแบ่งออกว่าเป็นกี่ประเภทแล้วใครมีสิทธ์ที่จะประมูลได้บ้าง
ผศ.ดร.ธวัชชัย : ก่อนอื่นขอบอกก่อนนะครับว่า กสทช. ไม่ได้เป็นคนกำหนดประเภท ทั้งหมดนี้เป็น พรบ.จัดสรรคลื่นและ พรบ. ประกอบกิจการ ปี2551 เพราะฉะนั้นเราทำตามกฎหมาย ตามพรบ. ทั้ง 2ฉบับ เข้าใจว่าหลายท่านมีความกังวลเรื่องทีวีสาธารณะ คือ กสทช. ไม่ได้วางเฉยหรือออกกฎ เรียกว่าช่วยกันดูรายละเอียดให้ความเห็น เราใช้เวลาไปกับทีวีธุรกิจการประมูล เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไม่มีการทำมาก่อน ทางโทรคมนาคมซึ่งมีประวัติในการทำงานมาระดับหนึ่งแล้ว พอถึงด้านของ กสท. หรือด้านบอร์ดกระจายเสียงเราก็มาเริ่มทุกอย่างใหม่หมดเลย แล้วก็เจอเรื่องที่ซับซ้อนมาก ทั้งวิทยุชุมชนและหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของต่างๆอยู่แล้ว มีปัญหาหลายอย่างที่ซับซ้อนกันมาก เป็นครั้งแรกที่เรามาจัดในครั้งนี้ ทีวีสาธารณะ ผมก็เข้าใจและห่วงใยกำหนดไว้ให้บางส่วนของผู้ที่ทำ มีคุณสมบัติเป็นหน่วยงานของรัฐ โดย ดูตามมาตรากระทรวง ทบวงกรม ตามรัฐธรรมนูญ องค์กรท้องถิ่นไม่ร่วมรัฐวิสาหกิจสมาคม มูลนิธิต่าง ๆ คงเดาไว้ว่ารูปแบบทีวีสาธารณะคงมีเรื่องของการศึกษา เรื่องของหน่วยงานรัฐ ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอยู่เพราะยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดชัดเจน ผมว่าสมควรได้เวลา ทีวีสาธารณะเป็นเรื่องของทุกคน ไม่มีการประมูลเพราะว่าตามตัวกฎหมายทางธุรกิจเท่านั้นที่ให้มีการประมูล เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมอยากฟังความเห็นของหลายท่านด้วยและก็มีบางประเด็นที่ผมเตรียมไว้และอยากมาแลกเปลี่ยนความคิดด้วยครับ
ก่อเขต : พูดถึงเรื่อง พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 เป็นตัวกำหนดใช่ไหมครับ
ผศ.ดร.ธวัชชัย : องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 และ พรบ.ประกอบกิจการฯ 2551
ก่อเขต : คุณสมชายได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ น่าจะเล่าให้เราฟังได้นะครับว่า มันออกมาแบบนี้ได้อย่างไร
สมชาย : ก่อนเริ่มการปฏิรูปสื่อต้องยอมรับความจริง ก่อนว่าประมาณ10-20ปีที่แล้วแม้กระทั่งปัจจุบัน มีสื่อหลากหลายมากขึ้นแต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักของการปฏิรูปสื่อ คือ โครงสร้างความเป็นเจ้าของ ลองย้อนไปดูนะครับ สถานีโทรทัศน์ที่เป็นอะนาล็อก ในปัจจุบัน 3 5 7 9 11 ThaiPBS ที่พึ่งเปลี่ยนมาเป็นองค์กร อิสระเป็นของรัฐทั้งสิ้น กองทัพบก อสมท.เป็นของกรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุ 526 แห่ง 100เปอร์เซ็นต์เป็นของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น กองทัพบก เรืออากาศ ตำรวจ กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. ที่เป็นชื่อบริษัทเอกชนทั้งหลาย รายการเทปรายการเพลง รายการข่าว เป็นสัมปทานทั้งสิ้นเป็นการเช่าช่วงต่อ สิ่งหนึ่งที่นอกเหลือจากการ เราต้องปฏิรูปในเรื่องของ บุคลากร สิทธิเสรีภาพเรื่องโครงสร้างเป็นเรื่องหลัก ต้องเรียนว่า ไม่เกิดรัฐประหาร 2549 ไม่ได้หมายความว่ารัฐประหาร ดีนะครับ ผมยืนยันว่า พรบ.ประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ 2551 ไมได้เกิด เหตุผลที่ไม่ได้เกิดเพราะมีผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเยอะแม้กระทั่ง รัฐธรรมนูญ 40 กำหนดให้มี กสช. กทช. กสช. ใช้เวลาไป 8ปี ก็ไม่ได้เกิด ถามว่า พรบ.ประกอบกิจการ 2551มีปัจจัยหลายประการ ในองค์ประกอบของกฎหมายข้อเสนอดี โครงสร้างประวัติเข้า กรรมาธิการส่วนใหญ่มันก็สมบูรณ์ บางช่วงบางตอน คุณจะเอากฎหมายหรือจะคว่ำกฎหมายทิ้ง ฉะนั้นบางช่วงบางตอนถูกต่อรอง ว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ อันนี้คือ พรบ. ประกอบกิจการวิทยุฯ แต่ก็ไม่ทำให้หลักเสียไป แต่90 % ก็ยังใช้ได้ เดี๋ยวผมจะอธิบายในภายหลัง พรบ.ประกอบกิจการฯ 2551 กับ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 สัมพันธ์กัน คือออกได้ในปี2551ยกร่างใกล้เคียงกัน พรบ. กสทช . ล่าช้าในปี 2540 เนื่องจากให้มีการเลือกตั้งภายใน 1ปีหลังจากรัฐประหาร ผมก็ปรึกษากับท่านนายก พลเอก สุรยุทธ ผมก็ได้กฎหมายมา 2ฉบับ คือ พรบ. ประกอบกิจการฯ 2551 และพรบ. ยกเลิกจดแก้การพิมพ์ 2484 ส่วนฉบับที่ 3 เข้ามาแล้วแต่ไม่ทัน นายกบอกว่าก็ได้แค่นั้นเพราะหมดสมัยแล้ว ก็กลับเข้ามาสภาอีกครั้ง ในช่วงหลังแต่ความยากลำบากก็ต่างกัน ของ2551 ก็ประกอบด้วยมีกรรมาธิการที่เป็นส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วย แต่ พรบ. กสทช. อีกแบบหนึ่ง เป็นยุคในสมัยประชาธิปไตยที่มี สส. มาจากเลือกตั้ง จดหมายฉบับนี้มีบางส่วนที่บิดเบี้ยวไป เรียนว่า เราอยากเห็นองค์กรอิสระ กสทช. ขอเรียน อาจารย์ ธวัชชัยว่า สรรหาได้มาแล้ว ถูกวิพากษ์วิจารณ์เยอะมาก เราเองก็ไม่สบายใจ แต่ก็มีความคาดหวังต่อไป แม้บางครั้งจะสมหวังบ้างที่เห็นท่านทำหน้าที่และผิดหวังบ้างที่เห็นท่านไม่ทำหน้าที่ มีหลายเรื่องที่ใช้ข้อกฎหมาย และข้ออ้างบางประการในการยังไม่ทำหน้าที่ เลือกที่จะหยิบข้อกฎหมายบางประการให้ตัวเองดูมีอำนาจ เช่น กรณีประมูล 3G กสทช. เขามี 11คนจากเดิมมีกสช. 7 กทช. 7 หลอมรวมกัน พยายามไปใส่ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้แยกอิสระ กสช.และกทช. เป็นองค์กรอิสระ 2องค์กร ประธานเป็นกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ 11คนเหลือ 5คนนี่เป็นปัญหา ของ กสทช. ตราบใดที่ทำงานแบบนี้ก็จะเจอปัญหาแบบนี้ถ้าท่านประธานแต่ละคณะท่านก็มี 1เสียงใน 5 อีก 2เสียงเป็น 3 สามารถกำหนดประมูล 3G จากไหน สามารถกำหนด ทีวีสาธารณะ แค่ 3ใน 11 กำหนดทิศทางได้เลยครับ ท่านตีความจากกฎหมายที่เขียนไว้ ต้อเรียนเจตนารมณ์ก่อนนะครับ ว่าเราก็ไม่รู้จะเขียนกฎหมายอย่างไร ให้อำนาจ กสทช. ออกระเบียบเรื่องความคาดหวัง เรามีกติกาออกเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ ต้องการให้เกิดเรื่องของการกระจายการครอบครองสื่อ สื่อเดิมเป็นของรัฐทั้งสิ้น ฉะนั้นท่านจะทำทีวีดิจิทัลซึ่งเป็นเรื่องละเอียด มันจะช้าไปหรือเปล่า ปัจจุบันโลกเขาใช้ทีวีบอร์ดแบนแล้ว เราจะต้องมาแจกคูปอง แล้วจะมีปัญหาอีกหรือเปล่า ตามกฎหมายตามหลักเกณฑ์ ท่านจะทำทีวีดิจิทัล 48 ช่อง เรียนในเจตนารมณ์ว่า ทีวีให้แบ่งเป็น 3ประเภท กลุ่มสาธารณะ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มชุมชน ก็แบ่งเป็นสัดส่วน กลุ่มสาธารณะเป็นไปของ กระทรวง ทบวง กรม หรือไม่ ไม่รู้จริง ๆว่ า กสทช. จะทำเช่นนั้นหรือไม่ ถ้าทำเช่นนั้น เช่นกระทรวงกลาโหม 1ช่อง กองทัพบก 1ช่อง กองทัพเรือตำรวจ อากาศ พูดง่าย ๆ 12 กระทรวงไม่รู้ว่าสังคมจะคาดหวัง กสทช. ได้อีกมากน้อยแค่ไหน ควรจะแยกทีวีสาธารณะออกมาทำเรื่องสาธารณะจริง ๆ ไม่ต้อง หวังการโฆษณา ภาคธุรกิจก็ได้ทำธุรกิจโดยตรงของตัวเอง ส่วนภาคชุมชนก็ทำเรื่องของชุมชน
คุณก่อเขต : เราก็เห็นประเด็นที่มาแล้วนะครับ ถึงว่าต้องใช่เวลาต้องใช้ความพยายามากมายก็ได้มาขนาดนี้ หมายถึงการออกกติกาที่จะมากำกับดูแลสื่อที่ใช้คลื่นความถี่ของประเทศเรา ประเด็นต่อไป คือทำอย่างไรมันจะเป็นไปอย่างที่เราไม่อยากให้เป็นผลปวงของกฏหมายและกติกาต่าง ๆที่มันออกมาแบบนี้จะแบ่งเป็น 3-4 ประเภทอะไรบ้าง
อดิศักดิ์ : จริง ๆ กสทช. อายุการทำงานประมาณ 1ปีกว่า ถามว่าทำอะไรหลายๆเรื่องเร็วตามเวลา แผนแม่บท การออกกฎใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ประเภททีวีดาวเทียม โครงข่ายต่าง ๆ ซึ่งออกไปชั่วคราว ทีวีดิจิตอลที่เป็นภาคธุรกิจก็มีประชาพิจารณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างตามทามไลน์ ของ กสทช. คือกำหนดที่จะให้ยื่นกรอกทุกประเภทช่วงเดือนมีนาคม จากที่ยื่นเรื่องโครงข่ายก็จะเป็นช่องทีวีสาธารณะ และก็ธุรกิจประมาณเดือนกรกฎาคม ในส่วนทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ทำไมไม่มีกระบวนการใดๆ เลย สังคมหรือสาธารณะมีส่วนร่วมในการพิจารณา ชื่อก็บอกว่าเป็นทีวีสาธารณะ กสทช. สามารถป้องกันในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ มิฉะนั้นกระบวนการปฏิรูปสื่อตั้งแต่ปี2540 ถึงปัจจุบัน ถ้าทีวีสาธารณะ 12ช่อง ออกมาแล้วกระทรวง หรือองค์กร อิสระต่าง ๆ ได้ครอบครองไปทำผมว่าย้อนยุคยิ่งกว่ายุคไหนเพราะว่าตั้งแต่ต้น คลื่นความถี่อยู่ในครอบครองของรัฐทั้งหมด การปฏิรูปสื่อต้องกระจายการครอบครองออกไปให้รัฐถือครองสื่ออย่างน้อยที่สุดก็ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่นั่นหมายความว่าเราย้อนยุคไป ยิ่งหน่วยงานของรัฐจะมีช่องโทรทัศน์ คลื่นวิทยุของตัวเองทั้งๆ ที่ กระบวนการคลื่นความถี่ ตามมาตรา 82 พรบ. จัดสรรคลื่นความถี่ปี 2553 ก็ได้ให้ไว้ว่า วิทยุ 5 ปี ทีวี 10 ปี โทรคมนาคม 15 ปี กระบวนการนี้ก็ยังไม่จบ วิทยุกองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ อสมท . ยังครอบครองคลื่นความถี่อยู่และมีอายุของการที่จะต้องคือถ้าไม่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะแต่ทำไม การที่จะให้ใบอนุญาตทีวีสาธารณะที่เป็นดิจิทัลมีช่องที่จะกลับไปสู่รัฐเหมือนเดิมเพราะว่าคุณสมบัติของกฎหมาย คุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอใบอนุญาตทีวีสาธารณะ กำหนดไว้3 ประเภท คุณสมบัติข้อที่ 1 พวกที่เป็นกระทรวง องค์กรอิสระองค์กร ป้องครองส่วนท้องถิ่น คุณสมบัติข้อที่ 2 มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นมาไม่ได้แสวงหากำไร ข้อ 3 สถาบันอุดมศึกษา ทั้ง 3 กลุ่มนี้มีสิทธิ์ที่จะยื่นขอทีวีสาธารณะแล้วทีวีสาธารณะแบ่งเป็น 3 ประเภท 1 ทั่วไปใช้ในการส่งเสริมความรู้ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สุขภาพ เทคโนโลยี ประเภท 2 เพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของสาธารณะ ประเภท 3 รัฐบาลใช้สื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชน ปัญหาคือ ประเภทที่2 กิจการทีวีสาธารณะ เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยของสาธารณะให้โฆษณาได้และมีกำไรอย่างพอเพียง พอประมาณ ตรงนี้ไม่มีคำอธิบายออกมาว่าพอประมาณแค่ไหนและหน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคง และความปลอดภัยของสาธารณะในบ้านเรามากกว่า 10หน่วยงาน กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ ตำรวจแห่งชาติ ผมกลัวว่า 12 ช่องที่ท่านยื่นส่วนใหญ่จะยื่นประเภทที่ 2 ที่โฆษณาได้แล้วสร้างความลำบากใจให้ กสทช . อย่างมากข้อน่าห่วงใย อันที่จริงไม่ได้ตำหนิ กสทช . ยกเว้นในเรื่องที่ยังไม่ตัดใจเรื่องนี้มาก แต่อยากให้ กสทช . รับฟัง อาจารย์ ธวัชชัย ตามกฎหมายในปี 2553 ได้ใช้อำนาจ กับ กทช. และกสช. ไว้ว่า สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตนี้ได้ในเมื่อต้องการให้เป็นทีวีสาธารณะ กสทช ควรมีกลไกของการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เช่นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในด้านนิเทศศาสตร์ ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาในการเลือก หรือภาคประชาสังคม ธุรกิจ ที่มีผลต่อทีวีสาธารณะ นิยามของทีวีสาธารณะ คือ การส่งเสริมการให้ความรู้กับทุกคน ถ้า กสทช. สามารถสร้างกลไกจะเป็นตัวป้องกัน ครหา กับการตัดสินอนุมัติว่าจะให้ใคร ทำทีวีสาธารณะ 12 ช่อง กสทช. จะต้องลำบากใจมากๆ เนื่องจากมีคนยื่นคำข้อ 100กว่าคนและไม่สามารถพิจารณาได้ว่าจะให้ใคร เพราะให้ใครก้อมีข้อ คอราหา เพราะอธิบายไม่ได้มันแล้วมุมมอง ถ้าไม่มีกำหนด กสทช. เอง 5 คนจะลำบากใจ อยากให้พิจารณาเรื่องนี้ว่า ยังไม่สาย และยังไม่ควรที่จะรีบให้เลือกด้วยซ้ำไป ในเดือน มีนาคมนี้ ผมว่าเร็วเกินไป เพราะยังไม่เคยมีการร่างกฎเกณฑ์ หรือทำประชาพิจารณ์ ขยับเวลาให้มีส่วนร่วมของสังคมเข้ามา ดีต่อ กสทช. และดีต่อการ ปฏิรูปสื่อ
ก่อเขต : ค่อนข้างชัดเจนขึ้นและก็มีทางออก กสทช. มีอำนาจมีในการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอาจารย์นิพนธ์ จะมีทางเลือกทางออกอย่างไรบ้าง
ดร.นิพนธ์ : สิ่งเราพูดกันวันนี้เราจะพูดว่าเอาทีวีสาธารณะให้ใคร หรือผู้ส่งสารคือ ใครผู้รับสารคือใคร ถ้าอยากรู้ว่าผู้ส่งสารผู้รับสารคือใครกลับไปดู พรบ. 43 กับ พรบ. 51 ช่วงนั้นจะมีอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยว คุณสมบัติของโครงสร้างองค์กร วิชาชีพควรมีมาตรฐานเป็นองค์กรสาธารณะอิสระจำเป็นต้องมีคลื่นความถี่ออกอากาศ จำเป็นต้องมีรายได้จากรัฐโดยไม่ผ่านกระบวนระบบงบประมาณ ได้ได้ส่วนหนึ่งจากค่าทำเนียมคลื่นความถี่ออกอากาศจากผู้ใช้ประโยชน์ในการพาณิชย์ต้องมีกรรมการบริหารต้องมีคุณสมบัติหลากหลายและต้องอยู่บนบถบัญญัติ สิ่งที่สำคัญที่ผ่านมาคือ ได้เงินมาโดยไม่ง่ายตัวเองทำรายการถึงผู้รับสารไหม อันนี้จะชี้ให้เห็นว่าคนดูทีวีดูอย่างไรคำถามว่า ทำไมคนดูกรมประชาสัมพันธ์น้อยลงมากเพราะมีทีวีดาวเทียมถ้าเราทำงานโดยที่ไม่ต้องแคร์ว่ามีรายได้หรือไม่แน่นจอนว่าคุณภาพไม่ได้ อย่างTHAIPBS ได้รายได้แบบไม่ต้องกระตือรือร้นแต่ก็ต้องแคร์ความรู้สึกคนดูเพราะยังเป็นรายใหม่ ใครคือสื่อสาธารระอย่างแท้จริง หน่วยงานรัฐอิสระ สมาคม มูลนิธิเหลือแต่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร กสทช. มีระเบียบวิธีคัดเลือกอย่างไรไม่ให้มีสื่อชวนเชื่อ กลุ่มประชากรผู้รับสาร สำหรับผู้ที่มีทางเลือกเลือกได้ถึง 600ช่อง คนที่ไม่มีทางเลือกคือใคร? ประชากรกลุ่มพื้นฐานไม่มีความพยายามรับสารหรือมีการรับข่าวสารแบบไม่ตรงกัน กระบวนการที่สื่อจะเข้าถึงกลุ่มคนพื้นฐานโดยตรงดำเนินการได้ยาก ลักษณะการรับรู้และการทำความเข้าใจมีจำกัด ทีวีสาธารระเพื่อใคร? กสทช. มีวิธีการคัดสรรอย่างไร เพื่อให้ได้องค์กร นโยบายที่แต่งตั้งกรรมการโดยไม่อยู่ภายใต้อิทธิพล มีนโยบายอย่างไร มีนโยบายเข้าถึงผู้รับสารอย่างไร เช่น การเข้าถึงกลุ่มพื้นฐาน ผู้ที่ปฏิเสธการรับข่าว กลุ่มอื่นๆ ที่ถูกละเลย เช่นนักศึกษา จะใช้งบประมาณหรือไม่ใช้งบประมาณก็ตามเราต้องพัฒนากลุ่มคนพวกนี้ให้ทัดเทียมขึ้นมา
ก่อเขต : เห็นแล้วนะครับว่าสถานการณ์ของสื่อโทรทัศน์ไม่ได้มีใช้แค่เฉพาะคลื่นความถี่และในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นโทรทัศน์ดาวเทียมไม่น้อย ผลการศึกษาของอาจารย์ คนจำนวนมาก มีความพยายามน้อยเข้าถึงและการรับรู้ข่าวสารน้อย จะทำอย่างไรกับตรงนั้น
ดร. สุภาพร : เมื่อเราดำเนินการเคลื่อนไหวการปฏิรูปสื่อ มีโจทย์ มีประเด็นในเรื่องที่เราพูดเป็นเรื่องเดียวกัน พูดถึงเรื่องสิทธิของการไม่เข้าไปเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ และมีโจทย์ที่จะพูดถึงความอิสระที่ปลอดการครอบงำทั้งระบบการเมือง แต่เดินทางมาสู่ภาคปฏิบัติ ดูเหมือนเจตนารมณ์ตัวนี้มันแข็งมากสิ่งที่น่าสนใจ คือ การออกพรบ. หรือแนวทางทั้งหลาย เรื่องของการเจรจาต่อรอง ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเยอะมาก จนน้ำหนักของส่วนที่เราเรียกว่าการ คะนึงถึงประโยชน์หลัก เจตนารมณ์ดั้งเดิมมันถูกผลักออกจากขอบของการพูดคุยเรื่องนี้ ชุมชน สาธารณะ และในส่วนที่เป็นธุรกิจโดยวางเอาไว้คร่าว ๆ เหมือน มองข้ามจุดที่เดิมมาคุยว่าทีวีสาธารณะคืออะไร ง่ายๆ ก็ผลักลงไปว่า เหมือนองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรทำเมื่อไหร่ ก็จะตอบโจทย์ทีวีสาธารณะได้ เพราะเรื่องกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนคือหัวใจของการสื่อสารสารธารณะ ถึงแม้ว่าจะมีการจัดประชาพิจารณ์ ออกมาหลายเรื่องหลายตัวสิ่งที่สำคัญคือ เงื่อนไขที่ออกมาเป็น แบบ Beauty contest กฎเกณฑ์ที่จะเปิดการขอใบอนุญาตทีวี 12 ช่อง ทีวีสาธารณะ ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ถูก เบคอัพด้วยผลทางวิชาการ สังคมไทยไม่ยอมตัดสินใจโดยใช้ฐานจากงานวิชาการให้มาก ๆ เพื่อตัดโจทย์ของการเจรจาต่อรอง ว่ามันมาจากเหตุของการไม่ต่อรองผลประโยชน์ พอเราพูดถึงทีวี มี3 ตัว 1. จะให้ใครทำ เราตัดโจทย์ว่า มีหน่วยงานใด เป็นหน่วยงานราชการหรือเปล่า เป็นองค์กรไหน โดยออกกติกาว่าใครทำแล้วคุณสมบัติเป็นแบบไหน แต่ใครทำสำหรับดิฉันยังไม่สำคัญเท่ากับ 2เรื่องต่อมา คือทำไปทำไม กับทำอย่างไร มันสำคัญมาก เพราะทำไปเพื่ออะไรเวลาพูดถึงเรื่องทีวีดิจิทัล เหมือนโจทย์เหลือนี้ยังปิดข้อจำกัดส่วนของเทคโนโลยี เรายังไม่ได้ใช้โอกาสด้านบวกและโอกาสบางตัวในโลกยุคดิจิทัลเพื่อจะได้เห็นช่องทางมากขึ้นและตอบโจทย์ปัญหาภูมิทัศน์ของสื่อมวลชนหมายถึงผู้บริโภค ทีวีสาธารณะ 12ช่องก่อนเปิดประมูล ก่อนการจะออกใบอนุญาต ควรจะมีการศึกษาประเด็นอย่างนี้มากๆเสียก่อนเหมือนกับ กสทช.ตั้งรับ อาศัยฝีมือการเขียนกี่เจ้าก็แล้วแต่ แต่บอกว่า ของฉันบิ้วตี้ ที่สุด แล้วตอบโจทย์สังคมจริงรึเปล่า นี้คือการจอบโจทย์ ท้าทาย กสทช. ว่าจะทำอย่างไร เชิงความต้องการของสังคม ถ้าเราใช้ประมูลทีวี 10-30ปีเป็นตัวตั้ง และให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าอีก 15ปี ข้างหน้าสื่อมวลชน ที่จะเดินไปข้างหน้ามันคืออะไร มันต้องมีภูมิทัศน์แล้วตอบภูมิทัศน์แล้วอะไรที่ยังหายไป ที่มาของ 12ช่อง เพราะมันทำทุกเรื่องไม่ได้ แต่เราสามารถบอกได้ว่าเราจะไปอย่างไรถ้าจะเล่นประเด็นของกลุ่มคนที่ยังขาดที่เขาไม่ได้ เข้าไม่ถึงในข้อมูลข่าวสาร ต้องเอาทั้งภูมิทัศน์เรื่องคน เป้าหมายของประเทศ หรือวิสัยทัศน์ วันนี้ดูเหมือนเปิดทางเอาไว้ว่าให้หารายได้ได้บ้าง ทำไมมีอยู่ประเภทหนึ่งที่สามารถหาโฆษณา เพราะว่าการกรอกคำว่า พอประมาณ มันยากมากว่าเราจะดูแลมันอย่างไร มันจะย้อนเราไปก่อนการปฏิรูปสื่อ เจอปัญหาเดิม ๆ มันจะกลายเป็นเรื่องของหน่วยงานราชการซึ่งมีคลื่นแล้วไปใช้ทำมาหากินนอกจากเป็นกระบอกเสียง อาจจะใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินต่อแล้วที่หวังว่าจะมีอิสรภาพก็จะไม่เกิดขึ้น ที่คิดว่า ไม่น่าจะมีถอยหลังในเดือนมีนาคม แล้วตั้งเวทีหาภูมิทัศน์แล้วคิดว่าทีวีสาธารณะ 12ช่อง ควรจะคุยถึง ไดเรคชั่นของประเทศ ว่า 15ปี เราจะไปกันไหม ต้องดูด้วยว่าทีวีสาธารณะที่เราเห็นอยู่ทำหน้าที่ไว้ได้มากน้อยเพียงใด แล้วเจ้าใหม่ที่จะเข้ามาจะมาอย่างไร ถ้ากลุ่มนี้ไม่ชัดเดือนธันวาคมรับรอง กลุ่มวิทยุชุมชน เพราตอนนี้ที่มีอยู่ก็ยังจับเข้าล็อคไม่ได้ ตอนนี้ต้องยุติการเจรจาต่อรองในเรื่องส่วนได้ส่วนเสีย เอาข้อมูลและวิธีคิดทางวิชาการแล้วนำพาคนก้าวข้ามวันนี้ให้ได้ไปก่อนไม่งั้นจะเป็นปัญหามาก กสทช. ต้องรักษาผังแผนนี้ไว้ เขามีหน้าที่ในการสร้างหลักประกันของสิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงสื่อของภาคพลเมือง สำหรับคนทำสื่อมองคนเหล่านี้เป็นออเดียนของเขา ในกลุ่มธุรกิจจะมองเป็นผังตลาดของเขาเพื่อเอาไว้ใช้เพื่อหารายได้ทำมาหากิน ถามว่าสื่อสาธารณะทำหน้าที่อะไร ในฐานะออเดียนมองเป็นฝ่ายรับ เวทีแบบนี้ถ้าเราระดมแล้วคุยให้เยอะๆ โมเดลของไดอะล็อคเป็นรูปแบบที่วันนี้เราใช้งานเยอะเราควรเอาโมเดลไดอะล็อคมาจับแล้วสร้าง แล้วค่อยเริ่มเปิดต้องไม่ใช่ความว่างเปล่าเหมือนทุกวันนี้
ก่อเขต: ช่วงแรก อ.ธวัชชัยบอกว่าอยากจะฟังความเห็นเพิ่มเติมก่อน ตอนนี้ความเห็นเยอะแล้ว ไม่ทราบว่า กสทช. จะทำอะไรได้ไหม แล้วถ้าเป็นอย่างที่คุณอดิศักดิ์ว่า คือ ถึงแม้ว่าจะต้องมีการจัดสรรทีวีสาธารณะ ตาม พรบ.ประกอบกิจการ สามารถกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม ข้อมูลที่ผู้ร่วมเสวนาในวันนี้ กสทช. พอจะหยิบอะไรเอาไปใช้ได้บ้างไหมครับ
ดร.ธวัชชัย: ผมก็ได้มุมมองหลายด้านครับ อย่างแรกคือ กสทช. มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา ดูแลเรื่องต่างๆตามวัตถุประสงค์ เช่น การดูแลเรื่องการแข่งขันต่างๆ เรื่องการประมูล เพราะผมก็มาจากสายเศรษฐศาสตร์ และคนอื่นๆก็จะดูแลคนละสายกัน อนุฯก็จะมีประมาณ20คณะ ทีนี้มีอนุฯหนึ่งที่ดูเรื่องของสาธารณะ เพราะอนุฯเป็นผู้ที่ทำหน้าที่คล้ายกับสมอง เป็นคนคิด มีสำนักงาน หน่วยงาน องค์กรต่างๆตามกลไกของ กสทช.เหมือนกับเป็นเลขาให้ แล้วให้กรรมกการใช้คณะอนุฯชุดนี้คล้ายๆกับการระดมความเห็น ก็จะมีคณะที่ดูแลเรื่องสาธารณะเหมือนกันช่วยดูแลตรงนั้น เพราะฉะนั้น พอเข้าใจว่ามันมีการทำงานลักษณะนั้นอยู่ เวลาคิดอะไรขึ้นมาได้ ก็สรุปส่งขึ้นมาบนบอร์ด เวลาทำงานตามกลไกกับเลขา ก็ให้ กสท. เพราะเรื่องมันค่อนข้างซับซ้อนมาก แต่ว่าก็จะได้ความรู้จากหลายๆท่าน ที่ได้แต่งตั้งขึ้นมา ก็สามารถช่วย กสทช.ได้มากเลย แต่ก็มีเรื่องเหตุผลที่แต่งตั้งขึ้น ก็อาจจะเป็นจุดด้อยบ้าง
ทีนี้ทั้ง 5 คน เราก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปบ้าง เพราะเราก็มาจากต่างสาย อย่างวันนี้ที่ผมมาฟังนี่จะเห็นว่าคนที่สนใจ คนที่มีจิตสาธารณะ อยากเห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้น แต่มันก็จะมีสิ่งที่เรียกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หรือ what if มันเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมืองที่เราทำอยู่ ในฝั่งที่มีจิตาสาธารณะ หรือวิชาการ ก็มีแนวทางที่อยากจะให้มันไปในทางที่ควรเป็น คือ what should be ทีนี้ 2 พลังมันสู้กันอยู่ ก็อยากให้กลุ่มจิตสาธารณะ วิชาการ หรือเพื่อสังคม ช่วยกันผลักดันหรือตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเป็นตัวถ่วงเพื่อให้เป็นไปในทางที่ควรจะเป็นอยากจะเห็นใน 10-15ปีข้างหน้านี้ ทุกอย่างในเมืองไทยมันไม่ได้เกิดขึ้นมาพร้อม100% ก็อย่างที่ท่านสมชาย เสนอความเห็นมาว่า ต้องออกแบบนี้หรือไม่ต้องออกเลย ฉะนั้นมันก็มีแบบนี้อยู่ และเราก็เผชิญพลังแบบนี้อยู่ แต่ก่อนที่ผมจะเข้ามา ทางด้านวิทยุกระจายเสียงก็มีแนวความคิดที่หลายหลากอยู่พอสมควร มันก็มีโอกาสทีจะทำให้คนที่สนใจตรงนี้มีพลังขึ้นมาได้ หรือแนวคิด public mind ช่วยกันผลักดันจากข้างนอก อาจจะไม่ 100% แต่ว่ามันก็จะมากขึ้น นี่เป็นสิ่งที่อยากจะให้เป็น ในการที่จะมีการมีส่วนร่วมเข้ามา ผมยินดีและมีความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องทีวีวิทยุสาธารณะ จะเป็นส่วนช่วยในการทำให้มัน fair เพราะบางครั้งในส่วนอนุกรรมการอาจจะไม่ได้ 100% และอาจจะมีผลประโยชน์บางอย่างอยู่ และมีพลังจากภายนอกเข้ามาช่วย จากที่ผมดูมา ถ้าสื่อที่ตามผมหรือทวิตเตอร์ ก็จะทราบแนวคิดของผมอยู่แล้ว อยากจะฝากไว้ตรงนี้ว่ามันมีพลัง ที่ทำให้เราเป็นกรรมกาที่คนเดียว ไม่ได้ตัดสินใจเองทุกอย่าง แต่ให้เกิดความหลายหลากและกลมกลืนไปในส่วนใหญ่ แต่ที่นี้ทุกอย่างในประเทศนี้มันไม่ได้สมบูรณ์อย่างนั้น ต้องใช้พลัง ใช้ความร่วมมือในการทุ่มเททำลงไป ด้านประสบการณ์มันก็เหมือนกับเรือใหญ่ที่มันค่อยๆเลี้ยว ประเทศไทยก็ยังโชคดีที่มีคนที่มีจิตใจสาธารณะอยู่มาก มันทำให้เรือมันเลี้ยว มันไม่เหมือนประเทศอัฟฟริกาที่มันจะขึ้นตรงไปเลย แต่ของเรามันเลี้ยว และเลี้ยวช้า ก็ถือว่ายังมีพลังอยู่ ก็ขอให้ให้ช่วยกันนะครับ ว่ามันอาจจะเลี้ยวช้านิดหนึ่ง แต่มันก็เลี้ยวได้
ก่อเขต: ทางด้านวิชาการและวิชาชีพมีความเห็นที่คิดว่ามันควรจะไป แล้ว กสทช. คิดอย่างนั้นหรือไม่ หรือทำไมมันเป็นไปไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ มันเกิดอะไรขึ้น
คือมันไม่ได้สมบูรณ์มาตั้งแต่แรก เหมือนที่ท่านสมชายบอกเรื่องกฎหมายว่า เอาเข้าไปเป็นส้มโอ ออกมาเป็นทุเรียน กลายเป็นหลายพลัง แต่มันเป็นธรรมชาติของการเมืองของทุกประเทศก็เป็นอย่างนี้ เพียงแต่ว่าพลังไหนมันจะมากกว่าพลังไหน อย่างเช่นถ้ามีพลังด้านหนึ่งเยอะมันก็เปลี่ยนไปในด้านนั้นเยอะ แต่ถ้ามีพลังในการสร้างสรรค์เยอะ มันก็เปลี่ยนมาได้เร็ว แต่พลังมันมีน้อยก็เปลี่ยนแปลงแต่เลี้ยวได้ช้า ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า กระบวนการคัดเลือกมันไม่ได้สมบูรณ์จริงอย่างนั้น อาจมีจุดบกพร่องอยู่บ้างแต่ว่ามันก็มีกันทั้งนั้น แต่เราก็ไม่ได้มีจุดด้อยที่เทียบกับประเทศอื่นมีกว่าเราเยอะ ไทยเราก็มีพลังสร้างสรรค์ พลังด้านบวกอยู่เยอะเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้มากเท่ากับประเทศที่มันมีแล้ว ของเรามันอยู่ในจุดที่เรียกว่าช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้าเกิดทุ่มพลังทำเข้ามาแต่เฉพาะจุดที่สำคัญ ที่มีผลกระทบมากในปี 56 นี่มันมีเยอะเช่นเรื่องของ 3G เรื่องทีวีดิจิตอล เรื่องการจัดสรรเรื่องดาวเทียม เรื่องของวิทยุชุมชน สุดท้ายเรื่องของการออกแบบที่ต้องเป็นแบบผูกติด ก็ถือว่าเป็นจุดดี แต่ในอีกแบบหนึ่งในตอนแรกก็คือมีลักษณะ 11 คน แต่ละคนมีลักษณะเท่าๆกัน แต่พอเป็นแบบหลังๆก็มีการทำให้เกิดความแตกต่างกัน คือผมไม่ได้รู้สึกอะไร นอกจากว่าทำให้เขารู้สึกมีมากกว่าคนอื่น มันจึงมีอันตรายว่าระบบคณะกรรมการจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะการออกแบบจะทำให้บางจุดเกิดความอ่อนไหวมากต่อ กสทช. แต่ว่าผมก็ยังเห็นว่ามันไปในด้านดีได้ แล้วก็มีคนสนใจมากขึ้นซึ่งมองไปทางด้านบวก
ก่อเขต: เราจะมีโอกาสที่จะทำเวทีรับฟังความคิดเห็นแบบนี้อีกไหมครับ พอมีความที่จะเป็นไปได้ในการขยับ
เรื่องนี้ก็อยู่ในเรื่องของอนุกรรมการ ถ้าอนุกรรมการทำงานช้า ทาง กสทช.ก็จะได้ข้อมูลช้า ซึ่งเราก็จะพุดกันคนละกลุ่มกัน เราคิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีอะไรคืบหน้ามากกว่านี้ ก่อนการที่จะจัดสรรและก็เห็นว่ายังไม่พร้อมตอนนี้ เห็นด้วยว่ามันต้องมีการเร่ง ในแง่ของการทำงานด้านในไม่ใช่ด้านของการจัดสรร ถ้าเรื่องจัดสรรควรเลื่อนออกไปจนกว่าเราจะมีความพร้อมมากกว่านี้ ผมในฐานะที่อยู่ในบอร์ดก็ยังไม่เห็นเรื่องเข้ามาเลย เรื่องของสาธารณะ
ดร.สุภาพร: เสริม อ.ธวัชชัย ไม่ทราบว่าทราบหรือยังเรื่อง บิวตี้คอนเทสต์ นี่ทางคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้มาขอความร่วมมือกับคณะนิเทศฯ ไปช่วยออกแบบว่ามีการประเมินและออกแบบอย่างไรบ้าง เท่าที่ฟังดูเหมือนกับจะให้โจทย์เราเพื่อตีเป็นมูลค่ากลับมา คือมันติดอยู่ในการคิดด้านเทคนิคเชิงเศรษฐศาสตร์ แล้วเราจะคิดเป็นมูลค่าเป็นเม็ดเงินอย่างไรได้บ้าง ซึ่งก็ไม่ได้เสียหาย ถือเป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง แต่ว่าพอเข้าไปฟังก็เห็นว่าขาดข้อมูลอีกหลายด้าน ถ้าจะขยับให้เป็นรูปธรรม อาจจะเป็นสมาคมหรือนักวิชาการช่วยกันผลักดันทำไดอนาล็อกแบบนี้ ให้ได้สัก5ปีก่อน เพื่อให้ตุ๊กตาตัวนี้มันไปได้ แล้วก็ลดผู้มีส่วนได้เสียลงไป ขอถามว่าต้องคุยกับอนุฯชุดใดถึงจะตอบ
ดร.ธวัชชัย: ผมเข้าใจว่าที่คณะเศรษฐศาสตร์มาทำ คือเรื่องการประมูลหรือเปล่า แล้วกลุ่มที่ทำเขาทำเรื่องธุรกิจ ซึ่งก็จะดูปัจจัยอื่นแล้วตีมูลค่ามาเป็นตัวเลข ซึ่งที่สื่อมวลชนเขาตามอยู่เรื่องมูลค่าการประมูลเริ่มต้น แล้วจะมีคนสนใจเข้าร่วมประมูลมากเท่าไหร่ และยังมีเรื่องโครงข่ายที่เริ่มชัดเจนมากขึ้นแล้ว แต่ที่อาจารย์ถามคงไม่ได้ทำเรื่องสาธารณะแน่ ถ้าไปโฟกัสที่อนุฯแล้วอาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะสุดท้ายแล้วคนโหวตก็คือ กสทช.ทั้ง 5 คน
ก่อเขต: ทางด้านกฎหมาย ด้านอาจารย์สมชาย ที่อาจารย์สุภาพรเสนอว่ามีสมาคมและนักวิชาการร่วมกันแล้วมีข้อเสนอว่าไม่ควรดำเนินการอะไรกับสาธารณะอย่างนี้ จะพอมีวิธีการดำเนินการได้ไหม ขัดกับ พรบ.ที่ครอบเอาไว้หรือเปล่า ถ้าขัดแล้วเราจะทำอย่างไร
ก่อนอื่น ผมอยากเสนอให้นักข่าวไปตรวจสอบคณะอนุฯของ กสทช. 27 คณะถ้าจำไม่ผิด ใคร เป้นที่ปรึกษาบริษัทอะไรบ้าง ใครเป็นลูก พ่อ แม่ ที่ทำงานอยู่ในบริษัทอะไรบ้าง เกี่ยวโยงกันหมดนะครับ ผมไม่ได้ทา กสทช.เพียงอย่างเดียว หลายองค์กรที่เป็นองค์กรอิสระของประเทศนี้เกิดปัญหาเช่นนี้แล้ว คุณจะตัดสินคดีเลือกตั้ง คดีทุจริต ไปดูที่อนุฯสิครับ ทำไมมันถึงเกิดปัญหา เพราะเดี๋ยวนี้เขาไม่เป็นกรรมการตัวจริงกันแล้ว เขามาเป็นอนุฯ ลองไปดูบอร์ดที่ปรึกษารัฐวิสาหกิจทั่วประเทศเลยครับ โดยเฉพาะด้านพลังงาน มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ ทุกฝ่ายในเครือหรือองค์กรใหญ่ร่วม หาวีการเข้าไปควบคุมที่อนุฯ ไม่มีข้อปฏิเสธอนุฯที่มาจากสมาคมหรือวิชาการ มีโครงสร้างที่เข้าไปสอดแทรก ไม่ต้องเยอะ แค่คนหนึ่งก็รู้ความลับหมดแล้ว ช่องไหนอยากได้ช่องธุรกิจก็ส่งคนเข้าไป ถ้าไม่ได้ก็ส่งสายลับเข้าไป แค่นี้ก็ได้ข้อมูลหมดแล้ว และอยากให้ลองตรวจสอบกันดู คำถามแรก ทำไมมันถึงบิดเบี้ยว คำถามที่ 2 หลักการกระจายเสียงมันไม่ได้มีในทีวีดิจิทัลอย่างเดียวในกฎหมาย ผมคิดว่ามันผ่านกระบวนการแสดงความเห็นและวิธีคิดมากมากพอสมควร แต่มันมีเรื่องของการกระจายและการครอบครอง จากอนาล็อกเป็นดิจิทัล เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม แล้วในทีวีดิจิทัลมันไม่ได้มีแต่ทีวีสาธารณะ ผมก็สงสัยว่าทำไมเป็น48 ทำไมไม่เป็น100 คงต้องให้อาจารย์ตอบนะครับ ต้องยอมรับว่ามีพลังอยู่หลายกลุ่มในประเทศ เราก็ขับเคลื่อนพลัง20เปอร์เซ็นต์เข้ามา พลังมืดหรือสว่างก็ว่ากันไป แต่มันก็มีพลังของธุรกิจออกมาต่อรองแสดงความคิดเห็น การจัดสมดุลเราก็เลยอยากฝากให้ กสทช.ไปจัดการ คำถามต่อมาเรื่อง20เปอร์เซ็นต์ที่อยากให้เป็นพลังชุมชน แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าภาคธุรกิจมีเท่าไหร่ แล้วภาคประชาสังคมมีเท่าไหร่ ก็ต้องเป็นเรื่องที่ กสทช. 11 คน ไปพิจารณากัน ส่วนเรื่องประเภทนั้นซึ่งตอนนี้และก่อนหน้าทำไมถึงคลาดเคลื่อนกัน กฎหมายไม่ได้เขียนไว้ แต่เป็นเรื่องที่เราเคยพูดกัน ย้อนนิดหนึ่งเมื่อ รธน.ปี 40 ผมร่วมกันเพื่อนสื่อและนักวิชาการให้เอาคลื่นคืน แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังเอาคืนมาจากทหารไม่ได้เลย กรมประชาสัมพันธ์ก็ยังไม่ได้เลย กรมไปรษณีย์ยังได้คลื่นไปทำแล้ว เปิดเพลงบรรเลงทั้งวันเลย ถามว่ามันทำได้จริงหรือ ข้อเท็จจริงคือมันทำไม่ได้ เมื่อทำไม่ได้ ผมก็เข้าใจกสทช. ก็ต้องทำให้ได้มากที่สุด จริงๆแล้วทีวีดิจิทัลต้องใช้เวลาเตรียม 5 ปี แต่นี่ปีกว่าๆก็จะเริ่มแล้ว ถามว่ามันพร้อมแล้วจริงหรือ เร็วไปหรือไม่ ส่วนเรื่องของประเภทต่างๆ มันเอามาถ่วงดุลได้กับรัฐธรรมนูญ อปท. หรือประโยชน์สาธารณะอะไรก็อีกกลุ่มหนึ่ง แบ่งตามตรรกะง่าย คือ อุดมศึกษา ความมั่นคง จริงๆแล้วกฎหมายทำทำไว้ในระดับหนึ่ง เรื่องสมดุลก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องไปคุยกัน แม้กระทั่ง กสทช.จะปรารถนาดี แต่เรื่องช่องชุมชน 12 ช่อง ก็ต้องมาคิดให้ดีว่าต้องทำอย่างไร ต้องวางหลักเกณฑ์ระดับชาติ ภาค ท้องถิ่นอย่างไร ช่อง1 ของภาคเหนือ กรุงเทพฯ ภาคอีสาน มันไม่เหมือนกัน ผมพยายามมองแง่บวกแต่ไม่บวกแล้ว ต้องคิดบวกแล้วมีโอกาสว่าจะได้อย่างไร ใคร ทำอะไร ทำทำไม ตอนที่ตั้งเจตนารมณ์กันไว้มันก็ต้องมีสาระ เพราะในปัจจุบันนี้อย่างช่อง 3 ช่อง 7 ไม่มีใครเป็นเจ้าของสถานี แต่ตอนนี้ต้องมีเอกชนเป็นเจ้าของตามหลักสากล ซึ่งต้องขอใบอนุญาต15ปีจาก กสทช. ไม่ใช่ต่ออายุกันขยายไปหรือขออนุญาตกับอดีตผู้บังคับบัญชาที่เคยร่ำรวยอะไรอย่างนั้นมันก็เป็นไปไม่ได้ ให้กับรัฐนิดเดียว ได้กำไรปีละ 600 ล้าน ผมไม่ว่าเรื่องความร่ำรวยของคนทำมาหากิน แต่เรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐต้องสมดุล ซึ่งเราก็ต้องวางหลักเกณฑ์นี้ให้มันสมดุล แล้วก็ต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็น ถ้าเห็นว่า48ไม่พอแล้วจะเพิ่มเป็น96ก็แล้วแต่ท่าน แล้วย้อนกลับไปดูเรื่องของเจตนารมณ์
ผมคิดว่าแต่ละช่องควรเป็นเอกเทศ ไม่สัมพันธ์กันได้ยิ่งดี ไม่จำเป็นต้องเอาช่องเด็กไปผูกกับช่องธุรกิจด้วยกัน สามารถทำให้ตัวเลขช่องเด็กไม่ใช่ราคาที่สูงสุด มันอาจจะเป็นช่องเด็กสาธารณะก็ได้ มันไม่ได้เขียน ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะถ้าเอามาบวกกันก็เหมืนกับบริษัททอง ทำค่ายเพลง แล้วได้รายการโทรทัศน์ แล้วก็ได้รายการเด็ก ก็ครอบงำเด็กตั้งแต่โตจนตาย มันก็ไปกันใหญ่ แทนที่มันจะกระจายแต่มันกลายเป็นกระจุก ผมยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับหลักการ 5 คนตัดสิน แล้วเสียงส่วนใหญ่คือ3 มันเรื่องระดับประเทศเชียวนะครับ
ดร.ธวัชชัย: จริงๆ เรื่อง 5 คนตัดสินผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยนะครับ แต่อย่างนี้ ผมเสนอว่าเรื่องการแบ่งจำนวนช่อง ตอนแรกก็อยู่ที่คลื่น 48 Mhz แล้วก็นำมาแบ่งได้ 8 ช่อง เป็น 6 mug ทีนี้ก็มีเรื่องของช่องไฮเดฟ (HD) ที่ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าช่องปกติถึง4เท่า เราก็เลยตั้งไว้ 20% ของ48 ก็คือ 12 ช่อง ทีนี้ของสาธารณะไม่ได้กำหนดไว้ แต่ก็กำหนดไว้เป็น 12 ส่วนเรื่องของ 3 ประเภท ข่าว เด็ก บันเทิง ก็มาจากข้อคิดเห็นของคณะอนุฯ ซึ่งก็อยากให้ใครได้ช่องข่าวก็ไม่ควรได้ข่าวอีก ได้ช่องเด็กแล้วไม่ควรได้ช่องเด็กอีก แต่ว่าทีนี้ถ้าเปิดให้ได้ทั้ง3ช่อง จะมีรายใหญ่กวาดเข้ามาถึง5ราย แล้วจะมีเจ้าอื่นๆอีก9ราย คณะอนุฯสวิทช์โอเวอร์ ก็เสนอมว่าสูงสุดคือ2ช่องดีกว่า คือเริ่มแรกคือช่องทั่วไป แล้วก็มาช่องข่าว ตามด้วยช่องเด็ก ทีนี้ว่ารายได้จากโฆษณาช่องช่องบันเทิงคือ50% ช่องข่าว30% แล้วช่องเด็กประมาณแล้วคงไม่ถึง10 เพื่อให้เกิดการ dominate คือ ได้ช่องทั่วไปก็ต้องมีช่องเด็ก ได้ช่องข่าวก็ต้องมีช่องเด็ก แต่ไม่ให้เป็นช่องทั่วไปกับข่าว แต่ทีนี้เรื่องของช่องข่าว มันก็จะไม่ได้เสนอแต่ข่าวแต่มันจะมีการโน้มนำผู้ชมได้ อนุฯแข่งขันเห็นว่าในอนาคตอยากให้เกิดการแข่งขันที่หลากหลาย ถ้าเกิด5-6รายจับมือร่วมกันมา ความคิดหลายๆก็จะไม่เกิดความคิดใหม่เลย ดังนั้นถ้าท่านเข้าใจเรื่องดิจิทัล มันไม่เหมือนกับดาวเทียมและเคเบิล ดาวเทียมได้พื้นที่ใหญ่จริงแต่การยิงสัญญาณมันลงเป็นจุดๆมีราคาค่อนข้างสูงและเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่พอเป็นดิจิทัลมันใช้หนวดกุ้งหรือเสาทีวีดึงสายมา ไอโฟไอแพดก็จะไปหมด มันถึงคลุมพื้นที่ภาคพื้นดินได้ดีกว่า ในพื้นที่ที่เท่ากัน นั่นหมายความว่าแม่ค้าที่เดินขายของตามตลาดหรือทางเท้าก็จะสามารถรับชมได้พร้อมกันหมดเลย ซึ่งมันจะมีผลกระทบแตกต่างไปจากดาวเทียมหรือเคเบิลได้อย่างสิ้นเชิง แล้วทีวีดิจิทัลบางทีคนทำอาจจะไม่ได้กำไรตรงนี้ แต่กำไรไปปรากฏอยู่ที่อื่น ระบบอนุญาตดีกว่าสัมปทาน เพราะเปิดโอกาสให้คนใดคนหนึ่งเป็นเศรษฐีขึ้นมาได้เลย จากที่มันเคยอยู่ใต้โต๊ะ ใบอนุญาตจึงมีความโปร่งใสของมันอยู่ มีคนมาประมูล มีคนมานั่งดู หรือแล้วแต่อย่างนั้นอย่างนี้ก็ตาม มันก็มี facility ในแบบที่ถูกกว่าดั้งเดิม อีกเรื่องคือเรื่องของ นอมินี ที่เรากังวลอยู่เช่นกัน 2หรือ3 ถ้าเราคุยกันไม่ได้เรื่องผู้เข้ามาประมูล หรือเรื่องนอมินีเข้ามา อย่างนี้ก็ไม่มีความหมายที่เราพุดไปทั้งหมด กลายเป็นไม่กี่รายที่คุมเหล่านี้ทั้งหมด จึงมีข้อแย้งจากอนุฯแข่งขัน แล้วเพิ่มหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบการประมูลมากขึ้น
ก่อเขต: ให้คุณอดิศักดิ์และคุณนิพนธ์สะท้อน ความคิดหลังจากนี้ของนักวิชาการและสังคมแก่ กสทช. ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
อดิศักดิ์: สมาคมฯและสภาวิชาชีพ จัดครั้งนี้ น่าจะเป็นเวทีแรกที่จัดเสวนาเรื่องทีวีสาธารณะด้านดิจิทัล ถ้าฟังจาก อ.ธวัชชัย เอง ไม่น่าจะมีความพร้อมในการให้ยื่นในเดือนมีนาคม ก็คงต้องเรียกร้องไปยัง กสทช. อีก 4 ท่าน โดยเฉพาะประธาน กสท. พันเอก ดร.นที พิจารณาว่าเอาสาธารณะชนเป็นตัวตั้งก่อน การตรวจคุณสมบัติของผู้ขอเป็นตัวตั้ง อันนั้นเป็นเรื่องของส่วนบุคคล คือถ้าเอาสาธารระเป็นตัวตั้งตามชื่อทีวีสาธารณะ มีส่วนร่วมออกแบบ12ช่องของทีวีสาธารณะทีจะเกิดขึ้น ปัจจุบันมี1ช่อง คือ ไทยพีบีเอส ที่กฎหมายเฉพาะรองรับอยู่แล้ว กับช่อง11ที่เป็นกึ่งๆสาธารณะ จริงๆเจตนารมณ์ตั้งต้นคือโทรทัศน์การศึกษา แต่มันก็แปรเปลี่ยนไป ตอนนี้ก็คงไม่ใช่ คงเป้นทีวีของรัฐโดยตรงมากกว่าหรือทำตามรัฐบาลหรือพรรคการเมืองที่เข้ามามีอำนาจ กสทช.ควรมีการเปิดตลาด หรือสร้างกลไกการออกแบบกับ12ช่องที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะข้อเสนอของอาจารย์สุภาพร มีการศึกษา media landscape ของประเทศไทย ก่อนที่จะประมูลมีทีวีดาวเทียมรัฐและเอกชน ทีวีอนาล็อกที่มีอยู่เดิม หรือกระบวนการเรียกคืนคลื่นความถี่ของรัฐจาก กองทัพ กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. ถือไว้ แล้ว กสทช. ให้โอกาสในการเสนอแผนว่าหน่วยงานที่ถือครองคลื่นความถี่กว่า500 มีแผนอย่างไร ช่อง3และ7ด้วยที่ให้อยู่จนครบสัมปทานแล้วคืนคลื่นมา ช่อง 5 9 11 ยังไม่มีความชัดเจนว่ากระบวนการคืนคลื่นเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาทุกๆองค์ประกอบให้เห็นมีเดียแลนด์สเคปของไทยว่าอะไรที่ขาดไป เนื้อหาประเภทใดที่ขาดไปแล้วเอาเนื้อหาทีวีสาธารณะ12ช่องนี่ไปเติม เช่น วิทยาสาสตร์ เทคโนโลยี เด็กเยาวชน ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งถ้าในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ เนื้อหาเหล่านี้ไม่เป็นที่จูงใจของสปอนเซอร์โฆษณา แต่จะมีกลไกอย่างไรให้11ช่องนี่เกิดขึ้นและมีเงินสนับสนุนที่ชัดเจน เช่นเดียวกับไทยพีบีเอส ที่ กสทช.มีกองสนับสนุนวิจัยและพัฒนาสื่อ ที่เก็บจาก 2-4% จากทีวีดาวเทียมหรือเคเบิล ให้ดิจิทัลได้รับเงินสนับสนุนด้วย ว่าเป็นอะไร ให้ชัดเจน ให้ระบุว่าต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ด้านกระจายเสียงและโทรทัศน์ว่าเป็นผู้ที่ต้องการการสนับสนุน ต้องถามกระทรวงต่างๆว่ามีหน้าไหมในการที่ต้องทำกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ อาจจะอ้างว่าต้องมีสื่อประชาสัมพันธ์ของตนเองแต่ว่าไม่ใช่หน้าที่แน่นอน และมีการกำหนดในผังรายการว่า 70% เป็นข่าวสารและสาระ ต้องให้ภาควิชาการและสังคมที่มีการศึกษาว่าสาระข่าวและสาระอะไรบ้างที่ขาดหายไปจากบ้านเรา ซึ่งต้องใช้เวลา
ดร.นิพนธ์: ชอบที่ อ.ธวัชชัยพูดถึงเรื่องไททานิค ถ้าวิ่งไปเจอน้ำแข็งก็แตกได้ อย่างที่ อ.สุภาพรบอกว่าต้องทำ แล้วอย่างเช่น mapping แม็พปิ้ง มันก็มีคำพูดที่ว่า การ์ตูนเรื่องนี้ รุนแรงไหม รุนแรง เด็กจึงถามว่าทำไมผู้ใหญ่จึงมาคิดแทนเขา ซึ่งทุกเรื่องคนอื่นเข้ามาคิดแทน แล้วเรื่องทีวีสาธารณะก็มีคนคิดแทน แทนที่คนที่เขาควรได้เข้ามาทำจะเป็นคนคิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัวมาก เมื่อย้อนกลับไปว่าก่อนที่จะมี พรบ. 2543 ได้มีการวิ่งเต้นอย่างมากทั้งช่อง 5 9 11ที่รัฐสภา กลายเป็นว่าจับรัฐบาลอยู่ช่องนึง รัฐสภาอยู่ช่องนึง ความมั่นคงอีกช่องนึง ถ้าตอนนั้น ความต้องการมีแค่นั้น เขาจึงต้องรักษาไว้แค่ 3 5 7 9 ฯ ในเมื่อเขาต้องการรักษาไว้แค่นั้น เราควรที่จะให้เขารักษามากกว่าเดิมหรือไม่ แล้วเราจะเอาพวกนั้นมาอยู่ในคำว่าสาธารณะไหม แล้วถ้ามารวม เขาหากินยังไง เขาหากินเองหรือเปล่า ผมว่านี่คือมิติที่ต้องคิดมากๆ คำว่าสาธารณะ คือ การร่วมกันใช่ไหมครับ แล้วถ้าเกิดความมั่นคงร่วมกัน กำหนดให้ความมั่นคงได้หนึ่งคลื่นตามกฎหมาย คือ ถ้าทัพบก เรือ อากาศ แยกกันมาขอก็ไม่ให้ แต่ถ้ารวมกันมาขอแล้วถึงจะให้ ศาสนาก็เหมือนกัน ยังมี มหายุทธ์ มหานิกาย แล้วยังธรรมกายอีก อย่างนี้ให้เถระสมาคมไปเลย1คลื่นได้ไหม แล้วก็ไปจัดกันเอง ไม่ตีกันเอง ไม่ต้องมาด่า กสทช.ได้ไหม มหาวิทยาลัยก็เหมือนกัน นิเทศศาสตร์รวมกันมาเลยเอาไปหนึ่งคลื่น จะได้ไม่ต่อว่ากัน ถามว่าสาธารณะไหม ก็สาธารณะ แล้วศาลล่ะ ก็รวมกับสภาทนายความ อัยการเข้ามาเอาไหนึ่งคลื่น ถ้าพูดถึงเรื่องความสวย ศาล อัยการ ทนาย ไม่มีใครสวยกว่าเขาหรอกครับ แต่ให้แต่ละคนออกมาแบบมา มันก็จะเหมือนกรมประชามสัมพันธ์ในอดีต จากคนดู 5% ตอนนี้ ถูกดาวเทียมแย่งไปหมด เหลือ1% เพราะตัวเองไม่ต้องเดือดร้อนว่าจะไปหาเงินที่ไหน อยากจะทำอะไรก็ได้ วันนี้อยากออกก็ออก พรุ่งนี้ไม่อยากออกก็บอกว่าไม่ต้องออก เรากลัวออกแล้วผิด เอาเป็นว่าถ้าให้คนกลุ่มนี้ไปหมด คนดูไม่ถึง 5%หรอกครับ ขอสรุปสั้นว่า เรือไททานิค ขอให้มีแรงเลี้ยวที่ถูกต้อง จะได้ไม่ไปชนกับหินโสโครก
สมชาย: เป็นโอกาสดีที่สมาคมจัดเวทีเช่นนี้ และอาจเชิญท่านอื่นๆไปร่วมเวทีต่างๆด้วยนะครับ คราวนี้ถ้าพูดถึงช่อง U นี่หมายความอย่างไรครับที่จะปรับเปลี่ยนจากเจ้าเดิม
ดร.ธวัชชัย: จริงๆแล้ว ช่อง U นี่มันมีความถี่อยู่ ซึ่งการที่จะสวิทช์โอเวอร์มาพร้อมกันหมดคงจะลำบาก ซึ่งมันจะต้องทำไซโมกราฟ มันไม่สามารถปรับอนาล็อคทันทีได้ ต้องแก้ด้วยการค่อยๆเปิดดิจิทัลขึ้นมา แล้วค่อยๆแจกกล่องให้คนดูสวิทช์ไป แล้วก็ค่อยออกขนานคู่กันไป เจ้าของพื้นที่เดิมอยู่ก็จะไม่ได้หายไป แล้วพอช่วงอนาล็อคหมดไปแล้วก็จะเปิดเป็นประโยชน์สาธารณะหรือเพิ่มช่องดิจิทัลต่อไปได้ครับ
สมชาย: งั้นฝาก 2 เรื่องครับ เรื่องแรก เรื่องภาคธุรกิจ ถ้าเขาได้ช่องธุรกิจ ได้กำไร 2 พันล้าน คุณจะเรียกเงินเขา 100ล้านก็ไม่มีปัญหา แต่พอช่องเด็ก กำไร10ล้าน จะไปเรียก100ล้านมันก็ไม่มีทางเป็นไปได้ ส่วนเรื่องที่ 2คือเรื่องอนุฯ ครับ ช่วยกันตรวจสอบ เพราะพอค้นรายชื่ออนุฯมา มันเห็นสาแหรกยาวไปถึงบริษัทต่างๆ เลยครับ ฝากเท่านี้ครับ
——————————————————————-