ประวัติ TBJA

หมวด

ประวัติสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

 

ในช่วงนั้นทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการวิทยุโทรทัศน์รายใหญ่ นักวิชาการ องค์กรเอกชน กองทัพ และส่วนราชการ ต่างก็ตื่นตัวเข้าร่วมในกระบวนการนี้อย่างคึกคัก เพื่อรักษาผลประโยชน์และแนวคิดของแต่ละฝ่าย โดยส่งตัวแทนเข้ามาใช้สิทธิ์ เสนอตัวในนามของสมาคม องค์กร มูลนิธิ ต่างๆ ตามที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำหนดไว้ ในขณะที่ตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพข่าวโทรทัศน์และวิทยุ ที่เข้าไปร่วมเคลื่อนไหว เพื่อให้การปฏิรูปสื่อ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ในนามของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่พวกเขาเป็นสมาชิกอยู่ ถูกกีดกัน ด้วยข้ออ้างเพียงว่า ชื่อของสมาคม ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุโทรทัศน์เท่านั้น

003

ในระหว่างนั้นกลุ่มนักข่าวเหล่านี้ ก็เคลื่อนไหว ผลักดันให้รัฐบาลพิจารณาข้อเสนอนี้ กับรณรงค์ร่วมกับองค์กรอื่นที่มีแนวความคิด เดียวกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเคลื่อนไหวจัดตั้ง สมาคมของนักข่าววิทยุ และโทรทัศน์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้กระบวนการเคลื่อนไหวปฏิรูปสื่อ เป็นรูปร่างองค์กรที่เข้มแข็ง

 

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในเดือนสิงหาคม 2544 จุดประสงค์หลักที่สำคัญของสมาคมนี้ คือ การมุ่งเป็นองค์กรหลัก ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปคลื่นความถี่ และผลักดันให้เกิดความโปร่งใส ไม่ให้เกิดความบิดเบือนจนการปฏิรูปสื่อ กลายเป็นเพียงเวทีรักษาผลประโยชน์ของคน ไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ขณะเดียวกัน ก็มุ่งหวังที่จะแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและพัฒนาคุณภาพ และจิตสำนึกของคนข่าวทีวีวิทยุ เพื่อให้การทำงานเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปราศจากการครอบงำทางการเมืองและทางธุรกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุสำคัญอย่าง หนึ่งที่ทำให้ กระบวนการสรรหา กสช.ที่กำลัง จะเสร็จสิ้นในเร็วๆนี้ ไม่เป็นไปอย่างโปร่งใส เพราะสื่อยักษ์ใหญ่ ที่มีทุนหนา และหน่วยงานที่กุมคลื่นความถี่ อยู่มากมายในขณะนี้ ส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรม การสรรหา ส่วนใหญ่ ทำให้เรื่องการคัดเลือก กรรมการ กสช. ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า เต็มไปด้วยผลประโยชน์ และเรื่องอื้อฉาว และเป็นเพียงการกำลังแบ่งเค้ก ระหว่างกลุ่มอำนาจ และกลุ่มทุนใหญ่ ที่ครอบครองสื่ออยู่แล้ว ทุกวันนี้ นั่นหมายความว่า กระบวนการปฏิรูป คลื่นความถี่ นอกจากจะ ไม่ได้เกิดประโยชน์ ต่อประชาชน อย่างแท้จริงแล้ว อาจหมายถึง การถอย หลังเข้าคลองครั้งใหญ่ ของสื่อโทรทัศน์และวิทยุไทยด้วยซ้ำไป

 

002

จากปัญหาดังกล่าว นักข่าวและคนทำข่าวในระดับปฏิบัติงาน และระดับบริหารของสถานีทีวี วิทยุ และค่ายอิสระต่างๆ ที่ตื่นตัวในเรื่องนี้ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ ทีวีช่อง 3 5 7 9 และไอทีวี ในขณะนั้น เดอะเนชั่น แปซิฟิค ไอเอ็นเอ็น จีเอ็นเอ็น สำนักข่าวไทย และสื่ออื่นอีกหลายส่วน ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มนักข่าวที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นกลุ่มอิสระ และประสานกับองค์กรอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน ในนาม เครือข่ายองค์กรสื่อเพื่อประชาชน เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความเห็นเพื่อ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยเสนอประเด็นการพิจารณา 15 ประเด็นประกอบการพิจารณา เช่น ไม่เห็นด้วยกับการที่กรมประชาสัมพันธ์ จะได้รับอภิสิทธิ์ ในการจัดสรรคลื่นความถี่ เช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ เสนอให้กสช.มีหน้าที่สนับสนุนองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ในการทำหน้าที่กำหนดกรอบจรรยาบรรณ และตรวจสอบกันเอง แทนการให้องค์กรอื่น หรือ หน่วยงานของรัฐมาทำหน้าที่นี้ การเสนอให้จำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติ ในกิจการสื่อโทรทัศน์วิทยุไทย ไม่เกินร้อยละ 25 และขอให้จำกัดการถือหุ้นของกลุ่มทุนแต่ละรายในกิจการโทรทัศน์และวิทยุ ได้ไม่เกินร้อยละ 10 เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้มีการครอบงำสื่อ จากทั้งการเมืองและธุรกิจ

 

001

แท็ก คำค้นหา

หมวด